“ยานยนต์ไร้คนขับ” ประเด็นกฎหมายที่ต้องพิจารณา

Loading

  เทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับเป็นเทคโนโลยีที่คนทั้งโลกเฝ้ารอ โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่ ทั้ง Apple Google Sony Tesla และ Toyota ต่างกำลังแข่งขันกันพัฒนาระบบ   นอกจากความสะดวกสบายของผู้ใช้ยานยนต์ไร้คนขับแล้ว การใช้ยานยนต์ไร้คนขับอย่างแพร่หลายยังเป็นที่คาดหมายว่า จะช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้อย่างมากอีกด้วย เนื่องจากการศึกษาของหลายสถาบัน อุบัติเหตุบนท้องถนนประมาณร้อยละ 90 มีสาเหตุมาจากคนขับ   นอกจากนี้ หลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะที่เข้าสู่สังคมสูงวัยยังคาดหมายว่า ยานยนต์ไร้คนขับจะเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยแก้ปัญหาการขนส่งสาธารณะอีกด้วย   ตัวอย่างเช่น สิงคโปร์กำลังพัฒนายานยนต์ไร้คนขับ เพื่อเตรียมใช้สำหรับการขนส่งสาธารณะในภาพรวม ในปัจจุบันมีการทดลองให้บริการแล้วที่ Garden by the Bay   ส่วนในประเทศญี่ปุ่น จังหวัดฟุคุอิก็ให้บริการยานยนต์ไร้คนขับ ระดับ 4 (ระดับที่คนขับไม่จำเป็นต้องทำการขับขี่ยานยนต์) เป็นครั้งแรกของประเทศ   รถยนต์ไม่ต้องมีคนขับหรือบทบาทของคนขับนั้นน้อยลง เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี คำถามที่ตามมาคือ หากเกิดอุบัติเหตุใครควรเป็นผู้รับผิดชอบ?   หากดูเรื่องของอุบัติเหตุบนท้องถนนแบบภาพรวม ระบบการทำประกันภัยภาคบังคับที่ให้เจ้าของรถทุกคนรับผิดชอบค่าเบี้ยประกันสำหรับประกันภัยภาคบังคับจะยังเหมาะสมหรือไม่?   ระบบการทำประกันภัยภาคบังคับ ที่ให้เจ้าของรถทุกคนรับผิดชอบค่าเบี้ยประกัน เป็นระบบที่มีเบื้องหลังส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุที่ว่า  …

เทคโนโลยีจำลองวัตถุจริงจาก “ฟูจิตสึและเฮกซากอน” ช่วยคาดการณ์ภัยพิบัติและจัดการความปลอดภัยบนท้องถนน

Loading

  สิงคโปร์และโตเกียว – วันนี้ ฝ่ายความปลอดภัย โครงสร้างระบบ และพิกัดตำแหน่งภูมิศาสตร์ของเฮกซากอน (Hexagon) และฟูจิตสึ ลิมิเต็ด ประกาศความร่วมมือในการพัฒนาแอปพลิเคชันดิจิทัลทวิน (digital twin) หรือการจำลองวัตถุเสมือนจากวัตถุจริง เพื่อใช้คาดการณ์และบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติและอุบัติเหตุบนท้องถนน   โซลูชันดังกล่าวสะท้อนถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของทั้งสองบริษัทในการแสวงหาแนวทางปกป้องและฟื้นฟูเมืองจากภัยพิบัติผ่านความร่วมมือทางธุรกิจตั้งแต่เมื่อเดือนมิถุนายน 2565   ทั้งสองบริษัทได้พัฒนาโมเดลการคาดการณ์เพื่อบรรเทาภัยพิบัติโดยอาศัยการคำนวณขอบเขตและผลกระทบจากอุทกภัยโดยใช้ข้อมูลหยาดน้ำฟ้า สร้างภาพขอบเขตปัญหาอุทกภัย และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคาดการณ์ความเสียหาย ทั้งนี้เพื่อให้เมืองต่างๆ สามารถจัดทำแผนรับมือภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่าง ๆ สำหรับความปลอดภัยบนท้องถนน บริษัททั้งสองได้มุ่งเป้าไปที่แอปพลิเคชันที่ใช้วิเคราะห์จุดเสี่ยงจากการจราจรที่คับคั่งและปัญหาการออกแบบถนนซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไข แอปพลิเคชันดังกล่าวจะช่วยให้หน่วยงานผังเมืองและฝ่ายดูแลท้องถนนสามารถพัฒนาเครือข่ายการคมนาคมขนส่งที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น   ฟูจิตสึและเฮกซากอนจะเดินหน้าทดสอบในพื้นที่จริงกับลูกค้าฝ่ายบริหาร เทศบาล และภาคคมนาคมขนส่ง เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจด้านการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของเมือง ภายใต้เป้าหมายในการจัดทำโซลูชันให้ครอบคลุมทั่วโลกภายในปีงบการเงิน 2566 ซึ่งสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2567   กรณีการใช้งานที่ 1: การปกป้องเมืองและภูมิภาคจากภัยธรรมชาติ   (ตัวอย่าง) ภาพจำลองสถานการณ์ภัยพิบัติโดยการพยากรณ์อุทกภัยล่วงหน้า   (ตัวอย่าง) การรายงานจำนวนอาคารสถานที่และผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ และการเสนอมาตรการรับมือ   ข้อมูลพิกัดตำแหน่งและภาพบนพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งด้านการแพทย์ การคมนาคมขนส่ง พลังงาน…