รมว.ดีอี เผย รัฐมุ่งหน้าพัฒนา Cloud First Policy ป้องกันข้อมูลรั่ว คาด ปี 68 จะสมบูรณ์
รัฐบาล เดินหน้า พัฒนาระบบ Cloud First Policy เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล คาด ปี 68 จะเสร็จสมบูรณ์ มั่นใจ เก็บข้อมูลปลอดภัยมากขึ้น
รัฐบาล เดินหน้า พัฒนาระบบ Cloud First Policy เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล คาด ปี 68 จะเสร็จสมบูรณ์ มั่นใจ เก็บข้อมูลปลอดภัยมากขึ้น
Whoscall เผย ปี 2566 คนไทยเป็นเหยื่อ SMS หลอกลวงมากที่สุดในเอเชีย มิจฉาชีพขยันหลอกมากขึ้น 12.2 ล้านครั้ง จากปีที่ผ่านมา คนไทยเสี่ยง ต้องรับสายโจร 20.8 ล้านครั้ง ข้อความหลอกลวง 58 ล้านครั้ง
สกมช. ร่วม แลกเปลี่ยนมุมมองด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระหว่างไทยและออสเตรเลีย ในหัวข้อ “Exploring Australian Perspectives: Sharing Cybersecurity Experiences”
การบังคับใช้กฎหมายด้านเอไอเพื่อให้มีจริยธรรม และธรรมาภิบาลเป็นความท้าทายใหม่ที่เข้ามาในทุกอุตสาหกรรม และการกำกับดูแลของภาครัฐว่าจะมีทิศทางอย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้รอบด้านทุกมิติ ภายในงานเสวนา: AI Ethic: Trust & Transparency จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ” พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช.กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากของการใช้เอไอคือ สังคมมีความเป็นห่วงมากเกินไป ว่าเป็นดาบสองคม แต่ไม่รู้จักว่าจะใช้งานทางบวกอย่างไร และระวังเรื่องทางลบอย่างไร ด้านบวกหากไม่ใช่ ก็เปรียบเสมือนดาบทื่อ กลายเป็นไม่นำมาใช้ประโยชน์ใดๆ เลย ส่วนเรื่องการออกกฎหมายนั้น เชื่อว่า เป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และ เป็นเรื่องของการบังคับใช้มาสเตอร์แพลน ที่ย่อมต้องตามมากับพัฒนาการ การใช้เอไอนั่นคือ การใช้งานอย่างมีจริยธรรม และมีกฎหมาย ต้องให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ควบคู่กับการพัฒนาคนให้ใช้งานอย่างมีจริยธรรม ต่อไปเมื่อมีการนำเอไอมาใช้ จะเชื่อได้อย่างไร ถ้าเอไอตอบคำถามผิด จะรู้หรือมีกลไกในการตรวจสอบอย่างไร เพราะการตรวจเอไอไม่ได้ง่ายเหมือนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่สามารถทดสอบออกมาได้ว่าโปรแกรมนี้ถูกหรือไม่ “เอไอขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ข้อมูลที่หลากหลายคำตอบที่ได้ จะดีที่สุดกับองค์กรของท่านหรือไม่ หรือดีในแง่ของจริยธรรมหรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างที่กฎหมายกำลังขับเคลื่อน เราต้องตอบตัวเองให้ได้ ว่าจะมีการจำกัดดูแลกลไกของมันได้อย่างไร”…
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC ระบุว่า PDPC เรียกกระทรวงสาธารณสุขเข้าชี้แจงด่วน กรณีแฮกเกอร์ประกาศขายข้อมูลหน่วยงานสาธารณสุข 2.2 ล้านรายชื่อ โดย PDPC ได้ให้ศูนย์เฝ้าระวังการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (PDPC Eagle Eye) หรือสำนักตรวจสอบและกำกับดูแล ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) และสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)
กระทรวงสาธารณสุข แจงข่าวแฮ็กเกอร์ประกาศขายข้อมูลหน่วยงานสาธารณสุข 2.2 ล้านรายชื่อ ตรวจสอบพบเป็นข้อมูลที่ใช้ทำธุรกรรมทั่วไป ไม่ใช่ข้อมูลด้านสุขภาพที่แสดงว่ามาจากกระทรวงสาธารณสุข พร้อมกำชับทุกโรงพยาบาลปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์และคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว