6 เหตุการณ์นิวเคลียร์รั่วไหลร้ายแรงที่สุดในโลก

Loading

    มองย้อนรอย 6 เหตุการณ์นิวเคลียร์รั่วไหลที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่โลกนี้เคยมีมา พบทั้งในอดีตสหภาพโซเวียต, สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ และญี่ปุ่น     โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เทคโนโลยีการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีข้อดีหลายอย่างและถูกใช้งานในหลายประเทศ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้เคยเกิดข้อผิดพลาดและส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในอดีต   หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยทั่วไปใช้พลังงานนิวเคลียร์ที่สร้างความร้อนมหาศาลไปทำให้น้ำเปลี่ยนสถานะเป็นไอและหมุนกังหันผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาใหม่ ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำก็สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้   เหตุการณ์ในอดีตที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดในโลกนี้ TNN Tech ขอหยิบยกมานำเสนอทั้งหมด 6 เหตุการณ์ด้วยกัน ได้แก่   ปี 1986 นิคมเชอร์โนบิล สหภาพโซเวียต (ปัจจุบันอยู่ในแคว้นเคียฟ, ยูเครน) สารที่รั่วไหลซีเซียม-137 ผู้เสียชีวิต 4,000 คน หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลได้ถูกปิดจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษ ผู้ที่เดินทางไปเยี่ยมชมส่วนใหญ่เป็นนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน   ปี 1957 คัมเบอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษ สารที่รั่วไหลไอโอดีน-131 ผู้เสียชีวิต 240 คน   ปี 1957 คิสตีม สหภาพโซเวียต…

เครมลินแบนใช้ iPhone หวั่นข้อมูลรั่วไหลสู่ชาติตะวันตก

Loading

  สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานโดยอ้างอิง Kommersant ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รัสเซีย ระบุว่า ทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซียได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ยุติการใช้ iPhone ของบริษัทแอปเปิ้ล เนื่องจากมีความกังวลว่าข้อมูลจาก iPhone อาจรั่วไหลไปยังหน่วยข่าวกรองของชาติตะวันตก   Kommersant รายงานว่า นายเซอร์เก คิริเยนโก รองผู้อำนวยการทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซีย แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ในงานสัมมนาที่จัดขึ้นว่า เจ้าหน้าที่จะต้องเปลี่ยนโทรศัพท์ภายในวันที่ 1 เม.ย.   “สิ่งที่ต้องทำเกี่ยวกับ iPhone คือ ถ้าไม่ทิ้งไป ก็ให้เด็ก ๆ ใช้ โดยทุกคนต้องปฏิบัติภายในเดือนนี้” เจ้าหน้าที่กล่าว   Kommersant ระบุว่า ทำเนียบเครมลินจะจัดหาโทรศัพท์อื่นที่มีระบบปฏิบัติการที่แตกต่างออกไปให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อทดแทน iPhone             —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                   …

ไม่ใช่แค่ขู่! รัสเซียประกาศแผนติดตั้ง “อาวุธนิวเคลียร์” ในเบลารุส

Loading

    ปูตินแถลง บรรลุข้อตกลงติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีในดินแดนของเบลารุส เป็นการนำอาวุธนิวเคลียร์ไปใกล้ชาติยุโรปมากขึ้น   หนึ่งในสิ่งที่ทั่วโลกมีความกังวลที่สุดเกี่ยวกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน คือเรื่องของ “การใช้อาวุธนิวเคลียร์” ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้สงครามครั้งนี้รุนแรงขึ้นจนอาจยกระดับกลายเป็น “สงครามโลกครั้งที่ 3”   ตลอดปีที่ผ่านมา คำขู่เรื่องอาวุธนิวเคลียร์ของฝ่ายรัสเซียดูเหมือนจะเป็นอะไรที่ทีเล่นทีจริง ไม่มีใครเดาใจผู้นำรัสเซียอย่าง วลาดิเมียร์ ปูติน ออกว่า ท้ายที่สุดแล้วเขาจะตัดสินใจใช้อาวุธร้ายแรงนี้ในการทำศึกหรือไม่     อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อวานนี้ (25 มี.ค.) ปูตินได้ออกมาแถลงผ่านช่องโทรทัศน์ของรัฐว่า “รัสเซียได้บรรลุข้อตกลงในการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีในดินแดนของเบลารุส”   ความเคลื่อนไหวนี้เท่ากับว่า รัสเซียได้นำคลังแสงนิวเคลียร์บางส่วนไปไว้ใกล้กับยูเครน และยุโรป   ปูตินอ้างว่า การตัดสินใจนี้ไม่นับเป็นการละเมิดข้อตกลงไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ โดยมีลักษณะเหมือนกับข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ กับพันธมิตรหลายชาติในยุโรปที่อนุญาตให้สหรัฐฯ ไปตั้งฐานอาวุธนิวเคลียร์ในประเทศเหล่านั้นได้   “เรื่องนี้ไม่มีอะไรผิดปกติ ประการแรก สหรัฐฯ ทำสิ่งนี้มานานหลายทศวรรษแล้ว พวกเขาติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีในดินแดนของประเทศพันธมิตรมานานแล้ว” ปูตินกล่าว   มีการประเมินโดยศูนย์ควบคุมอาวุธและการไม่แพร่ขยายอาวุธว่า สหรัฐฯ มีอาวุธนิวเคลียร์ประมาณ 100 ชิ้นจัดเก็บอยู่ในฐานทัพยุโรป 6 แห่งใน 5 ประเทศ…

กระสุนยูเรเนียมเสื่อมสภาพคืออะไร ทำไมรัสเซียขู่ตอบโต้หากส่งให้ยูเครน?

Loading

  รัฐบาลของสหราชอาณาจักรประกาศในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า พวกเขาจะส่งกระสุนปืนเจาะเกราะที่มีส่วนผสมของ แร่ยูเรเนียมเสื่อมสภาพ ไปให้ยูเครนเพื่อใช้รับการรุกรานจากรัสเซีย ทำให้ฝ่ายรัสเซียออกมาแสดงความต่อต้านทันที โดยวลาดิเมียร์ ปูติน ประกาศจะตอบโต้หากเรื่องนี้เกิดขึ้น   ยูเรเนียมเสื่อมสภาพเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และอาวุธนิวเคลียร์ มันยังปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมา แม้จะอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ ทำให้เกิดข้อถกเถียงมาตลอดว่า อาวุธชนิดนี้มีอันตรายมากเกินไปหรือไม่   ประเทศอย่างสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ชื่อว่า กระสุนยูเรเนียมเสื่อมสภาพเป็นเครื่องมือที่ดีในการทำลายรถถังในปัจจุบัน โดยที่อังกฤษระบุในคู่มือการใช้ของพวกเขาว่า การสูดดมฝุ่นยูเรเนียมเข้าไปในปริมาณมากเกิดการบาดเจ็บเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก สวนทางกับรัสเซียที่บอกว่า กระสุนนี้เป็นอันตรายต่อทั้งคนและสิ่งแวดล้อม   ด้านนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกระบุว่า ในกรณีทั่วไป แร่ชนิดนี้มีความเสี่ยงต่ำมาก เว้นแต่เกิดสถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่มียูเรเนียมเสื่อมสภาพมาอยู่รวมกันมากๆ ก็อาจส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้     ยูเรเนียมเสื่อมสภาพคืออะไร?   ยูเรเนียมเสื่อมสภาพ (depleted uranium) คือผลพลอยได้ที่เหลือจากกระบวนการเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมสำหรับใช้ในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หรืออาวุธนิวเคลียร์ แม้จะเสื่อมสภาพแล้ว ยูเรเนียมประเภทนี้ยังคงเป็นสารกัมมันตรังสี แต่มีไอโซโทป U-235 กับ U-234 ต่ำกว่าในแร่ยูเรเนียมที่พบตามธรรมชาติมาก ลดการปล่อยกัมมันตภาพรังสีของมัน และไม่สามารถทำปฏิกิริยานิวเคลียร์ใดๆ ได้   ยูเรเนียมเสื่อมสภาพถูกนำไปใช้ในอาวุธเพราะคุณสมบัติความหนาแน่นสูงของมัน ทำให้มีน้ำหนักมากกว่าตะกั่วที่มีขนาดเท่ากัน เมื่อนำมาทำหัวกระสุนจึงมีความต้านทานของอากาศน้อยกว่าเวลายิงออกไป และสามารถทะลวงเข้าไปในวัสดุได้ดีเนื่องจากจุดที่ตกกระทบมีแรงกดดันสูงกว่า…

คุณก็รู้ว่าใคร! ปูตินชี้เหตุบึ้มท่อนอร์ดสตรีมเป็นฝีมือ ‘ระดับรัฐ’ เมินสื่อตะวันตกโยนบาปใส่กลุ่มโปรยูเครน

Loading

    ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ระบุในวันอังคาร (14 มี.ค.) ว่าเหตุระเบิดก่อความเสียหายแก่ท่อลำเลียงก๊าซนอร์ดสตรีมเมื่อปีที่แล้ว ดำเนินการ “ในระดับรัฐ” ปฏิเสธสมมติฐานที่พวกฝักใฝ่ยูเครนกลุ่มหนึ่งอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นี้ โดยระบุ “ไร้สาระโดยสิ้นเชิง”   ท่อลำเลียงนอร์ดสตรีม 1 และ 2 ที่เชื่อมระหว่างรัสเซียและเยอรมนี ถูกเล่นงานด้วยระเบิดปริศนาหลายรอบเมื่อเดือนกันยายนปีก่อน ในสิ่งที่มอสโกเรียกว่าเป็นการก่อการร้ายสากล   เดนมาร์ก เยอรมนี และสวีเดนทำการสืบสวนของตนเองในเหตุระเบิดที่เกิดขึ้น แต่มอสโกเผยว่าพวกเขาไม่ได้รับแจ้งข่าวคราวเกี่ยวกับการสืบสวนใดๆ “เราสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่เดนมาร์ก เกี่ยวกับคำขอร่วมทำงานด้วย หรือจัดตั้งกลุ่มผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศ” ปูตินกล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์รอสซิยา สื่อมวชนแห่งรัฐ   “อย่างที่ผมเคยบอก คำตอบเป็นไปอย่างคลุมเครือ เหมือนกับไม่มีคำตอบ พวกเขาบอกว่าเราจำเป็นต้องรอ” ปูตินระบุ   สวีเดน และทีมสืบสวนอื่นๆ ของยุโรปบอกว่าพวกมือโจมตีลงมือโดยตั้งใจ แต่ไม่ได้บอกว่าใครกันที่พวกเขาคิดว่าอยู่เบื้องหลัง ส่วนมอสโกกล่าวโทษเหตุระเบิดว่าเป็นการก่อวินาศกรรมของตะวันตก   ในการแสดงความคิดเห็นต่อรายงานข่าวที่บ่งชี้ว่าพวกฝักใฝ่ยูเครนกลุ่มหนึ่งเป็นคนโจมตีท่อลำเลียง ปูติน กล่าวว่ามันเป็นเรื่องไร้สาระสิ้นดี “สิ่งหนึ่งที่ต้องมองอยู่เสมอก็คือ ใครกันเป็นผู้ได้ประโยชน์ แล้วใครกันเป็นผู้ได้ประโยชน์ ตามหลักทฤษฎีแล้ว แน่นอนว่า สหรัฐฯ…

สหรัฐฯ เผยรัสเซียสกัดโดรนสอดแนมตกในทะเลดำ

Loading

    สหรัฐฯ เผย เครื่องบินขับไล่ Su-27 ของกองทัพรัสเซีย เข้าสกัดโดรนสอดแนม MQ-9 REAPER ของกองทัพ จนตกในทะเลดำ เหตุการณ์นี้จุดชนวนความตึงเครียดระหว่างสองชาติขึ้นอีกครั้ง   วันนี้ (15 มี.ค.2566) เมื่อช่วงกลางดึกที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความกังวลไปทั่วโลกอีกครั้ง เมื่อโดรนสอดแนมของสหรัฐฯ ตกในทะเลดำ โดยสหรัฐฯ ระบุว่ามีเครื่องบินรัสเซียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นับว่าเพิ่มระดับความเสี่ยงในการเผชิญหน้าระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ ในสงครามยูเครน   การกระทบกระทั่งกันในลักษณะนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่หลายฝ่ายจับตามองสถานการณ์ในแถบนั้นวิตกมาตลอดว่าจะเกิดขึ้น จนนำไปสู่ความขัดแย้งที่บานปลายและมีสหรัฐฯ เข้าไปเกี่ยวข้องในสมรภูมิอย่างโดยตรง   เหตุการณ์นี้จุดชนวนความตึงเครียดระหว่างสองชาติมหาอำนาจขึ้นอีกครั้ง ท่ามกลางสงครามในยูเครนที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดลง   กองบัญชาการภาคพื้นยุโรปของกองทัพสหรัฐฯ เปิดเผยว่า อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน MQ-9 REAPER ของกองทัพ ถูกเครื่องบินขับไล่ Su-27 ของกองทัพรัสเซีย 2 ลำบินสกัดหลายครั้ง และทิ้งน้ำมันใส่โดรนและบินตัดหน้า ก่อนจะบินชนใบพัด จนส่งผลให้โดรนสอดแนมดังกล่าวตกในทะเลดำ   กองบัญชาการภาคพื้นยุโรปของกองทัพสหรัฐฯ ระบุว่า การกระทำของเครื่องบินรัสเซียเป็นการสกัดที่เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นมืออาชีพและไม่ปลอดภัย   ทางการสหรัฐฯ ระบุว่า โดรนลำนี้บินอยู่ในน่านฟ้าสากล…