ใครว่าเครื่อง Macintosh แฮ็กไม่ได้? แฮ็กเกอร์เริ่มใช้โฆษณาหลอกลวงเพื่อแพร่กระจายมัลแวร์ Stealer เข้า MacOS

Loading

เว็บไซต์ The Hacker News พบว่า ปัจจุบันนั้นกลุ่มแฮ็กเกอร์ได้ค้นพบวิธีการโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์ตระกูล Mac ด้วยวิธีใหม่ ซึ่งเป็นการใช้โฆษณา และเว็บไซต์ปลอม ที่จะทำให้เครื่อง Mac นั้นติดมัลแวร์ขโมยข้อมูล (Stealer)

กสทช. ย้ำ ไม่มีนโยบายลงทะเบียนซิม เพื่อยืนยันตัวตน!

Loading

สำนักงาน กสทช. ย้ำ ไม่มีนโยบายรับลงทะเบียนซิม เพื่อยืนยันตัวตนผ่านทุกช่องทาง แนะอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพแอบอ้างให้กดลิงก์ผ่าน SMS

Retool ถูกแฮ็กกระทบบัญชีลูกค้า 27 ราย เตือนความเสี่ยงการซิงค์รหัสบนคลาวด์

Loading

Retool บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ธุรกิจของสหรัฐรายงานว่า ลูกค้าในระบบคลาวด์จำนวน 27 รายได้รับผลกระทบจากกระบวนการลักลอบเข้าสู่บัญชีโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งกระบวนการดังกล่าวได้เริ่มขึ้นจากการส่งข้อความหลอกลวง (SMS phishing) เพื่อล้วงรายละเอียดข้อมูลการล็อกอินจากพนักงานของ Retool จนสามารถเข้าสู่ระบบภายในของบริษัทได้

ระวังมุกใหม่ หาเรื่องทะเลาะบนไลน์ หลอกคลิกลิงก์ เพื่อขโมยเงิน

Loading

ภาพ : ตำรวจสอบสวนกลาง   ระวังมุกใหม่ หาเรื่องทะเลาะบนไลน์ หลอกคลิกลิงก์เพื่อเข้าสู่กลุ่มไลน์ หรือติดตั้งมัลแวร์ เพื่อขโมยเงินและข้อมูลส่วนตัว รูปแบบใหม่ล่าสุดที่มิจฉาชีพทำทุกวิถีทางเพื่อหลอกให้หลงมาคลิกลิงก์ให้ได้   โดยมิจฉาชีพจะทักเข้ามาในไลน์ของเรา โดยแชตแบบเชิงหาเรื่อง ทำให้เราสงสัย กระวนกระวายใจ กลัว หรือไม่สบายใจ เมื่อเราส่งข้อความตอบกลับถาม ก็จะส่งลิงก์มาให้เรากดเข้าไปดู ซึ่งหากหลงเชื่อกดลิงก์เข้าไป อาจถูกมิจฉาชีพดูดเงินจนหมดบัญชีได้ หรือติดตั้งมัลแวร์เพื่อขโมยข้อมูลสำคัญหรือแอบควบคุมบนโทรศัพท์มือถือคุณได้   ดังนั้น หากพบว่ามีบุคคลอื่นไม่รู้จัก น่าสงสัย และมีส่งลิงก์แปลก ๆ มาให้กด ไม่ควรกดลิงก์นั้นเด็ดขาด และควร block ทันทีหากไม่รู้จักคนคนนั้นจริง ๆ จะได้ไม่ถูกหลอกจากมิจฉาชีพคนนั้นอีก นอกจากนี้ควรเก็บหลักฐานแชตนี้เป็นหลักฐานส่งไปยังสถานีตำรวจ หรือ แจ้งความออนไลน์เลยที่ thaipoliceonline.com ได้     อ้างอิง ตำรวจสอบสวนกลาง         ————————————————————————————————————————————— ที่มา :         …

Google Bard ปลอม! วิธีสังเกต Google Bard จริงหรือปลอม ระวังเป็นเหยื่อลิงก์ปลอม

Loading

ตัวอย่างเว็บปลอม และเพจปลอม   Google Bard ปลอม! วิธีสังเกต Google Bard จริงหรือปลอม หลังสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สกมช. ออกเตือนผู้ใช้ที่สนใจ AI จาก Google อย่าง Google Bard ระวังอย่าคลิกลิงก์หรือแนบไฟล์ที่มาจากเว็บไซต์ Google Bard AI ปลอม ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อคอมพิวเตอร์หรือทำให้ข้อมูลส่วนตัวของคุณถูกเปิดเผยโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยมิจฉาชีพสร้างเว็บไซต์ปลอมและมีการส่งลิงก์หรือยิงโฆษณาบน Facebook แนะนำ Google Brad ปลอม ซึ่งจะพาไปยังเพจ Google Bard ปลอม และนี่คือตัวอย่าง Google Bard ปลอมทั้งหมด   ตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ Google Bard ของจริง   สำหรับหน้าตาจริงต้องแบบนี้ โดยเข้าผ่าน bard.google.com เท่านั้น การเลือกใช้แหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ และเข้าเว็บไซต์ที่ถูกต้องเท่านั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ข้อมูลของคุณปลอดภัย โปรดระมัดระวังทุกครั้งเมื่อใช้งานเว็บไซต์ สกมช. ให้คำแนะนำในการสังเกตเว็บไซต์ก่อนคลิกดังนี้…