ดีอียกระดับ ‘แอปดูดเงิน’ เป็นภัยไซเบอร์ระดับร้ายแรง-ตร.เตือน 3 หลอกลวงโอนเงิน

Loading

กรณีที่มีกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงประชาชน โดยการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อขโมยเงิน หรือที่เรียกว่า แอปดูดเงิน (Mobile Banking Trojan) โดยใช้กระบวนการทางไซเบอร์ ทำให้สูญเสียเงินกว่า 2,600 ล้านบาท (สถิติระหว่างวันที่ 1 มี.ค.65 – 31 พ.ค.67) นับเป็นภัยไซเบอร์ระดับร้ายแรง แต่ปัจจุบันการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีความล่าช้า นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะประธานกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) จึงได้ประกาศยกระดับจัดให้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดจากแอปดูดเงิน เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง

สรุปผลดำเนินงาน รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปี 66 คาดปีนี้ Hacked Website ภัยคุกคามที่พบมาก

Loading

สรุปผลดำเนินงาน รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 1 ต.ค.65-30 ก.ย.66 แนวโน้มนปี 2567 Hacked Website ยังเป็นภัยคุกคามที่มีโอกาสพบเป็นจำนวนมาก

สกมช.ร่ายแผนงานป้องภัยไซเบอร์ ระบุปี’68 ถูกท้าทายจากภัยด้าน AI

Loading

  สกมช.เตรียม พร้อมยกระดับขีดความสามารถบุคลากร ผลักดันการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทย คาดปีหน้า AI จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กล่าวว่า ในปี 2568 สกมช. มีแผนการดำเนินงานที่ท้าทายเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ ในการขยายความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีแนวโน้มซับซ้อนและทวีความรุนแรงมากขึ้น   รวมถึงการระมัดระวังการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อใช้ในการตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว รวมทั้งยังมีภัยที่แฝงเข้ามาในลักษณะ AI ด้วย นอกจากนี้ สกมช.จะเร่งแผนงานด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในอนาคต พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้และความตระหนักรู้ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับประชาชนทุกช่วงวัยให้สามารถใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย   ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา สกมช. ได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นและตั้งใจในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เข้มแข็งและปลอดภัย ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565 – 2570) เพื่อสร้างขีดความสามารถในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ (บุคลากร องค์ความรู้ และเทคโนโลยี) การบูรณาการความร่วมมือเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือทางไซเบอร์ รวมถึงสร้างบริการภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศให้มีความมั่นคงปลอดภัย   เขา กล่าวว่า สกมช.ยังได้จัดทำกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์…

สกมช. จับมือ DGA ยกระดับป้องกันภัยทางไซเบอร์ ก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัลอย่างปลอดภัย

Loading

วันที่ 10 มิ.ย. 2567 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดย พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (DGA) โดย นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และยกระดับทักษะด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ทั้งในรูปแบบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และการเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์ e-learning รวมถึงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงสถานการณ์ที่เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ตลอดจนการดำเนินการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ร่วมกัน

“AI” ช่วยป้องกันภัยไซเบอร์ได้อย่างไร?

Loading

การมาของ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ไม่เพียงแต่ช่วยยกระดับการทำงานในหลายส่วน ยังสามารถนำมาช่วยยกระดับความปลออดภัยทางไซเบอร์ซีเคียวริตี้ได้ด้วย