รัฐบาลดิจิทัล (15) : “ป้าย”ต่อไป…รัฐบาลดิจิทัล
การขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เป็นผลจากความร่วมมือของทุกหน่วยงาน ตั้งแต่ สำนักงาน ก.พ.ร. ที่ขับเคลื่อนการปฏิรูประบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ผลักดัน พ.ร.บ.วิ อิเล็กทรอนิกส์
การขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เป็นผลจากความร่วมมือของทุกหน่วยงาน ตั้งแต่ สำนักงาน ก.พ.ร. ที่ขับเคลื่อนการปฏิรูประบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ผลักดัน พ.ร.บ.วิ อิเล็กทรอนิกส์
ประเทศสิงคโปร์ไม่ใช่ประเทศเอกราชที่เกิดขึ้นด้วยความต้องการของคนในชาติ แต่ถูกขับออกจากประเทศมาเลเซียในปี 2508 เกาะเล็ก ๆ แห่งนี้ขาดแคลนทรัพยากรแม้กระทั่งน้ำสำหรับใช้อุปโภคบริโภคก็ไม่เพียงพอ แต่การขาดแคลนดังกล่าวกลับทำให้คนสิงคโปร์ตระหนักว่าทรัพยากรสำคัญที่จะช่วยให้อยู่รอดก็คือ คนที่มีคุณภาพนั่นเอง ความเป็นเมืองอัจฉริยะมาจากคุณภาพของคนเป็นเบื้องต้น รัฐบาลสิงคโปร์ได้ตอกย้ำหลักพื้นฐานของความเป็นเมืองหรือประเทศอัจฉริยะว่าประกอบด้วย 3 เรื่องคือ 1.สังคมดิจิทัล (Digital society) หมายถึงสังคมที่ทุกคนซึ่งมีความแตกต่างได้เชื่อมโยงกันและรับโอกาสที่ดีขึ้นด้วยการสนับสนุนจากเทคโนโลยี โดยจะเกิดขึ้นได้เมื่อคนสิงคโปร์สามารถเข้าถึง มีความรู้ ยอมรับและมีส่วนร่วมในเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล โดยประชาชนได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐในการเข้าอบรมพัฒนาตนเอง 2.เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital economy) เป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจและจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม เช่น การรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ที่เรียกว่าบิ๊กดาต้าและวิเคราะห์หาพฤติกรรมลูกค้า สร้างนวัตกรรมตอบสนองความต้องการให้ตรงจุดมากขึ้น ตลอดจนปรับเปลี่ยนการจัดสรรทรัพยากรของภาคธุรกิจอย่างรวดเร็ว และทำให้เศรษฐกิจเติบโตมากขึ้น เช่น การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแสดงความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าทั่วไปเทศ เพื่อให้ธุรกิจที่ทำการผลิตไฟฟ้าสามารถจัดการการผลิตในปริมาณที่เหมาะสมและวางแผนขายไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.รัฐบาลดิจิทัล เป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างความสามารถของภาครัฐในการให้บริการประชาชน ผ่านการกำหนดนโยบายและออกแบบการให้บริการที่ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริง มีการใช้แอปพลิเคชันในการให้บริการประชาชน เช่น การแจ้งเบาะแสการหลอกลวงทางโทรศัพท์มือถือ การเก็บข้อมูลเพื่อนำไปคำนวณภาษี ฯลฯ ทั้งนี้ การสร้างเมืองอัจฉริยะจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อประชาชนมีส่วนร่วม โดยเป้าหมายท้ายสุดคือสร้างความสุขให้แก่ประชาชนในประเทศ …
ลองสมมติว่าตัวเองเป็นรัฐมนตรีของสักกระทรวงหนึ่ง วันแรกที่เข้าไปทำงาน อาจจะได้รายงานต่างๆ มาดูบ้าง แต่ถ้าอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม ก็ต้องไปรวบรวมมาจากกรมกองต่างๆ กว่าจะได้ข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ
วันที่ 10 มิ.ย. 2567 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดย พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (DGA) โดย นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และยกระดับทักษะด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ทั้งในรูปแบบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และการเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์ e-learning รวมถึงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงสถานการณ์ที่เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ตลอดจนการดำเนินการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ร่วมกัน
เป้าหมายของรัฐบาลดิจิทัล คือการทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐได้ทุกบริการผ่านทางออนไลน์ สิ่งที่ยุ่งยากตามมาคือ จะค้นหาบริการที่อยู่อย่างกระจัดกระจายตามหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างไร ประเทศที่เป็นผู้นำด้านรัฐบาลดิจิทัลจึงจัดทำเว็บหรือแอปที่ทำหน้าที่เป็นพอร์ทัลกลาง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการของรัฐได้สะดวก
คุณจำได้ไหมว่าไปติดต่อราชการครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ ถ้าไม่มีธุระจำเป็น เราคงไม่อยากจะติดต่อกับราชการ เพราะก่อนไปก็ต้องหาข้อมูลว่า ธุระที่จะไปทำนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานไหน (ยุ่ง) ศึกษาขั้นตอนและกฎระเบียบ ซึ่งเขียนเป็นภาษาราชการ อ่านแล้วไม่เข้าใจ (ยาก)
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว