เตือนชาติเอเชียพร้อมรับมือ ‘สหรัฐ-อิหร่าน’ ก่อ ‘สงครามไซเบอร์’

Loading

โดย : KANYAPORN PHUAKVISUTHI ผู้เชี่ยวชาญเตือนบริษัทข้ามเสี่ยงได้รับความเสียหายจาก “สงครามไซเบอร์” ระหว่างสหรัฐกับอิหร่าน แม้การที่ฝ่ายอเมริกันสังหารนายพลระดับสูงของอิหร่าน จะไม่นำไปสู่ความขัดแย้งทางทหารอย่างเต็มรูปแบบก็ตาม นายเกร็ก ออสติน หัวหน้าฝ่ายโครงการความไซเบอร์ อวกาศ และความขัดแย้งในอนาคน สถาบันความมั่นคงศึกษาระหว่างประเทศ ในสิงคโปร์ กล่าวว่า แม้ในตอนนี้ ทั้งสหรัฐ และอิหร่านจะถอยคนละก้าวไม่มีการปฏิบัติการทางทหารเพิ่มเติม แต่บรรดาตลาดซื้อขายเงินดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน และซัพพลายเชนของบริษัทอเมริกัน และซาอุดีอาระเบีย ต่างมีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเป้าการโจมตีของกลุ่มแฮคเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน และต้องการที่จะจัดการทางอ้อมต่อการคว่ำบาตรของสหรัฐ และสร้างความวุ่นวายให้กับเครือข่ายของรัฐบาล และบริษัท “ชาวอิหร่านแสดงให้เห็นมาตั้งแต่ปี 2555 แล้วว่า พวกเขาสามารถมุ่งไปยังเป้าหมายที่มีมูลค่าสูงอย่างมากได้ ด้วยการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อก่อกวน ซึ่งการเผชิญหน้าในโลกไซเบอร์ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐ ที่มากอยู่แล้ว จะยิ่งเพิ่มความรุนแรงขึ้นไปอีก” ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บรรดาแฮคเกอร์อิหร่านต่างดำเนินการโจมตีเป้าหมายเอกชนในโอกาสต่างๆ จำนวนหนึ่ง โดยในปี 2555 กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “Cutting Sword of Justice” ได้ออกมาอ้างความรับผิดชอบในการโจมตีทางไซเบอร์ “ซาอุดี อาแรมโก” บริษัทน้ำมันแห่งชาติของซาอุดีอาระเบีย ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ราว 30,000 เครื่องใช้งานไม่ได้ และพนักงานของซาอุดี อาแรมโก…

แฮ็คเกอร์รัฐบาลเวียดนามโจมตีไทย ล้วงความลับทางธุรกิจยักษ์ใหญ่

Loading

สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่ากลุ่มแฮ็คเกอร์ชาวเวียดนามกำลังเรียนรู้ยุทธศาสตร์การทำสงครามไซเบอร์แบบเดียวกับที่จีนทำ โดยใช้การโจมตีทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนมากขึ้น เพื่อสอดแนมคู่แข่งและช่วยให้เวียดนามสามารถไล่ตามคู่แข่งทั่วโลกได้ บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ CrowdStrike Inc. เผยว่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมา มีกลุ่มแฮ็คเกอร์ที่คาดมีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลเวียดนามและรู้จักกันในชื่อ APT32 ได้ทำการจารกรรมไซเบอร์มากขึ้นโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการขโมยทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นพฤติกรรมในลักษณะเดียวกันกับที่แฮ็คเกอร์ชาวจีนทำกันอยู่ จากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญหลายรายระบุว่า อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นเป้าหมายสำคัญของ APT32 นักวิจัยที่จับตาเรื่องนี้อยู่แต่ไม่ขอเปิดเผยชื่อระบุว่ากลุ่ม APT32 สร้างโดเมนปลอมของ Toyota Motor Corp และ Hyundai Motor Co. เพื่อพยายามแทรกซึมเครือข่ายของผู้ผลิตรถยนต์ ในเดือนมีนาคมโตโยต้าค้นพบว่าบริษัทสาขาในเวียดนามและไทยตกเป็นเป้าหมาย รวมถึงบริษัทสาขาในญี่ปุ่นคือ Toyota Tokyo Sales Holdings Inc ในเรื่องนี้โฆษกของบริษัทคือไบรอัน ลีออนส์เป็นผู้เปิดเผย และยังมีพนักงานของโตโยต้าอีกคนหนึ่ง (ซึ่งร้องขอไม่ให้เปิดเผยตัวตน) ยืนยันว่ากลุ่มแฮ็ค APT32 เป็นผู้ลงมือ เวียดนามยังมุ่งเป้าไปที่ธุรกิจอเมริกันที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของเวียดนาม รวมถึงอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นเวลาหลายปีจากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญแอนดรูว์ กร็อตโต แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการอาวุโสด้านนโยบายความมั่นคงทางไซเบอร์ของสภาความมั่นคงแห่งชาติตั้งแต่ปลายปี 2558 ถึงกลางปี 2560 เขากล่าวว่า มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ในด้านการคุกคามทางไซเบอร์และผู้ที่เข้ามามีบทบาทในกิจกรรมนี้ยังเก่งขึ้นเรื่อยๆ กร็อตโต ยังกล่าวว่า…

การก่อวินาศกรรมทางไซเบอร์

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ กิจกรรมค้นการข่าวกรองได้ปรับเปลี่ยนไปมากเมื่อเทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสาร หรือ ไอ.ที่.ก้าวหน้ามากขึ้น แม้วัตถุประสงค์คงเดิม แต่วิธีการได้ปลี่ยนไป บางอย่างง่ายขึ้น สะดวกสบายมากขึ้นแต่ก็ซับซ้อนมากขึ้น นอกจาก “ข่าวกรองทางไซเบอร์” ที่นำเสนอไปแล้ววันนี้ จะเขียนถึงการก่อวินาศกรรมทางไซเบอร์ที่ทำลายเป้าหมายได้กว้างขวางและรุนแรงกว่า การก่อวินาศกรรมทางไซเบอร์ หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ทำลาย ขัดขวางทำให้เสียหายต่อระบบ เครื่องจักร ที่มีเทคโนโลยีสูงคำว่า การก่อวินาศกรรม มาจากภาษาอังกฤษSabotage โดยพัฒนาจากคำว่า subot ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่ารองเท้าไม้ ที่กรรมกรฝรั่งเศสไม่พอใจนายจ้าง จึงเอารองเท้าไม้ใส่เข้าไปในเกียร์เครื่องจักร ทำให้เครื่องจักรหยุดทำงาน กระบวนการผลิตชะงัก เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ต่อมาการก่อวินาศกรรมได้พัฒนาวิธีการให้ทันสมัยขึ้น โดยมีเป้าหมายคือการบ่อนทำลายทางการเมืองต่อเสถียรภาพของรัฐบาล และความมั่นคงของประเทศ ย้อนหลังไปเมื่อปี 2510 คนที่ถูกฝึกให้เป็นนักก่อวินาศกรรม หรือ วินาศกร ต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจและมีชีวิตอยู่กับ “ระเบิดแรงสูง” หลายคนบาดเจ็บ เสียชีวิตระหว่างการฝึกก็มี วินาศกรทุกคนจะต้องมี “เซฟตี้ พิน” ติดตัวไว้จนเป็นนิสัย นักเรียนจะถูกฝึกให้รู้จักระเบิดและความรุนแรงของระเบิดชนิดต่างๆ ในการใช้ทำลายเป้าหมายบุคคลและสถานที่ รู้จักจุดอ่อนของเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ อาทิโรงกลั่นน้ำมัน โรงไฟฟ้า โรงกรองน้ำประปา สะพาน ฯลฯ…

กูรูไซเบอร์ชี้ “สิงคโปร์” ถูกแฮกฐานข้อมูลสุขภาพครั้งใหญ่อาจเป็นฝีมือ “รบ.ต่างชาติ”

Loading

  เอเอฟพี – ผู้เชี่ยวชาญเผยการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นในสิงคโปร์ ซึ่งทำให้ประวัติการรักษาโรคของประชาชนกว่า 1.5 ล้านคนถูกขโมย น่าจะเป็นฝีมือผู้ก่อการระดับรัฐ (state actors) เมื่อพิจารณาจากขนาดและความซับซ้อนในการเจาะข้อมูล รัฐบาลสิงคโปร์ออกมาแถลงยอมรับเมื่อวานนี้ (20 ก.ค.) ว่า กลุ่มแฮกเกอร์ได้โจมตีฐานข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข และเข้าถึงประวัติการรักษาโรคของชาวสิงคโปร์ราว 1.5 ล้านคน รวมถึงนายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง ซึ่งตกเป็นเป้าหมายแบบ ‘เฉพาะเจาะจง’ ของคนร้ายกลุ่มนี้ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ ระบุว่า การโจมตีครั้งนี้ “ผ่านการวางแผนมาอย่างรัดกุม และมีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่ใช่แฮกเกอร์มือสมัครเล่นหรือแก๊งอาชญากรทั่วๆ ไป” เจ้าหน้าที่สิงคโปร์ยังปฏิเสธที่จะระบุตัวตนของแฮกเกอร์กลุ่มนี้ โดยอ้าง ‘ปฏิบัติการด้านความมั่นคง’ แต่ผู้เชี่ยวชาญไซเบอร์ให้ความเห็นว่า รูปแบบการโจมตีที่สลับซับซ้อนและเน้นเป้าหมายระดับไฮโปรไฟล์อย่างนายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง บ่งชี้ว่า น่าจะเป็นฝีมือ ‘ผู้ก่อการระดับรัฐ’ อีริค โฮห์ (Eric Hoh) ประธานประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ของบริษัทความมั่นคงไซเบอร์ FireEye เผยกับสำนักข่าวแชนแนลนิวส์เอเชีย ว่า การโจมตีครั้งนี้ถือเป็น “ภัยคุกคามที่ก้าวหน้า” “ลักษณะการโจมตีบ่งชี้ว่าเป็นการกระทำโดยรัฐ และใช้เครื่องมือที่ทันสมัยมาก… พวกเขามีทั้งทรัพยากร แหล่งทุน…