TTC-CERT แจ้งเตือนแคมเปญฟิชชิ่งที่กำหนดเป้าหมายต่อผู้ใช้งานบริการโทรคมนาคมและไปรษณีย์ทั่วโลก

Loading

  ศูนย์ประสานงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ด้านโทรคมนาคม (ศูนย์ TTC-CERT) ได้ติดตามและวิเคราะห์แคมเปญการหลอกลวงขนาดใหญ่ผ่านช่องทาง SMS หลอกลวง (Smishing) อีเมลหลอกลวง (Phishing Email) และเว็บไซต์หลอกลวง เพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคลและ/หรือข้อมูลทางการเงินของผู้ใช้บริการด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคมทั่วโลก   แคมเปญดังกล่าวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566 โดยใช้โดเมนหลอกลวงมากกว่า 300 โดเมน ปลอมแปลงเป็นบริษัทภาคบริการไปรษณีย์ บริษัทโทรคมนาคม และองค์กรต่างๆ กว่า 50 แห่งทั่วโลก ซึ่งจากชื่อโดเมนหลอกลวงที่พบ ศูนย์ TTC-CERT มีความมั่นใจในระดับสูง (High Level of Confidence) ว่ากลุ่มมิจฉาชีพกลุ่มนี้มุ่งเป้าโจมตีไปที่บุคคลต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่ใช่เป็นการมุ่งเป้าโจมตีคนไทยหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเท่านั้น โดยโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการทำฟิชชิ่ง (Phishing Infrastructure) มีความซับซ้อน ประกอบด้วยเว็บแอปพลิเคชันที่ปลอมเป็นบริษัทด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคม เพื่อล่อลวงผู้ใช้บริการและขโมยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน (Sensitive Information) ข้อค้นพบที่สำคัญ (Key Finding) •  แคมเปญดังกล่าวมีเครือข่ายโดเมนหลอกลวงที่กว้างขวางมากกว่า 300 โดเมน โดยปลอมแปลงเป็นบริษัทที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย (Legitimate Company)…

“สกมช.” ดึง 10 หน่วยงานนำร่องแลกเปลี่ยนข้อมูลภัยไซเบอร์

Loading

พัฒนาแพลตฟอร์ม ใช้รับและแบ่งปันข้อมูลภัยคุกคามทางไซเบอร์ของไทยมีประสิทธิภาพ นำร่อง 10 หน่วยงานก่อน พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า สกมช. ได้พัฒนาแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนข้อมูลภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อใช้ในการรับและแบ่งปันข้อมูลภัยคุกคามทางไซเบอร์

แฮ็กเกอร์ประเทศเพื่อนบ้านส่งตรงมัลแวร์ผ่านการโฆษณา ขโมยทุกอย่างตั้งแต่ภาพหน้าจอยันข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านในเว็บเบราว์เซอร์

Loading

  ศูนย์ประสานงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ด้านโทรคมนาคม (TTC-CERT) รายงาน เกี่ยวกับเทรนด์ในปัจจุบันที่กลุ่มผู้โจมตี (threat actor) กำลังให้ความนิยมในการโจมตีด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Malvertising เพื่อแพร่กระจายมัลแวร์ในโลกออนไลน์โดยใช้แพลตฟอร์ม Google Adsense และ Facebook Ads   ซึ่งวิธีการนี้ช่วยให้กลุ่มผู้โจมตีสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการโจมตีได้อย่างละเอียด เช่น สามารถกำหนดเกณฑ์อายุ ตำแหน่งที่อยู่ หรือแสดงโฆษณาเฉพาะคีย์เวิร์ดที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น ทำให้โฆษณาแฝงมัลแวร์เหล่านี้ไปปรากฏบนหน้าจอของผู้ใช้งานได้ตรงกลุ่มเป้าหมายตามที่กลุ่มผู้โจมตีต้องการ เมื่อประกอบกับพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้งานทั่วไปที่มักไม่ตรวจสอบความปลอดภัยหรือแม้กระทั่งเข้าใจผิดคิดว่าโฆษณาเหล่านี้เป็นผลลัพธ์การค้นหา (search result) ตามปกติ ทำให้เทคนิคการโจมตีแบบ Malvertising ประสบความสำเร็จในการโจมตีผู้ใช้งานทั่วไปค่อนข้างมาก รวมถึงมีโอกาสที่จะใช้ในการโจมตีแบบ targeted attack ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย   แผนภาพ (diagram) แสดง Malvertise บนสื่อสังคมออนไลน์แห่งหนึ่งถูกใช้ในการแพร่กระจายมัลแวร์ Bbot   ทั้งนี้ ศูนย์ TTC-CERT ได้ทำการเฝ้าระวังการโจมตีด้วยเทคนิค Malvertising ที่อาจมีเป้าหมายในการโจมตีผู้ใช้งานในประเทศไทยและได้ตรวจพบแคมเปญการโฆษณาที่มีความผิดปกติจำนวนหนึ่งบนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์แห่งหนึ่ง โดยหนึ่งในนั้นมีลักษณะในการโฆษณาแอบอ้างว่าสามารถช่วยในการกู้คืนบัญชีผู้ใช้งานที่ถูกแบนได้โดยเชิญชวนให้ผู้ใช้งานทำการดาวน์โหลดและติดตั้งไฟล์ต้องสงสัยบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์   ศูนย์ TTC-CERT จึงทำการตรวจสอบไฟล์ดังกล่าวและพบว่าเป็นไฟล์มัลแวร์ประเภท Infostealer ที่มีชื่อว่า “Bbot”…