ช็อก!”สปสช.-สวทช.”รับโดนจารกรรมข้อมูล1.3 แสนราย

Loading

สปสช. และ สวทช. แจงเหตุการณ์ข้อมูลที่โดนจารกรรม 1.3 แสนรายไม่ได้หลุดจากระบบ A-MED Care Plus แต่เป็นขั้นตอนคัดลอกข้อมูลเพื่อทำฐานข้อมูลชั่วคราวเพื่อทำรายงาน ซึ่งเป็นระบบเดี่ยวไม่ได้เชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ เป็นข้อมูลเฉพาะบริการในคลินิกแพทย์แผนไทยชุมชนอบอุ่นเท่านั้น ไม่กระทบต่อระบบ A-MED Care Plus และระบบที่มาเชื่อมโยง รวมถึงระบบการเบิกจ่ายกับ สปสช. พร้อมย้ายข้อมูลสู่คลาวด์ภาครัฐ (GDCC) แทน แจ้ง สคส. ติดตามหาผู้กระทำผิดและจะดำเนินคดีจนถึงที่สุด พร้อมเตือนประชาชนระมัดระวังอย่าหลงเชื่อ SMS หลอกให้กดลิงก์

สกมช. จับมือ ไมโครซอฟท์ เปิดหลักสูตรฝึกอบรม AI และความปลอดภัยไซเบอร์

Loading

วันที่ 5 มีนาคม 2568 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ต่อยอดความร่วมมือเพื่อยกระดับศักยภาพของบุคลากรด้านดิจิทัลรุ่นใหม่สำหรับประเทศไทย ครอบคลุมความรู้พื้นฐานด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI องค์ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ และแนวทางการป้องกัน ผ่านการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญของไมโครซอฟท์

อึ้ง! คนไทย 60% ยอมให้ข้อมูลส่วนตัว แลกสิทธิพิเศษ-ส่วนลด

Loading

วันนี้ (28 ก.พ.68) นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯ เปิดเผยรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 4/2567 ประเด็นการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลและภัยคุกคามทางไซเบอร์ ระบุว่า ประเทศไทย แม้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) แต่ยังพบการคุกคามทางไซเบอร์ และการรั่วไหลของข้อมูลเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

Whoscall เปิดสถิติปี 67 สายมิจฉาชีพทางโทรศัพท์-ข้อความ SMS หลอกลวงในไทยพุ่ง 168 ล้านครั้ง สูงสุดในรอบ 5 ปี

Loading

รายงานประจำปีครั้งนี้ยังได้เปิดเผยถึงปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรวจสอบผ่านฟีเจอร์ “ID Security” ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบความปลอดภัยของข้อมูล ส่วนบุคคลของตนเองได้ ในปีที่ผ่านมา ฟีเจอร์ ID Security กลายเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยเพิ่ม ความระมัดระวังความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

ปี 2025 ภัยไซเบอร์ เร่งอุณหภูมิเดือด เอเชียขึ้นแท่นโซนอันตราย

Loading

ปี2024 ที่ผ่านมา ภัยคุกคามไซเบอร์ทั่วโลกทวีความรุนแรงและซับซ้อนขึ้น AI เข้ามามีบทบาทสำคัญ ทำให้ภัยร้ายในโลกดิจิทัลดูสมจริงจนแยกแยะได้ยาก ประเทศไทยเองก็เผชิญกับภัยคุกคามนี้เช่นกัน ข้อมูลจาก คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) พบว่ามีเหตุการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์เกิดขึ้นในประเทศไทยถึง 1,827 เหตุการณ์ ซึ่งไม่ได้จำกัดการโจมตีอยู่แค่ประชาชนทั่วไป แต่ยังรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศด้วย

ตรวจพบ ‘ภัยคุกคามบนเว็บ’ ในไทยมากกว่า 28,000 รายการต่อวัน

Loading

    สถิติโดย “แคสเปอร์สกี้” เผยว่า ปี 2024 ประเทศไทยพบภัยคุกคามบนเว็บมากกว่า 28,000 รายการต่อวัน อาชญากรไซเบอร์เปลี่ยนแปลงกลวิธีโจมตีเป็นการโจมตีที่ซับซ้อนมากขึ้น ทั้งยังมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายที่มีมูลค่าสูงอย่างเฉพาะเจาะจง     รายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ประจำปีล่าสุดสำหรับประเทศไทยปี 2024 โดย “แคสเปอร์สกี้” ระบุว่า ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามบนเว็บมากกว่า 10 ล้านรายการ โดยเฉลี่ยแล้วพบภัยคุกคามบนเว็บมากกว่า 28,000 รายการต่อวัน       แคสเปอร์สกี้ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามบนเว็บที่แตกต่างกันที่กำหนดเป้าหมายโจมตีผู้ใช้ในประเทศไทยจำนวน 10,267,403 รายการ   โดยเฉลี่ยแล้วพบภัยคุกคามจำนวน 28,130 รายการต่อวัน คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าปี 2023 ถึง 20.55% ซึ่งแคสเปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามโจมตีผู้ใช้ในประเทศไทยจำนวน 12,923,280 รายการ   สรุปโดยรวมแล้วผู้ใช้ในประเทศไทยจำนวน 24.40% ตกเป็นเป้าหมายของภัยคุกคามบนเว็บในปี 2024   แคสเปอร์สกี้พบด้วยว่าในช่วงสามปีที่ผ่านมานั้นตัวเลขภัยคุกคามบนเว็บของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2022 ซึ่งพบภัยคุกคามเว็บต่อผู้ใช้ชาวไทยจำนวน 17,295,702 รายการ    …