ลิขสิทธิ์ และ กฎหมายกับ AI

Loading

    ลิขสิทธิ์ และ กฎหมายกับ AI   AI วาดรูปที่เคยเป็นที่ฮือฮามาก ๆ ในช่วงปลายปีที่แล้ว ทั้ง Dall-E2, Midjourney จนตอนนี้ ผ่านมาแค่ครึ่งปี แต่ AI วาดรูปก็กลายเป็นเรื่องปกติไปที่เดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็ใช้ บางคนก็เอาไปใช้เป็นรูปประกอบ บางคนเอารูปนั้นไปขาย บางที่ก็ฝึกให้ AI เรียนรู้สไตล์ภาพของศิลปิน แล้วสร้างภาพใหม่ในสไตล์นั้นขึ้นมา แต่ เอ๊ะ…แล้วแบบนี้ มันจะเรียกว่าละเมิดลิขสิทธิ์หรือผิดกฎหมายไหม?   ซึ่งเรื่องนี้ก็มีรายงานข่าวจากต่างประเทศว่า มีศิลปิน 3 คนรวมตัวกันยื่นฟ้อง Midjourney และ Stable Diffusion เอไอวาดรูปที่เป็นที่นิยมมาก ๆ ข้อหาละเมิดสิทธิ์ของ “ศิลปินหลายล้านคน” ด้วยการเอารูปของพวกเขาไปเทรน AI แต่คดียังไม่จบนะคะ   1/ As I learned more about how the…

ตุลาการสหรัฐตัดสิน “อินเทอร์เน็ต อาร์ไคฟ์” ละเมิดลิขสิทธิ์

Loading

    เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ผู้พิพากษาสหรัฐมีคำตัดสินว่า ห้องสมุดออนไลน์ที่ดำเนินการโดย “อินเทอร์เน็ต อาร์ไคฟ์” (ไอเอ) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ละเมิดลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์สหรัฐรายใหญ่ 4 ราย ด้วยการให้ยืมสำเนาหนังสือแบบดิจิทัลที่มาจากการสแกน   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 มี.ค. ว่า คำตัดสินของนายจอห์น โคเอลต์ ผู้พิพากษาศาลรัฐบาลกลางเขตแมนฮัตตัน มีต่อคดีที่ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นการตรวจสอบความสามารถของไอเอ ในการให้ยืมผลงานของนักเขียน และสำนักพิมพ์ที่ยังคงได้รับการคุ้มครอง จากกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ   ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ไอเอทำการสแกนหนังสือหลายล้านเล่ม และให้ยืมสำเนาในรูปแบบดิจิทัลโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งแม้หนังสือหลายเล่มจะเป็นสมบัติสาธารณะ แต่หนังสือราว 3.6 ล้านเล่ม ได้รับการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง     สำนักพิมพ์ของสหรัฐ 4 แห่ง ฟ้องร้องไอเอ เกี่ยวกับหนังสือ 127 เล่ม เมื่อปี 2563 หลังจากองค์การขยายการให้ยืมหนังสือในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 โดยยกเลิกการจำกัดจำนวนคนที่สามารถยืมหนังสือเล่มหนึ่งได้ในแต่ละครั้ง   ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา…

งานวิจัยเผยเว็บไซต์เผยแพร่เนื้อหาเถื่อนมักมีโฆษณาซ่อนมัลแวร์เอาไว้

Loading

  งานวิจัยใหม่ของ Digital Citizens Alliance, White Bullet และ Unit 221B พบว่าเว็บไซต์เผยแพร่เนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ (Piracy Sites) เต็มไปด้วยโฆษณาออนไลน์ที่จะนำมัลแวร์เข้าสู่อุปกรณ์ของผู้ใช้ (Malvertising)   โฆษณาออนไลน์เหล่านี้จะใช้เนื้อหาที่ทำให้ผู้ใช้กลัวหรือล่อลวงผู้ใช้เพื่อให้กดลิงก์ที่มีมัลแวร์ซ่อนอยู่ อาทิ โฆษณาที่ทำให้ดูเหมือนเป็นโปรแกรม Antivirus ที่อ้างว่าอุปกรณ์ของผู้ใช้ติดไวรัสเข้าซะแล้ว หากกดที่ลิงก์ก็จะมีวิธีการแก้ไข แต่จริง ๆ เมื่อกดแล้วจะนำพามัลแวร์เข้าสู่เครื่องแทน ในบางกรณีโฆษณาเหล่านี้ซ่อนมัลแวร์เรียกค่าไถ่เอาไว้ด้วย   มัลแวร์ที่ซ่อนอยู่ในโฆษณาเหล่านี้มีบางชนิดที่สามารถขโมยข้อมูลธนาคารของเหยื่อ บางส่วนก็ติดตั้งสปายแวร์ไว้ในเครื่อง บางตัวก็อาจชี้เป้าอุปกรณ์ให้เป็นเป้าหมายของการโจมตีในอนาคต   งานวิจัยฉบับนี้ยังพบว่าโฆษณาออนไลน์ในรูปแบบนี้กลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เจ้าของเว็บไซต์ที่มีโฆษณาประเภทนี้แสดงอยู่สามารถทำเงินได้มากถึง 121 ล้านเหรียญ (ราว 4,500 ล้านบาท)   ในบางเว็บไซต์มีโฆษณาประเภทนี้อยู่ที่ร้อยละ 12 ของโฆษณาทั้งหมด ในขณะที่มีเว็บไซต์เผยแพร่เนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์มากถึงร้อยละ 80 ที่มีการโฆษณารูปแบบนี้ จำนวนโฆษณายังมีมากถึง 321 ล้านตัว   พีเทอร์ ซิสซ์โก (Peter Szyszko) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง White…