แฮ็กเกอร์รัสเซียโจมตีทางไซเบอร์ต่อโรมาเนีย พันธมิตรสำคัญของยูเครน

Loading

  เว็บไซต์ของรัฐบาลและองค์กรอื่น ๆ ในโรมาเนียตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางไซเบอร์ โดยหน่วยข่าวกรองของประเทศเชื่อว่าการโจมตีดังกล่าวเป็นฝีมือของกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่สนับสนุนรัฐบาลรัสเซีย   กลุ่มแฮ็กเกอร์มีชื่อว่า Killnet ซึ่งได้ออกมาอ้างความรับผิดชอบในการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยวิธีการแบบ DDoS (Distributed Denial-of-Service) หรือการป้อนข้อมูลจำนวนมหาศาลไปยังเซิร์ฟเวอร์หรือโดเมนเป้าหมายให้ล่มจนใช้การไม่ได้   เว็บไซต์ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ เว็บไซต์ของกระทรวงกลาโหม สำนักงานตำรวจชายแดน บริษัทระบบราง CFR Calatori และสถาบันทางการเงินแห่งหนึ่งที่ไม่ได้รับการเปิดเผยชื่อ ส่งผลให้เว็บไซต์เหล่านี้ไม่สามารถใช้งานได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง   ก่อนหน้านี้ Killnet ได้เคยโจมตีองค์กรของประเทศที่เป็นปรปักษ์กับรัสเซีย อาทิ สหรัฐอเมริกา เอสโตเนีย โปแลนด์ เช็กเกีย และนาโต้ ซึ่งล้วนแล้วแต่ให้ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ แก่ยูเครนที่กำลังถูกรัสเซียรุกรานอยู่ในขณะนี้   สำหรับโรมาเนีย รัฐบาลและรัฐสภาระบุว่ากำลังพิจารณาแนวทางให้ความช่วยเหลือด้านการทหารแก่ยูเครนเพิ่มเติม ซึ่ง นิโกลาเอ ชิวกา (Nicolae Ciucă) นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย มาเซล โชลากู (Marcel Ciolacu) ประธานรัฐสภา เพิ่งได้เดินทางไปยูเครนด้วยตัวเอง โดยทั้งคู่ให้คำมั่นว่าจะช่วยยูเครนในการต่อต้านการรุกรานของรัสเซีย    …

เปิดโฉมหน้าบริษัทนักรบรับจ้างรัสเซีย Wagner Group

Loading

  มีรายงานว่ารัสเซียส่งนักรบจาก Wagner Group ราว 400 นายเข้าไปปฏิบัติการลอบสังหารผู้นำยูเครนถึงในกรุงเคียฟ   1.บริษัท Wagner Group ถูกบรรยายสรรพคุณไว้หลากหลาย อาทิ บริษัทเอกชนด้านการทหาร เครือข่ายนักรบรับจ้าง หรือกองทัพส่วนตัวโดยพฤตินัยของประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย   2.ที่มาที่ไปของ Wagner Group ค่อนข้างลึกลับ กระแสหนึ่งเชื่อว่ากลุ่มนี้ก่อตั้งโดย ดมิทรี วาเลเยวิช ยุตกิน อดีตนายทหารระดับผู้พันจากกองทัพรัสเซียที่เคยทำงานให้กับหน่วยข่าวกรอง GRU แต่เมื่อเดือน ส.ค. 2017 หนังสือพิมพ์ Yeni ?afak ของตุรกีตั้งข้อสังเกตว่า ยุตกินอาจเป็นหัวหน้าแต่ในนาม ส่วนหัวหน้าตัวจริงของ Wagner Group คือคนอื่น   3.ส่วนอีกกระแสคาดว่านักธุรกิจชื่อ เยฟเกนี ปริโกชิน (Yevgeny Prigozhin) คือเจ้าของตัวจริงและเป็นคนจ่ายเงินให้ Wagner Group ซึ่งแน่นอนว่าเจ้าตัวปฏิเสธข้อกล่าวหานี้   4.ต้องบอกก่อนว่าปริโกชินถูกยกให้เป็น “เชฟของปูติน”…

อวสาน “มอสควา” และภัยคุกคามของเรือรบในยุคปัจจุบันที่รัสเซียต้องจำ

Loading

ในที่สุดทางการรัสเซียออกมายอมรับว่า เรือลาดตระเวนมอสควา ที่เป็นเรือธงของกองเรือทะเลดำถูกยิงขีปนาวุธใส่จนจมทะเล อะไรคือช่องโหว่ที่ทำให้มอสควาจม และจากนี้เรือรบควรรับมืออย่างไร นับว่าเป็นเรื่องช็อกพอสมควรสำหรับกองทัพเรือรัสเซีย ที่ต้องมาสูญเสียเรือธงลำสำคัญของกองเรือฝั่งทะเลดำ หลังเรือลาดตระเวนติดอาวุธนำวิถีชั้นสลาวา (Slava Class) ที่ชื่อ “มอสควา” (Moskva) ไปในระหว่างการรบกับกองทัพยูเครน ขณะลอยลำนอกขายฝั่งเมืองโอเดสซา ทางตอนใต้ของยูเครน จากข่าวแรกที่ฝั่งรัสเซียรายงานว่า เกิดเหตุระเบิดในคลังแสงของเรือมอสควา ทำให้เกิดไฟลุกไหม้อย่างรุนแรง และเรือกำลังพยายามควบคุมความเสียหาย ก่อนที่จะมีรายงานต่อมาว่า เรือมอสควาจมลงสู่ก้นทะเลดำแล้ว โดยที่มีลูกเรือสละเรือหนีออกมาได้ แต่ไม่ได้มีการยืนยันจำนวนที่แท้จริง อย่างไรก็ตามทางฝั่งยูเครน ก็ได้อ้างว่าเป็นผลงานของกองทัพยูเครนที่ยิงเรือมอสควาจากนอกชายฝั่งเมืองโอเดสซา โดยใช้อาวุธปล่อยต่อต้านเรือผิวน้ำแบบยิงจากชายฝั่ง เนปจูน (Neptune) ที่ยูเครนผลิตขึ้นเอง โดยอ้างว่ามิสไซล์ 2 ลูกยิงโดยเป้าหมายทำให้เรือเสียหายหนัก และจมลงในที่สุด สำนักข่าว ทาสก์ รายงานว่า กระทรวงกลาโหมรัสเซีย ยืนยันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 เม.ย. 2565 ที่ผ่านมาว่าเรือลำดังกล่าวได้จมลง ขณะเจอกับสภาพอากาศที่เลวร้าย ขณะที่กำลังลากเรือมอสควากลับเข้าท่าเรือชายฝั่งที่ฐานทัพเรือในเมืองเซวาสโตปอล ในภูมิภาคไครเมีย ภายหลังจากที่สามารถควบคุมเพลิงไหม้ที่เกิดจากการระเบิดในคลังเก็บกระสุนบนเรือ ทั้งนี้ไม่มีการรายงานจำนวนผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ของคนบนเรือ     เรือรบขนาดใหญ่ที่สุดที่ถูกจมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การจมลงของเรือมอสควา นับเป็นเรือรบที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่…

รัสเซียเตือนความเสี่ยงเกิด ‘สงครามโลกครั้งที่ 3’ ชี้นาโตกำลังทำ ‘สงครามตัวแทน’ ผ่านยูเครน

Loading

เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ออกมาเตือนว่า “สงครามโลกครั้งที่ 3” ไม่ใช่เรื่องไกลความจริงอีกต่อไป ขณะที่สหรัฐฯ และชาติพันธมิตร เตรียมจัดการประชุมที่เยอรมนีในวันอังคาร (26 เม.ย.) เพื่อหาทางจัดส่งอาวุธให้ยูเครนใช้ต้านทานการบุกของรัสเซีย นับตั้งแต่ปฏิบัติการรุกรานทางทหารของรัสเซียเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 ก.พ. โลกตะวันตกก็พร้อมใจกันส่งมอบความช่วยเหลือและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ให้แก่ยูเครนอย่างต่อเนื่อง แต่ยังปฏิเสธที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมสู้รบโดยตรง ด้วยเกรงว่าจะเป็นชนวนให้เกิด “สงครามนิวเคลียร์” กับรัสเซีย ลาฟรอฟ ให้สัมภาษณ์กับสื่อแดนหมีขาว โดยตอบคำถามเกี่ยวกับความสำคัญในการหลีกเลี่ยงสงครามโลกครั้งที่ 3 และถูกขอให้เปรียบเทียบว่าสถานการณ์ในปัจจุบันนั้นมีความเหมือนหรือต่างจากวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาเมื่อปี 1962 ซึ่งเป็นช่วงที่ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-สหภาพโซเวียตตกต่ำถึงขีดสุดหรือไม่อย่างไร เขาเตือนถึง “ความเสี่ยงร้ายแรง” ที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ขึ้น พร้อมทั้งวิพากษ์วิจารณ์แนวทางที่รัฐบาลยูเครนใช้ในการเจรจาสันติภาพ “ความเสี่ยงในขณะนี้มีสูงมาก” รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียกล่าว “ผมไม่ได้อยากประเมินความเสี่ยงเกินจริง แม้ว่าหลายคนอาจจะชอบ แต่นี่คืออันตรายที่ร้ายแรงจริงๆ และคุณไม่ควรประเมินมันต่ำเกินไป” ลาฟรอฟกล่าว พร้อมระบุด้วยว่า องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) “กำลังทำสงครามกับรัสเซียผ่านตัวแทน” ซึ่งก็คือยูเครน ดมิโตร คูเลบา รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศยูเครน ทวีตข้อความหลังจากที่ได้ฟังบทสัมภาษณ์ของ ลาฟรอฟ…

กองทัพสหรัฐฯ ชม SpaceX รับมือรัสเซียแฮก Starlink ได้อย่างรวดเร็ว

Loading

    C4ISRNet สื่อสำหรับการทหารและงานข่าวกรองยุคใหม่ได้นำเสนอการสนทนาในเรื่อง “Instruments of electronic warfare” หรือเครื่องมือในการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ โดยกล่าวถึงการเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับสงครามอิเล็กทรอนิกส์ของรัสเซียในการโจมตียูเครน ซึ่ง เดฟ เทรมเปอร์ (Dave Tremper) ผู้อำนวยการฝ่ายสงครามอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้กล่าวชมสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ที่สามารถปกป้องบริการบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมสตาร์ลิงก์ (Starlink) จากการแฮกและโจมตีของรัสเซียได้อย่างรวดเร็ว   นาทาน สเตราต์ (Nathan Strout) พิธีกรของ C4ISRNet ได้สนทนาผ่านวิดีโอทางไกลกับ พลจัตวา แทด คลาร์ก (Brig. Gen. Tad Clark) ผู้อำนวยการฝ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สำนักงานใหญ่กองทัพอากาศสหรัฐฯ และ เดฟ เทรมเปอร์ โดยพูดคุยกันถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสงครามอิเล็กทรอนิกส์ในการบุกยูเครนของรัสเซีย   ในการสนทนา เทรมเปอร์ ได้กล่าวชมทีมวิศวกรของสเปซเอ็กซ์ที่สามารถเขียนโค้ดคำสั่งปล่อยขึ้นไปแค่หนึ่งบรรทัดก็สามารถแก้ไขปัญหาการแฮกและบุกโจมตีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมสตาร์ลิงก์ได้อย่างรวดเร็ว วิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจและกองทัพสามารถเรียนรู้   24 กุมภาพันธ์ รัสเซียได้ส่งกำลังทหารบุกถล่มยูเครนอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งการโจมตีได้ทำลายสายไฟเบอร์ออปติก สายเคเบิ้ลและเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ส่งผลกระทบต่อการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ดังนั้นกองทัพยูเครนจึงต้องสื่อสารทางการทหารผ่านดาวเทียม…

ทหารยูเครน ชำแหละโดรนสอดแนมรัสเซีย พบข้างในใช้กล้อง CANON EOS 750D

Loading

  กระทรวงกลาโหมของยูเครนได้เผยแพร่วิดีโอที่ทหารยูเครนทำการชำแหละชิ้นส่วนของโดรนสอดแนมของกองทัพรัสเซีย โดยการชำแหละในครั้งนี้ต้องทึ่งเมื่อพบว่ามีการใช้งานกล้อง DSLR ระดับ low-end ยี่ห้อ Canon ใส่มากับโดรนสอดแนม   วิดีโอความยาว 2 นาทีที่เผยแพร่โดย ArmyInform ซึ่งเป็นหน่วยงานสารสนเทศของกระทรวงกลาโหมยูเครนเผยให้เห็น Orlan-10 อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle หรือ UAV) ของรัสเซียที่ตกในยูเครน   นายทหารยูเครนชี้ให้เห็นว่าโดรนดังกล่าวนั้นใช้เทคโนโลยีขั้นต่ำอย่างน่าตกใจ หากมองผ่านๆ จะชวนให้นึกถึงโปรเจคเครื่องบิน RC ที่คนมักนิยมเล่นเป็นงานอดิเรกมากกว่าจะนำมาใช้งานสอดแนมหรืองานสายลับทางการทหาร   สิ่งที่พบเจอในโดรนคือ กล้องถ่ายรูป Canon EOS Rabel T6i หรือที่รู้จักกันในรุ่น Canon 750D ซึ่งเป็นกล้อง DSLR ที่เปิดตัวในปี 2015 มีราคาขายปลีกที่ 750 ดอลลาร์ หรือประมาณ 25,160 บาท (ราคาปัจจุบันในตลาดมือสองอยู่ที่ประมาณ 300-400 ดอลลาร์)      …