Vladimir Putin ชี้ ผู้นำเทคโนโลยี AI จะได้ควบคุมโลกใบนี้

Loading

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Vladimir Putin ประธานาธิบดีแห่งรัสเซียได้ออกมากล่าวกับเหล่านักเรียน ณ กรุงมอสโควถึงความสำคัญของเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) ว่าผู้ที่เป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ จะได้กลายเป็นผู้ที่ครอบครองโลก Credit: www.kremlin.ru   Putin ยังได้เสริมอีกด้วยว่าการที่มีใครคนใดคนหนึ่งถือครองและเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี AI แต่เพียงผู้เดียวนี้คงเป็นภาพที่ไม่ดี อย่างไรก็ดี AI นี้ก็ถือเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคามขนาดใหญ่ในเวลาเดียวกัน โดยทาง Putin ยังได้สัญญาด้วยว่ารัสเซียจะแบ่งปันเทคโนโลยีทางด้าน AI กับประเทศอื่นๆ ด้วยอย่างแน่นอน สำหรับในอนาคต สงครามเองนั้นก็อาจเปลี่ยนรูปแบบไปเหมือนกัน โดย Putin ได้คาดคะเนเอาไว้ว่าในอนาคตสงครามจะเกิดขึ้นจากการรบด้วย Drone ติดอาวุธ และฝ่ายที่ Drone ถูกทำลายจนไม่สามารถรบต่อได้นั้นก็จะถูกบังคับให้ต้องยอมแพ้ไปอย่างไม่มีทางเลือก ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าทางรัสเซียจะแบ่งปันเทคโนโลยีอะไรออกมาสู่สาธารณะบ้าง และทิศทางของ AI ในการนำไปใช้ทั้งในการพัฒนาประเทศและป้องกันประเทศจะเป็นอย่างไรกันต่อไป ที่มา : techtalkthai ลิงค์ : https://www.techtalkthai.com/vladimir-putin-says-ai-leader-will-dominate-the-world/

WikiLeaks ถูกโจมตี เปลี่ยนหน้าเว็บโดย OurMine

Loading

OurMine กลุ่มแฮ็คเกอร์มือพระกาฬที่มีประวัติการแฮ็คบัญชีโซเชียวของคนดังมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Mark Zuckerberg (Facebook CEO), Jack Dorsey (Twitter CEO), Sunda Pichai (Google CEO), Game of Thrones และ Play Station Network ของ Sony ล่าสุดเว็บไซต์จอมแฉอย่าง WikiLeaks ตกเป็นเหยื่อแล้ว WikiLeaks กลับมาคึกคักอีกครั้งในช่วงเดือนมีนาคมจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากได้ทยอยเปิดเผยเครื่องมือแฮ็คที่อ้างว่าเป็นของที่ CIA เคยใช้ภายใต้ซีรี่ย์ที่ชื่อว่า Vault 7 ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแฮ็คอุปกรณ์พกพาหลากหลายรุน คอมพิวเตอร์หลายแพลตฟอร์ม กล้อง CCTV ระบบ Air-gapped Computer และอื่นๆ ล่าสุด WikiLeaks ถูกโจมตีโดยกลุ่มแฮ็คเกอร์ OurMine ซึ่งได้เปลี่ยนหน้าเว็บไปยังเว็บไซต์ของแฮ็คเกอร์ อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่าเซิร์ฟเวอร์และเว็บไซต์ของ WikiLeaks ไม่ได้ถูกแฮ็คแต่อย่างใด OurMine ใช้เทคนิคการโจมตีแบบ DNS Poisoning…

รหัสผ่านอุปกรณ์ IoT กว่า 8,000 เครื่องถูกโพสต์บนอินเทอร์เน็ต ตรวจสอบก่อนถูกแฮก

Loading

ปัญหาความมั่นคงปลอดภัยของอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ (Internet of Things) ไม่ว่าจะเป็น กล้องวงจรปิด หลอดไฟ หรือเครื่องปรับอากาศ นั้นเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายมีความกังวล ส่วนหนึ่งเพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีลักษณะเป็นเหมือนคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง หากมีการติดตั้งหรือตั้งค่าอย่างไม่มีความปลอดภัยเพียงพอก็อาจถูกเจาะระบบควบคุมมาใช้สร้างความเสียหายได้ อย่างเช่นกรณีการ DDoS โดยมัลแวร์ Mirai ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2559 (อ่านเพิ่มเติมได้จากบทความของไทยเซิร์ต  https://www.thaicert.or.th/papers/general/2016/pa2016ge001.html หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้ถูกแฮกคือมีการใช้รหัสผ่านที่สามารถคาดเดาได้ง่าย หรือซ้ำร้ายกว่านั้นคือการใช้รหัสผ่านเริ่มต้นที่ถูกตั้งค่ามาตั้งแต่โรงงาน (เช่น admin/admin หรือ admin/12345) นั้นทำให้หากมีผู้ที่ล่วงรู้ที่อยู่ไอพี หรือช่องทางการเชื่อมต่อเข้าไปควบคุมอุปกรณ์ดังกล่าว ก็สามารถได้สิทธิ์ทุกอย่างในการดำเนินการกับอุปกรณ์นั้นทันที เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2560 นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก GDI Foundation ได้รายงานว่า พบการโพสต์ข้อมูลที่อยู่ไอพี ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านของอุปกรณ์ IoT กว่า 8,000 เครื่องในเว็บไซต์ Pastebin โดยโพสต์ดังกล่าวนี้มีขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 และมีการอัปเดตข้อมูลเรื่อยๆ แต่หลังจากที่นักวิจัยได้แจ้งเรื่องนี้ โพสต์ดังกล่าวก็ถูกนำออกจากเว็บไซต์ Pastebin ในรายการอุปกรณ์กว่า 8,000 เครื่อง นักวิจัยพบว่ามีประมาณ 2,000…

Google ประกาศค่า Routing ผิด ทำ Network ในญี่ปุ่นล่มไปเกือบ 40 นาที

Loading

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เกิดเหตุระบบ Network ทั่วญี่ปุ่นมีปัญหาอยู่ประมาณ 40 นาที ตั้งแต่ตอน 12.22 ถึง 13.01 ตามเวลาท้องถิ่น เนื่องจาก Google ตั้งค่าของ BGP ผิด และเกิดปัญหา BGP Route Hijack ขึ้นกับ IP Address ของบริการจำนวนมากในญี่ปุ่นโดยไม่ตั้งใจ ทาง Google นั้นได้ประกาศ IP Blocks ผิด โดยไปประกาศ IP Address วงที่เป็นของบริการในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงวงของ NTT Communications ที่ให้บริการลูกค้าจำนวนมากในญี่ปุ่น ทำให้ Traffic จำนวนมากที่มีปลายทางไปยัง Server ในญี่ปุ่นนั้นถูกส่งต่อไปยัง Google แทน และมีบริการจำนวนมากทั้งของธนาคาร, รัฐบาล และเอกชนที่ไม่สามารถเข้าถึงได้จากเหตุการณ์นี้ ซึ่งทาง Google เองก็ได้รีบแก้ไขปัญหานี้ภายในเวลาเพียง 8 นาทีที่เกิดเหตุเท่านั้น แต่ระบบเครือข่ายก็ต้องใช้เวลากว่าจะกลับมาสู่สภาวะปกติ และทาง…

เทคโนโลยีเรือเดินสมุทรสุดล้ำสมัย แต่ทำไมยังชนกันได้ ?

Loading

  เหตุการณ์ที่เรือพิฆาตยูเอสเอส จอห์น แม็คเคน (USS John McCain) เกิดชนเข้ากับเรือบรรทุกน้ำมันลำหนึ่งที่นอกชายฝั่งประเทศสิงคโปร์ จนทำให้ทหารเรือสูญหายถึง 10 รายนั้น กลายเป็นชนวนเหตุให้กองทัพเรือสหรัฐฯสั่งระงับปฏิบัติการของกองเรือทั่วโลก และสั่งปลดผู้บัญชาการกองเรือประจำภูมิภาคเอเชียคนสำคัญ เพราะอุบัติเหตุที่ไม่ธรรมดานี้เกิดขึ้นกับเรือรบสหรัฐฯ เป็นครั้งที่ 4 แล้วในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว เรือดำน้ำลำหนึ่งของกองทัพเรือสหรัฐฯเกิดชนเข้ากับเรือสนับสนุนปฏิบัติการนอกชายฝั่ง และในเดือนพฤษภาคมของปีนี้ เรือลาดตระเวนติดขีปนาวุธนำวิถีก็เกิดชนเข้ากับเรือประมงเกาหลีใต้ ตามมาด้วยเหตุเรือพิฆาตสองลำคือเรือยูเอสเอส ฟิตซ์เจอรัลด์ ชนเข้ากับเรือบรรทุกสินค้าของญี่ปุ่นที่น่านน้ำใกล้เมืองท่าโยโกสึกะเมื่อเดือนมิถุนายน และเหตุเรือยูเอสเอส จอห์น แม็คเคน ชนเข้ากับเรือบรรทุกน้ำมันขณะเตรียมเข้าเทียบท่าที่สิงคโปร์เมื่อวันจันทร์ (21 ส.ค.) ที่ผ่านมา ทัพเรือสหรัฐฯ สั่งระงับปฏิบัติการทั่วโลก หลังเกิดเหตุชนบ่อย เรือรบสหรัฐฯ ชนซ้ำในรอบ 2 เดือน ลูกเรือหาย 10 เรือพิฆาตสหรัฐฯชนเรือบรรทุกสินค้านอกฝั่งญี่ปุ่น กองทัพสหรัฐฯ มีคำสั่งปลดพลเรือโทโจเซฟ ออคอยน์ ผู้บัญชาการกองเรือที่ 7 ซึ่งควบคุมปฏิบัติการทางทะเลในภูมิภาคเอเชียเป็นส่วนใหญ่ เพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อเหตุที่เกิดขึ้น และในระหว่างนี้ก็ประกาศจะเร่งสืบสวนหาสาเหตุที่ทำให้เรือรบประสบอุบัติเหตุซ้ำซ้อนได้หลายครั้งอย่างเหลือเชื่อ   นายปีเตอร์ โรเบิร์ตส์ ผู้เชี่ยวชาญจากราชสถาบันรวมเหล่าทัพเพื่อการศึกษาความมั่นคงและการป้องกันประเทศ…

แฮกเกอร์ ล้วงข้อมูลอุตสาหกรรมเดินเรืออย่างไร

Loading

การเจาะระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบริษัทเดินเรือ อาจเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์ เข้าถึงข้อมูลที่อ่อนไหวได้หลากหลาย   ตอนที่พนักงานของบริษัท CyerKeel เข้าไปตรวจสอบอีเมลสื่อสารของบริษัทเดินเรือขนาดกลางแห่งหนึ่งก็ต้องพบกับความประหลาดใจ เพราะข้อมูลที่ได้นั้นไม่ธรรมดาเลย นายลาร์ส เจนเซน ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท CyberKeel เล่าว่าสิ่งที่พบจากการตรวจสอบข้อมูลการรับส่งอีเมล์ของบริษัทเดินเรือแห่งนี้ก็คือ “มีคนเจาะเข้าไปในระบบของบริษัท และฝังไวรัสขนาดเล็กเอาไว้ เพื่อล้วงข้อมูลที่ส่งเข้าและออกจากแผนกบัญชี” มัลแวร์เรียกค่าไถ่ลามถึงอินเดีย มัลแวร์เรียกค่าไถ่โจมตี 99 ประเทศทั่วโลก ส่องเทคโนโลยีปี 2560 : ธนาคารใหญ่จะพ่ายโจรไซเบอร์ ทุกครั้งที่บริษัทส่งน้ำมันส่งอีเมล์มาเรียกเก็บเงินจากบริษัทเดินเรือ ไวรัสจะเข้าไปเปลี่ยนตัวหนังสือในข้อความ ก่อนที่ทางบริษัทเดินเรือจะเปิดอีเมล์นั้น ๆ โดยจะใส่หมายเลขบัญชีใหม่เข้าไป ทำให้ “เงินหลายล้านดอลลาร์” ถูกโอนเข้าบัญชีของแฮกเกอร์ หลังเกิดการโจมตีทางไซเบอร์จากมัลแวร์ NotPetya เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา บริษัทเดินเรือขนาดใหญ่หลายราย รวมถึง Maersk ได้รับผลกระทบอย่างหนัก และทางบริษัทเพิ่งเปิดเผยในสัปดาห์นี้ว่าอาจทำให้ต้องขาดทุนกำไรถึง 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1 หมื่นล้านบาท) นายเจนเซน มองว่าอุตสาหกรรมผู้ให้บริการขนส่งทางเรือ จำเป็นต้องมีมาตรการที่ดีกว่านี้ในการปกป้องระบบของตนจากการถูกล้วงข้อมูล โดยเขาและนายมอร์เทน เชนค์ อดีตนายทหารในกองทัพเดนมาร์ก ซึ่งเขายกให้ว่า “เป็นคนที่แฮกได้แทบจะทุกอย่าง” ร่วมกันก่อตั้งบริษัทให้บริการตรวจสอบความปลอดภัยในด้านนี้ให้กับบริษัทเดินเรือ แต่วิธีการที่พวกเขาเสนอนั้นคือการทดสอบความปลอดภัยด้วยการเจาะเข้าไประบบ Maersk…