วิธีตรวจสอบเว็บฟิชชิ่ง มาดูวิธีป้องกันการโดน phishing

Loading

iT24Hrs-S     วิธีตรวจสอบเว็บฟิชชิ่ง มาดูวิธีป้องกันการโดน phishing เพราะ ฟิชชิ่งเป็นหนึ่งในกลโกงที่โด่งดังและแพร่หลายที่สุดในโลกออนไลน์ ไม่มีเดือนไหนที่ไม่มีฟิชชิ่งเลย บางส่วนสูญเสียข้อมูลหรือเงินจำนวนมหาศาลให้กับคนร้าย เป็นเรื่องง่ายอย่างน่ากลัวโอกาสสูงที่ตัวเองอาจตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง ถ้าคุณไม่ปกป้องตัวเอง และไม่รู้ว่าควรระวังอะไร ดังนั้นคุณจะตรวจสอบฟิชชิ่งอย่างไรบ้าง บทความนี้ได้รวบรวมอีกขั้นในการตรวจสอบฟิชชิ่งเพื่อไม่ให้คุณตกเป็นเหยื่อเว็บฟิชชิ่ง   วิธีตรวจสอบเว็บฟิชชิ่ง มาดูวิธีป้องกันการโดน phishing   1.ใช้ฟีเจอร์ Anti-Spam ทำไมผู้ให้บริการอีเมลจึงเสนอเครื่องมือป้องกันสแปมให้กับผู้ใช้ เพราะอีเมลขยะเป็นที่แพร่หลายอย่างไม่น่าเชื่อ โดยหลายๆ ฉบับถูกใช้เพื่อหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง ดังนั้น ให้ตรวจสอบคุณสมบัติป้องกันสแปมของอีเมลของคุณ โดยผู้ให้บริการส่วนใหญ่เสนอตัวกรองป้องกันสแปมที่เปลี่ยนเส้นทางอีเมลที่สงสัยว่าเป็นสแปมไปยังโฟลเดอร์อื่น เช่นรวมอีเมลขยะ เป็นขั้นตอนแรกที่ดีในการป้องกันตัวคุณเองจากฟิชชิ่ง   2.Block ผู้ส่งที่น่าสงสัย บล็อกผู้ส่งอีเมลทีไม่รู้จัก แปลกประหลาด น่าสงสัย การคลิกปุ่มบล็อกนั้นจะไม่เป็นอันตรายเพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขา คนไม่รู้จัก และผู้ไม่หวังดีมาติดต่อกับคุณ   3.ใช้เว็บไซต์ตรวจสอบลิงก์ ก่อนคลิก เป็นวิธีที่รวดเร็วและง่ายดายในการพิจารณาว่าลิงก์นั้นปลอดภัยหรือไม่ก่อนที่จะคลิก ลิงก์ที่เป็นอันตรายเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของการหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง ดังนั้นจึงควรมีสิ่งที่จะปกป้องคุณจากเว็บไซต์ที่อาจเป็นอันตรายเหล่านี้ นั่นคือตรวจสอบลิงค์ก่อนเข้าเว็บไซต์ ซึ่งเว็บที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบเว็บอันตรายได้มีดังนี้ https://safeweb.norton.com https://scanurl.net/ https://www.phishtank.com/ https://transparencyreport.google.com/safe-browsing/search https://www.virustotal.com/gui/home/upload https://www.psafe.com/dfndr-lab/ https://www.urlvoid.com/…

ทรูมูฟ เอชเตือนภัยแอปปลอม ส่งลิงก์โหลดลงทะเบียนขโมยข้อมูล

Loading

  อย่าหลงเชื่อ…ทรูมูฟ เอช เตือนภัยมิจฉาชีพ มารูปแบบใหม่ อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่จากทรู ติดต่อลูกค้าและขอรายละเอียดการใช้บริการ หวังดีตรวจสอบให้ว่าเบอร์มือถือของลูกค้าถูกมิจฉาชีพอื่นนำไปใช้ทำธุรกรรมหรือไม่ พร้อมหลอกลวงว่าเบอร์มือถือของลูกค้าที่ใช้ยังลงทะเบียนซิมไม่ครบถ้วน โดยขอให้แอดไลน์ เพื่อส่งรายละเอียด   หากลูกค้าหลงเชื่อ มิจฉาชีพจะส่งลิงก์ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอม ชื่อ TrueMove H โดยอ้างว่าเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการตรวจสอบชื่อจริง และทำให้ลูกค้าหลงเชื่อยอมกรอกข้อมูลส่วนตัว พร้อมใส่รหัสยืนยัน ซึ่งบางคนอาจใช้เป็นรหัสเดียวกันกับแอปพลิเคชันการเงินอื่นๆ ของตน หลังจากนั้นมิจฉาชีพแจ้งว่าจะรีบดำเนินการตรวจสอบข้อมูลที่ลูกค้าให้มาอย่างละเอียด และขอให้ลูกค้าอย่าเพิ่งใช้โทรศัพท์ในระหว่างนี้ ซึ่งถ้าหากลูกค้าหลงเชื่อปฏิบัติตาม มิจฉาชีพจะใช้ช่วงเวลาดังกล่าวเชื่อมต่อแอปธนาคาร และดูดเงินจากบัญชีลูกค้า   ทั้งนี้ ขอย้ำว่า แอปพลิเคชัน TrueMove H โอเปอเรเตอร์ (ดังปรากฏในภาพ) เป็นแอปปลอม ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของบริษัทแต่อย่างใด ซึ่งหากลูกค้าต้องการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับบริการเพิ่มเติม สามารถโทร.1242 หรือเข้าแอปพลิเคชันทรูไอดี ทรูไอเซอร์วิส ยิ่งไปกว่านั้น ลูกค้าทรูมูฟ เอช ยังสามารถใช้แอปพลิเคชัน Whoscall เพื่อแจ้งเตือนเบอร์แปลก รู้ทันทุกสาย หรือโทร.9777 เพื่อแจ้งข้อมูลเบอร์โทร.เข้าที่ต้องสงสัยและ SMS หลอกลวง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย    …

โจรโซเชียล โผล่มุกใหม่ระบาด “ไลน์” ไม่อยากโดนหลอกต้องดู เตือนแล้วนะ

Loading

  เพจตำรวจ เตือนภัยมิจฉาชีพออนไลน์ มามุกใหม่ เพื่อหลอกให้กดลิงค์ผ่าน “ไลน์” แนะประชาชนตรวจสอบให้ดีก่อนตกเป็นเหยื่อ   หากพูดถึง ภัยไซเบอร์ในปัจจุบัน เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินข่าวการโจมตีสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจต่าง ๆ หรือหน่วยงานภาครัฐมาบ้างแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้น ภัยไซเบอร์ อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ทางศูนย์ฯ จะพาไปทำความรู้จักภัยไซเบอร์ ใกล้ตัวแต่ละประเภทที่ควรรู้ รวมถึงแนะนำวิธีรับมือและป้องกันตนเองจากภัยที่อาจเกิดขึ้นจาก “ไลน์”   ทางเพจ PCT Police ได้ออกมาเตือนถึง ภัยมิจฉาชีพออนไลน์ใหม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้ มิจฉาชีพ มามุกใหม่ เพื่อหลอกให้กดลิงค์ผ่าน “ไลน์”   แอด “ไลน์” มาแสร้งเป็นคนดี แจ้งเตือนเหยื่อ ว่ามีคนเอาภาพเหยื่อไปทำในทางที่ไม่ดี โดยการส่งลิงค์มาให้กดดู ถ้าเผลอกดเข้าไปหละก้อ อาจจะโดนไวรัสเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวต่างๆ เงินในบัญชีอาจจะหมดไม่รู้ตัว   จะคลิกลิงก์อะไร ตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนนะครับ ว่าเป็นลิงค์ที่ปลอดภัย ไม่งั้นตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพพวกนี้แน่นอน       นอกจากมิจฉาชีพจะมาทาง “ไลน์” แล้วยังมีอีกหลายวิธีที่โจรโซเชียลเหล่านี้จะนำมาใช้ โดยมีดังนี้…