ภาพปลอม “เทย์เลอร์ สวิฟต์” ว่อนเน็ต กระตุ้นให้สหรัฐฯ เร่งออก ก.ม.ปราบปราม Deepfake

Loading

  ภาพลามกอนาจารปลอมของนักร้องสาวชื่อดัง “เทย์เลอร์ สวิฟต์” กำลังถูกเผยแพร่ทางออนไลน์ ทำให้นักร้องสาวคนนี้ตกเป็นเหยื่อคนดังรายล่าสุด และโด่งดังที่สุดของภัยพิบัติโลกไซเบอร์ ที่แพลตฟอร์มเทคโนโลยีและกลุ่มต่อต้านการละเมิดต่างกำลังพยายามดิ้นรนเพื่อหาทางแก้ไข   ทางด้านทำเนียบขาวออกแถลงการณ์ระบุว่า กรณีการเผยแพร่ภาพที่โจ่งแจ้งทางเพศที่สร้างโดย AI ล่าสุดนี้ “น่าตกใจ” อย่างมาก และยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ต้องเร่งแก้ไข   ขณะเดียวกันมีความกังวลเกี่ยวกับเนื้อหาที่สร้างโดย AI เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้คนหลายพันล้านคนจะต้องลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งในปีนี้ทั่วโลก ขณะที่สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อน robocall ปลอมที่อ้างว่ามาจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของ   สหรัฐฯ ได้จุดชนวนให้เกิดการสอบสวน ภาพลามกอนาจารปลอมของเทย์เลอร์ สวิฟต์ ถูกแชร์อย่างกว้างขวางในสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย X ในขณะที่บริษัท X ได้ลดทีมงานตรวจสอบเนื้อหาลงอย่างมาก นับตั้งแต่นายอีลอน มัสก์ เข้ามารับตำแหน่งแพลตฟอร์มในปี 2022   กรณีที่เกิดขึ้นพบว่ากลุ่มแฟนคลับ “สวิฟตี้” ของเทย์เลอร์ สวิฟต์ ได้ร่วมมือกันเข้ามาจัดการด้วยตนเอง โดยระดมพลอย่างรวดเร็วและเปิดฉากการตอบโต้บนแพลตฟอร์ม X ด้วยแฮชแท็ก #ProtectTaylorSwift เพื่อเติมเต็มภาพลักษณ์เชิงบวกของป๊อปสตาร์รายนี้ และช่วยกันรายงานบัญชีที่แชร์ภาพ Deepfakes…

ทำลายยาก ลายน้ำแบบใหม่ ถอดรหัสผ่านคลาวด์

Loading

  เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัท CastLabs จากเยอรมนีได้เปิดตัว “ลายน้ำทางนิติเวชแบบเฟรมเดียว หรือ single-frame forensic watermarking ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ที่ทำงานผ่านระบบคลาวด์เพื่อให้สามารถระบุ ภาพหรือวีดีโอที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่าย ๆ   สำหรับ “ลายน้ำ” คือการระบุรูปแบบที่ซ่อนอยู่ในกระดาษ รูปภาพ หรือเนื้อหาประเภทอื่นๆ ที่ผู้ผลิตและผู้ให้บริการสามารถใช้เพื่อตรวจจับของปลอมหรือการละเมิดลิขสิทธิ์   แนวทางใหม่นี้ จะช่วยให้บริษัทสามารถฝัง “ลายน้ำในระดับที่มีความทนทาน” แม้กับไฟล์ที่มีบิทเรตเพียงน้อยนิด ในเนื้อหาดิจิทัล เช่น รูปภาพ วิดีโอ เอกสาร หรือไฟล์ดิจิทัลประเภทอื่น ๆ ได้   ขั้นเริ่มต้น อัลกอริธึมของ CastLabs จะฝังลายน้ำลงไปในไฟล์พร้อม ๆ กับขั้นตอนการเข้ารหัส จากนั้น หากต้องการจะตรวจสอบ สามารถทำได้ผ่านระบบคลาวด์ที่สามารถถอดรหัสลายน้ำที่ฝังไว้ออกมาได้ครับ   วิธีการดังกล่าวถูกเรียกว่า “blind extraction” สามารถดึงรูปแบบที่ซ่อนอยู่จากเนื้อหาที่มีลายน้ำ ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าถึงลายน้ำต้นฉบับได้อีกต่อไป ซึ่งเป็นการซ่อนลายน้ำอีกชั้นหนึ่ง และไม่สามารถนำออกไปได้    …