กสทช.-สกมช. ลุยปัดฝุ่นศูนย์ USO NET สู่แหล่งการเรียนรู้ป้องภัยไซเบอร์

Loading

  สำนักงาน กสทช.-สกมช.หนุนมาตรการขจัดภัยไซเบอร์ชูศูนย์ USO NET เสริมสกิลให้ความรู้ประชาชน-นักเรียนในพื้นที่ห่างไกล เสริมเกราะป้องกันไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (22 เม.ย.) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ยกระดับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ และให้ความรู้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อเป็นการยกระดับทักษะทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ   นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. มีความตั้งใจในการผลักดันบริการโทรคมนาคมที่ครอบคลุมทั่วถึงในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีศักยภาพการแข่งขันเชิงพาณิชย์ต่ำหรือ พื้นที่ชายขอบและพื้นที่ห่างไกล เพื่อเป็นการลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมให้กับประชาชนทุกคน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และใช้เทคโนโลยีดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และเท่าทันภัยจากอาชญากรรมทางไซเบอร์   นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้มีความรู้ในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ   นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า…

‘แคสเปอร์สกี้’ แนะเคล็ดลับกันภัย ‘QR Codes’ มิจฉาชีพช่วงสงกรานต์

Loading

เคล็ดลับเบื้องต้น สำหรับการป้องกันตัวเองจาก ‘QR Code’ อีกหนึ่งเครื่องมือดิจิทัลที่เพิ่มความสะดวก แต่อาจแฝงมาด้วยอันตราย จากภัยคุกคามไซเบอร์ ที่เหล่ามิจฉาชีพใช้ขโมยข้อมูลส่วนบุคคล การเงิน หลอกให้ติดตั้งแอปปลอม

รมว.ดีอี เผย รัฐมุ่งหน้าพัฒนา Cloud First Policy ป้องกันข้อมูลรั่ว คาด ปี 68 จะสมบูรณ์

Loading

รัฐบาล เดินหน้า พัฒนาระบบ Cloud First Policy เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล คาด ปี 68 จะเสร็จสมบูรณ์ มั่นใจ เก็บข้อมูลปลอดภัยมากขึ้น

Whoscall เผย ปี 2566 คนไทยเป็นเหยื่อ SMS หลอกลวงมากที่สุดในเอเชีย

Loading

Whoscall เผย ปี 2566 คนไทยเป็นเหยื่อ SMS หลอกลวงมากที่สุดในเอเชีย มิจฉาชีพขยันหลอกมากขึ้น 12.2 ล้านครั้ง จากปีที่ผ่านมา คนไทยเสี่ยง ต้องรับสายโจร 20.8 ล้านครั้ง ข้อความหลอกลวง 58 ล้านครั้ง

ไทย-ออสเตรเลียร่วม แลกเปลี่ยนมุมมองด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

Loading

สกมช. ร่วม แลกเปลี่ยนมุมมองด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระหว่างไทยและออสเตรเลีย ในหัวข้อ “Exploring Australian Perspectives: Sharing Cybersecurity Experiences”

3 มุมมองความท้าทาย ’เอไอ‘ บนจุดตัดด้านจริยธรรม และธรรมาภิบาล

Loading

  การบังคับใช้กฎหมายด้านเอไอเพื่อให้มีจริยธรรม และธรรมาภิบาลเป็นความท้าทายใหม่ที่เข้ามาในทุกอุตสาหกรรม และการกำกับดูแลของภาครัฐว่าจะมีทิศทางอย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้รอบด้านทุกมิติ   ภายในงานเสวนา: AI Ethic: Trust & Transparency จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ”   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช.กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากของการใช้เอไอคือ สังคมมีความเป็นห่วงมากเกินไป ว่าเป็นดาบสองคม แต่ไม่รู้จักว่าจะใช้งานทางบวกอย่างไร และระวังเรื่องทางลบอย่างไร ด้านบวกหากไม่ใช่ ก็เปรียบเสมือนดาบทื่อ กลายเป็นไม่นำมาใช้ประโยชน์ใดๆ เลย   ส่วนเรื่องการออกกฎหมายนั้น เชื่อว่า เป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และ เป็นเรื่องของการบังคับใช้มาสเตอร์แพลน ที่ย่อมต้องตามมากับพัฒนาการ การใช้เอไอนั่นคือ การใช้งานอย่างมีจริยธรรม และมีกฎหมาย ต้องให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ควบคู่กับการพัฒนาคนให้ใช้งานอย่างมีจริยธรรม ต่อไปเมื่อมีการนำเอไอมาใช้ จะเชื่อได้อย่างไร ถ้าเอไอตอบคำถามผิด จะรู้หรือมีกลไกในการตรวจสอบอย่างไร เพราะการตรวจเอไอไม่ได้ง่ายเหมือนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่สามารถทดสอบออกมาได้ว่าโปรแกรมนี้ถูกหรือไม่   “เอไอขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ข้อมูลที่หลากหลายคำตอบที่ได้ จะดีที่สุดกับองค์กรของท่านหรือไม่ หรือดีในแง่ของจริยธรรมหรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างที่กฎหมายกำลังขับเคลื่อน เราต้องตอบตัวเองให้ได้ ว่าจะมีการจำกัดดูแลกลไกของมันได้อย่างไร”…