อนาคตแห่งอินเทอร์เน็ตดาวเทียม การส่งข้อมูลผ่านเลเซอร์

Loading

  อินเทอร์เน็ตดาวเทียม หนึ่งในระบบที่ได้รับความสนใจมากขึ้นจากการมาถึงของ Starlink แต่ด้วยขีดจำกัดทางเทคโนโลยีทำให้ความเร็วยังต่ำกว่าและสร้างปัญหาในเชิงดาราศาสตร์ ล่าสุดจึงเริ่มมีแนวคิดพัฒนา การส่งข้อมูลผ่านเลเซอร์ ที่อาจเป็นกุญแจสู่ระบบอินเทอร์เน็ตในอนาคต   อินเทอร์เน็ตดาวเทียม อีกหนึ่งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ได้รับการพูดถึงมากขึ้น ด้วยจุดเด่นที่รองรับการใช้งานแทบทุกพื้นที่ทั่วโลก ไม่ต้องพึ่งพาสัญญาณจากท้องถิ่นหรือโครงสร้างพื้นฐานแบบเคเบิลใยแก้ว อาศัยเพียงอุปกรณ์เชื่อมต่อรองรับสัญญาณก็เพียงพอ นี่จึงเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง   เราทราบดีว่าระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียมปัจจุบันยังมีข้อจำกัดหลายด้าน ทั้งปัญหาในแง่ความเสถียรหรือความเร็วในการให้บริการ นำไปสู่ความพยายามในการปรับปรุงแก้ไข อย่าง Starlink ของบริษัท SpaceX ที่เลือกจะเพิ่มจำนวนดาวเทียมในวงโคจร ขยายขีดความสามารถในการกระจายสัญญาณเพื่อประสิทธิภาพในการส่งข้อมูล   ฟังดูเป็นเรื่องดีแต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเพิ่มจำนวนดาวเทียมอินเทอร์เน็ตก็กำลังสร้างผลกระทบใหญ่หลวงเช่นกัน   พิษภัยที่คาดไม่ถึงของระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียม   เมื่อพูดถึงประเด็นในการเพิ่มจำนวนดาวเทียมในวงโคจร สิ่งแรกที่ทุกคนคิดถึงย่อมเป็นจำนวนขยะอวกาศเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณที่ปัจจุบันเรายังไม่มีวิธีจัดการเป็นรูปธรรม แต่อีกหนึ่งปัญหาที่ถูกค้นพบและเริ่มได้รับการพูดถึงคือ สัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นจากระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียม   โดยพื้นฐานระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียมจะทำการส่งข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุ แม้แต่ Starlink เองก็ใช้การส่งข้อมูลรูปแบบนี้ แต่อาศัยประโยชน์จากการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมวงโคจรต่ำและมีจำนวนมาก ช่วยให้การส่งข้อมูลทำได้รวดเร็ว ลดปัญหาความหน่วงและล่าช้า ยกระดับขีดความสามารถอินเทอร์เน็ตดาวเทียมขึ้นอีกขั้น   แต่จากการศึกษาล่าสุดพบว่า คลื่นวิทยุจากดาวเทียมเครือข่าย Starlink มีจำนวนและอัตราการปล่อยคลื่นวิทยุมากเกินไป กลายเป็นสิ่งกีดขวางการทำงานของกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ซึ่งอาศัยการตรวจจับเทหวัตถุบนท้องฟ้าด้วยคลื่นวิทยุเช่นกัน ส่งผลให้การทำงานของดาวเทียมในเครือข่าย Starlink กลายเป็นการรบกวนการศึกษาดาราศาสตร์   จากการทดลองของนักดาราศาสตร์ที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ความถี่ต่ำพบว่า…

ปกรณ์ย้ำ! ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องมี ‘กฎหมายอวกาศ’

Loading

  หลังจาก ศรชล.ภาค ๓ ได้ประสานความร่วมมือกับ GISTDA และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้เชี่ยวชาญร่วมวางแผนการเก็บกู้ถังเชื้อเพลิงของจรวดที่ถูกนำส่งขึ้นสู่อวกาศ โดยค้นพบที่บริเวณเกาะแอล จังหวัดภูเก็ต จนภารกิจสำเร็จลุล่วงไปแล้วเมื่อ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา เรื่องดังกล่าว ถือเป็นเรื่องสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับ “กฎหมายอวกาศ” ถึงแม้วัตถุอวกาศที่ตกมาสู่พื้นโลกจะไม่ได้สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน แต่กฎหมายอวกาศหรือข้อตกลงทางด้านอวกาศได้มีการกล่าวถึงรายละเอียดของการชดใช้ความเสียหายที่เกิดจากจรวด หรือดาวเทียม หรือสถานีอวกาศ ซึ่งประเทศที่เป็นเจ้าของวัตถุนั้น จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวที่เกิดขึ้น     ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA กล่าวว่า เรื่องนี้เคยมีการพูดถึงหลายครั้ง โดยเฉพาะกฎหมายอวกาศกับเหตุการณ์แบบนี้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยของเราอยู่บ่อย ๆ ก็จะขอย้ำว่า สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านอวกาศของสหประชาชาติ มีอยู่ 5 ฉบับ ประกอบด้วย สนธิสัญญาว่าด้วยหลักเกณฑ์การดำเนินกิจการของรัฐในการสำรวจและการใช้อวกาศภายนอก รวมทั้งดวงจันทร์ และเคหะในท้องฟ้าอื่น ๆ ค.ศ. 1967 อีกฉบับคือความตกลงว่าด้วยการช่วยชีวิตนักอวกาศ การส่งคืนนักอวกาศ และการคืนวัตถุที่ส่งออกไปในอวกาศภายนอก ค.ศ. 1968 อนุสัญญาว่าด้วยความรับผิด ระหว่างประเทศสำหรับความเสียหายที่เกิดจากวัตถุอวกาศ ค.ศ.1972 อนุสัญญาว่าด้วย การจดทะเบียนวัตถุอวกาศ ค.ศ.1975…