ความล่มสลายของซีเรียกับ“สงครามครั้งสุดท้าย”ของมวลมนุษยชาติ!!!

Loading

    ความล่มสลายของรัฐบาลประธานาธิบดี “Bashar al-Assad” แห่งซีเรีย…ว่าไปแล้วคงแทบไม่ต่างไปจากความพังพินาศของรัฐบาล “พันเอกMuhammar Gaddafi” แห่งลิเบียเมื่อช่วงก่อนหน้านี้ เพียงแต่โชคดีอยู่หน่อย…ที่ตัวประธานาธิบดี “Assad” ยังพอหลบรอดหนีไปลี้ภัยอยู่ที่รัสเซียจนได้ ไม่ถึงกับถูกเสียบ ถูกฆ่า อย่างสุดแสนทรมานอย่างผู้นำลิเบีย และไม่ได้เครื่องบินตกเพราะถูกยิง อย่างที่สำนักข่าวตะวันตก “รอยเตอร์-รอยตีน” ได้ออกข่าว “Fakes News” ไปเมื่อวัน-สองวันมานี้ จนทำให้โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย คุณน้อง “Maria Zakharova” เธอเลยอดไม่ได้ต้องออกมาตำหนิติติง แบบชนิดตรงไป-ตรงมา…   แต่เอาเป็นว่า…ความพ่ายแพ้ของประธานาธิบดี “al-Assad” นั้น คงไม่น่าจะมีอะไรมากไปกว่าความหมดใจ ถอดใจ หรือความเหนื่อยแล้ว ไม่เอาแล้ว!!! หลังจากที่ต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง แตกแยก ของผู้คนภายในประเทศ จนต้องเกิด “สงครามกลางเมือง” แบบยืดเยื้อ ยาวนานมากว่า 13 ปีเอาเลยถึงขั้นนั้น อีกทั้งโดยตัวของผู้นำซีเรียรายนี้ แต่แรกเริ่มเดิมทีท่านคงไม่คิดจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศที่ถูกฝ่ายตะวันตก “ขีดเส้นแผนที่” ให้ต้องขัดแย้งกับใครต่อใครมาโดยตลอด หรือตามแนวนโยบาย “แบ่งแยกและปกครอง” มาตั้งแต่แรกนั่นเอง คือท่านคิดจะหันไปเอาดีทางเป็นหมอ เป็นแพทย์ อะไรไปโน่น…

คาร์บอมบ์กลางตลาดซีเรีย เสียชีวิตอย่างน้อย 7 ราย

Loading

เมื่อช่วงเช้าวันที่ 31 มี.ค. ตามเวลาท้องถิ่นประเทศซีเรีย เกิดเหตุคาร์บอมบ์ในตลาดกลางเมืองอาซาซ จังหวัดอเลปโป ทางตอนเหนือของประเทศ ใกล้ชายแดนตุรกี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 7 ราย บาดเจ็บอีกหลายสิบคน

เกิดอะไรขึ้นที่เฮติ ประเทศใกล้ล่มสลาย? หลังแก๊งอาชญากรครองเมือง

Loading

‘เฮติ’ ประเทศเล็ก ๆ แถบทะเลแคริบเบียน ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากสหรัฐอเมริกาไม่ถึง 700 ไมล์ (ราว 1,120 กิโลเมตร) กำลังเผชิญกับปัญหาความไม่สงบทางการเมือง หลังจากแก๊งอาชญากรเดินหน้าใช้กำลังความรุนแรง พร้อมเรียกร้องให้ผู้นำ เฮติ ก้าวลงจากตำแหน่งและจัดการเลือกตั้ง เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางการเมือง

ล้วงลึกปั่นข่าวลวง ‘สงครามกลางเมือง’ ในเท็กซัส เป็นกระแสโซเชียลจีน

Loading

  ท่ามกลางความเห็นขัดแย้งระหว่างเท็กซัส กับทำเนียบขาวรุนแรงขึ้น ต่อปัญหาผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมาย ดูเรื่องราวจะไปกันใหญ่ เมื่อมือดีปล่อยข่าวลวงในจีนว่า เมืองโลนสตาร์ประกาศสงครามเป็นทางการ หวังแยกตัวจากสหรัฐ แล้วเรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับจีน   Key Points : •  มีผู้อพยพข้ามแดนผิดกฎหมายเข้ามายังสหรัฐ มากกว่า 6.3 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขสูงเป็นประวัติการณ์ และได้สร้างความขัดแย้งอย่างรุนแรง ระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดน และเกร็ก แอบบอตต์ ผู้ว่าการรัฐเท็กซัส •  กระแสในโซเชียลมีเดียจีน ระบุ แอบบอตต์กำลังตั้งตัวเป็นปรปักษ์ และวางแผนทำสงครามกับรัฐบาลกลางสหรัฐ •  สื่อจีนมักจะนำเสนอประเด็นความแตกแยกทางการเมืองของสหรัฐอยู่เป็นประจำ ประกอบกับโลกแบ่งขั้วกันมากขึ้น ยิ่งตอกย้ำความเชื่อว่า สหรัฐจวนเจียนเกิดความแตกแยกภายในประเทศ   ตอนนี้เหตุการณ์ในเท็กซัส กำลังนำไปสู่ความแตกแยกที่ฝั่งรากลึก จนจะไปถึงจุดสร้างความไม่สงบในสังคมสหรัฐ   นับตั้งแต่ต้นปี 2564 มีผู้อพยพข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายเข้ามายังสหรัฐ มากกว่า 6.3 ล้านคน ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ และได้สร้างความขัดแย้งที่รุนแรง ระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดน และเกร็ก แอบบอตต์ ผู้ว่าการรัฐเท็กซัส   ปฏิบัติการโลนสตาร์…

โจรสลัดโซมาเลียที่ก่อปัญหาวุ่นวายในอ่าวเอเดนร่วม 10 ปี จู่ ๆ ก็หายไป

Loading

โจรสลัดโซมาเลียเป็นกลุ่มคนอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งของประเทศที่มีความยาว 6,400 กิโลเมตร มีฐานปฏิบัติการอยู่ที่รัฐพุนต์แลนด์ซึ่งเป็นเขตปกครองตนเองทางตอนเหนือของโซมาเลีย โดยโจรสลัดเหล่านี้ได้ติดสินบน เจ้าหน้าที่เพื่อใช้ท่าเรืออายล์และท่าเรืออื่น ๆ เป็นฐานปฏิบัติการ รวมถึงนำเรือที่จับได้มาเก็บไว้ขณะที่รอเจรจาเรียกเงินค่าไถ่

ความเคลื่อนไหวใหม่ในพม่า กับโอกาสยุติสงครามกลางเมือง

Loading

  รัฐบาลใหม่ของประเทศไทยจะต้องเจอกับประเด็นเรื่องพม่าที่ต่อเนื่องมาจากรัฐบาลประยุทธ์ที่ผ่านมา   จึงจำเป็นจะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้แม่นว่าเราจะทำหน้าที่ประสานระหว่างอาเซียนกับผู้นำกองทัพพม่าและฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าอย่างไรจึงจะสามารถช่วยให้เกิดสันติภาพและความสงบสุขให้กับเพื่อนบ้านทางตะวันตกแห่งนี้ได้   คำประกาศของกองทัพพม่าเมื่อสัปดาห์ก่อนที่จะผ่อนผันโทษของอองซาน ซูจีลงจาก 19 ข้อหาเหลือ 14 ข้อหา   และลดโทษจากจำคุก 33 ปีเหลือ 27 ปีนั้นเป็นท่าทีที่จริงจังของพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่ายที่จะริเริ่มกระบวนการเจรจากับ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย” ในพม่าจริงหรือไม่   อาเซียนจะประชุมสุดยอดในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้   เชื่อกันว่าจะมีการ “ทบทวน” เนื้อหาของฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียนว่าด้วยวิกฤตพม่าเพื่อให้สอดคล้องกับ “ความเป็นจริงบนภาคพื้นดิน”   อาจจะหมายความว่าอาเซียนพร้อมจะลดความเข้มข้นของมาตรการที่จะไม่ร่วมสังฆกรรมกับระดับนำของพม่าจนกว่าจะมีความคืบหน้าในการทำตามฉันทามติ 5 ข้อนี้   หรืออาจจะนำไปสู่การเผชิญหน้าที่หนักขึ้นหรือไม่   อาเซียนเองก็มีท่าทีที่แตกต่างกันในกรณีนี้   อินโดนีเซียซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนอาเซียนปีนี้มีความแน่วแน่ในการที่จะกดดันให้รัฐบาลทหารพม่าต้องแสดงความคืบหน้าในการทำตาม 5 ข้อที่มิน อ่อง หล่ายไปร่วมประชุมและรับที่จะทำตาม   แต่ถึงวันนี้ก็ยังห่างไกลจากการนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม   อินโดฯ, มาเลซีย, สิงคโปร์กับฟิลิปปินส์โอนเอียงไปในทางเข้มเข้นกับทหารพม่า   ขณะที่เวียดนาม, กัมพูชา, ลาวและไทยมีท่าทีที่ผ่อนปรนมากกว่า  …