‘ไมโครซอฟท์’ แนะยุทธวิธี ใช้ ‘AI’ ปกป้องข้อมูลองค์กร

Loading

    “ไมโครซอฟท์” เผยภาพรวมสถานการณ์การโจมตีทางไซเบอร์ปี 2567 พบว่า ลูกค้าของไมโครซอฟท์ทั่วโลกเผชิญกับการโจมตีทางไซเบอร์จากอาชญากรมากกว่า 600 ล้านครั้งต่อวัน   ไม่ว่าจะเป็น การโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ หรือ แรนซัมแวร์ ไปจนถึงฟิชชิง (Phishing) และการโจมตีข้อมูลประจําตัว (Identity Attacks) พบด้วยว่า วิธีการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่เพิ่มขึ้น 2.75 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา   ข้อมูลทางสถิติชี้ให้เห็นว่า อาชญากรรมทางไซเบอร์และการฉ้อโกงที่มุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเงินยังคงเป็นภัยคุกคามที่พบได้บ่อยที่สุด   ดึง AI กันภัยคุกคามองค์กร   สำหรับเทคนิคการเข้าถึงที่พบมากที่สุด ยังคงเป็นวิศวกรรมสังคม (Social Engineering) โดยเฉพาะการฟิชชิงทางช่องทางต่างๆ รวมถึงการขโมยข้อมูลประจำตัว และการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในแอปพลิเคชันที่เปิดให้บริการแบบสาธารณะ หรือระบบปฏิบัติการที่ไม่ได้รับการอัปเดต   นอกจากนี้ การหลอกลวงผ่านทางเทคโนโลยี (Tech scams) เพิ่มสูงขึ้นถึง 400% ตั้งแต่ปี 2565 โดยในปีที่ผ่านมาได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีความถี่รายวันเพิ่มขึ้นจาก 7,000 ครั้งในปี 2566 เป็น…

กระทรวงดิจิทัลไต้หวันชี้ พ.ค. เดือนเดียว รัฐบาลรับมือภัยไซเบอร์กว่า 60,000 ครั้ง

Loading

ในเดือนพฤษภาคม หน่วยงานรัฐบาลของไต้หวันสามารถป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ได้มากถึง 64,804 ครั้ง ถือว่ามากที่สุดใน 1 เดือน ในรอบ 1 ปี

Microsoft และ OpenAI ออกรายงานแฮ็กเกอร์ใช้ ChatGPT ช่วยพัฒนาการโจมตีทางไซเบอร์

Loading

ข้อมูลของไมโครซอฟท์ และโอเพนเอไอ เปิดเผยว่า แฮ็กเกอร์เริ่มใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ พัฒนาการเขียนสคริปต์ และอีเมลฟิชชิ่ง ช่วยเหลือด้านการโจมตีทางไซเบอร์ ไมโครซอฟท์ และโอเพนเอไอ เปิดเผยข้อมูลสำคัญที่ทำให้คนทั้งโลกต้องตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์มากขึ้น เมื่อในเวลานี้แฮ็กเกอร์กำลังใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่เข้ามาช่วยเหลือปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์

‘เทคนิคโจร’ ก็พัฒนา ‘ปล้นออนไลน์’ อาวุธ ‘จุดอ่อนเหยื่อ’

Loading

  นอกจาก “ภัยโฆษณาเกินจริง” ที่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ได้ชี้ให้เห็น “อันตราย” ไปแล้ว…กับ “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” อย่างการ “ขโมยข้อมูล-ต้มตุ๋นออนไลน์” ก็เป็นอีกภัยที่ใกล้ตัวคนไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ   ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็มีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ของไทย ออกมาเผยข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยอ้างอิงผลสำรวจของ Identity Theft Resource Center ที่พบว่า…ปี 2565 ทั่วโลกมีการโจมตีด้านข้อมูลส่วนบุคคลมากมาย โดยมีผู้เสียหายที่ถูกขโมยข้อมูลมากถึง 442 ล้านคน!!! ซึ่งแน่นอนว่าในจำนวนนี้ก็ย่อมมี “เหยื่อคนไทย” รวมอยู่ด้วย   ตัวเลขนี้ฉายชัด “สถานการณ์ปัญหา”   ที่โลกยุคใหม่ต้องเผชิญ “โจรไซเบอร์”   อีกหนึ่ง “ภัยคุกคามที่น่ากลัว” ในยุคนี้   “การแฮ็กข้อมูล การถูกเจาะระบบ กำลังเป็นปัญหาใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะข้อมูลส่วนบุคคลได้กลายเป็นแหล่งทำเงินของแฮกเกอร์ไปแล้ว โดยแฮ็กเกอร์ที่ขโมยข้อมูลเหล่านี้ไปจะนำไปขายต่อเพื่อหาเงิน หรือแม้แต่สวมรอยแทนตัวตนของคนที่ถูกขโมยข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้” …เป็น “อันตราย”…

รู้เท่าทันแฮกเกอร์ กับเทคนิคเจาะข้อมูลแบบ “วิศวกรรมสังคม”

Loading

  รู้เท่าทันแฮกเกอร์ กับเทคนิคเจาะข้อมูลแบบ “วิศวกรรมสังคม” 5 รูปแบบ ผ่านพฤติกรรมของเรา   วิศวกรรมสังคม (Social Engineering) เป็นวิชาทางจิตวิทยาแขนงหนึ่ง เกี่ยวข้องกับ การรับรู้ข้อมูลของมนุษย์และการแสดงท่าทีต่อข้อมูลนั้น ซึ่งมิจฉาชีพมักจะนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ในการลวง และเจาะข้อมูลบุคคลเพื่อนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต, หลอกให้โอนงาน, นำข้อมูลส่วนตัว ไปใช้ในทางผิดกฎหมาย และอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบกับผู้ที่ถูกกระทำหากเคยได้ยินข่าวกันบ้างอย่างเช่น โทรศัพท์เข้ามาอ้างตัวเป็นคอลเซ็นเตอร์ธนาคาร เพื่อสอบถามข้อมูลส่วนตัวนำไปทำธุรกรรมยักยอกเงินจากบัญชีของเจ้าของเบอร์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้รุนแรง และมีรูปแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นพร้อมกับการมาถึงของยุคดิจิทัล ซึ่งเทคนิคดังกล่าว ไม่ได้อาศัยช่องโหว่ของระบบ หรือเทคโนโลยีใด ๆ หากใช้แต่เพียงช่องโหว่จากพฤติกรรมของเหยื่อ ที่มีต่อข้อมูลนั้น ๆ ในการเข้าถึงข้อมูล     การเจาะข้อมูลแบบ “วิศวกรรมสังคม” ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มี 5 รูปแบบหลัก ๆ ด้วยกันคือ   1. Baiting “ใช้เหยื่อล่อ” เป็นรูปแบบที่มีการใช้รางวัล หรือสิ่งตอบแทนเป็นเหยื่อล่อ ให้บุคคลที่ติดเหยื่อ นั้นถูกล้วงข้อมูล หรือเข้าถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อมูลส่วนบุคคลอยู่…