‘ดีอี’ คิฟออฟเอ็มโอยูสภาผู้แทนฯ หนุนใช้คลาวด์กลางภาครัฐแล้ว

Loading

วันนี้ (28 มิถุนายน 2567) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี และนายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง “การสนับสนุนบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ” (Government Data Center and Cloud Service : GDCC) ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และว่าที่ร้อยตำรวจตรีอาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนาม พร้อมด้วยนายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สดช.

บอร์ดดีอีไฟเขียวร่างยุทธศาสตร์ ‘ข้อมูลชาติ’ เชื่อมข้อมูลรัฐผ่าน ‘คลาวด์’

Loading

สดช.เคลื่อนยุทธศาสตร์ข้อมูลของประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “รัฐบาลยุคดิจิทัล เคลื่อนไทยด้วยยุทธศาสตร์ข้อมูล” เดินหน้าพัฒนาระบบข้อมูลภาครัฐ ดึงเอกชนเชื่อมโยงดาต้ายึดหลักความปลอดภัยข้อมูล มุ่งตอบโจทย์ผู้ใช้งาน และการใช้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ

บอร์ดดีอีไฟเขียวร่างยุทธศาสตร์ ‘ข้อมูลชาติ’ เชื่อมข้อมูลรัฐผ่าน ‘คลาวด์’

Loading

สดช.เคลื่อนยุทธศาสตร์ข้อมูลของประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “รัฐบาลยุคดิจิทัล เคลื่อนไทยด้วยยุทธศาสตร์ข้อมูล” เดินหน้าพัฒนาระบบข้อมูลภาครัฐ ดึงเอกชนเชื่อมโยงดาต้ายึดหลักความปลอดภัยข้อมูล มุ่งตอบโจทย์ผู้ใช้งาน และการใช้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ

สดช.จ่อกำหนดราคากลางเปิดเสรีภาครัฐใช้คลาวด์เอกชน

Loading

สดช.เตรียมกำหนดราคากลางคลาวด์ 4 ประเภท เปิดทางภาครัฐใช้บริการเอกชน เสนอบอร์ดดีอีก่อนเข้าครม.อนุมัติ ตามแนวทาง ‘Go Cloud First’ ของรมว.ดีอีเอสคนใหม่ พร้อมเปิดนโยบายปี 2567 เดินหน้า 7 โครงการหลักสนองยุทธศาสตร์ 3 ด้านตั้งเป้าพัฒนาพลเมืองและสังคมดิจิทัล

“สดช.”เร่งรับรองอีก 70 หลักสูตร พัฒนาทักษะดิจิทัลให้บุคลากรรัฐ

Loading

  ตั้งเป้าหมายรับรองหลักสูตรการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ให้ได้ 70 หลักสูตรในปีนี้ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม   นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) เปิดเผยว่า สดช .ได้เร่งกำหนดมาตรฐานของหลักสูตรการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ให้ได้  70 หลักสูตรในปีนี้ หลังจากที่ผ่านมารับรองไปแล้ว 104 หลักสูตร ซึ่งครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย  6 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการกอง ผู้ทำงานด้านนโยบายและวิชาการ ผู้ทำงานด้านบริการ ผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยี และผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นกลไกการติดตามและประเมินผล การดำเนินงานอย่างเป็นระบบ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นที่ยอมรับในสาขาที่เกี่ยวข้อง   สำหรับการดำเนินงานในปีนี้มุ่งเน้นหลักสูตรที่มีเนื้อหาหรือเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะดิจิทัลสำคัญ ได้แก่ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ การเขียนโปรแกรม ความเข้าใจใน เทคโนโลยีดิจิทัลล้ำสมัย ความเข้าใจในสถาปัตยกรรมองค์กร การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอข้อมูล รวมถึงหลักสูตรที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบกระบวนการทำงานและการให้บริการ การวางแผนกลยุทธ์ด้านดิจิทัล การบริหารจัดการโครงการ ความสามารถด้านผู้นำด้านดิจิทัล การพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในองค์กร การปรับเปลี่ยนทัศนคติด้านดิจิทัล ความเข้าใจในเทคโนโลยีคลาวด์ และฐานข้อมูล   จึงเชิญหน่วยงานและสถาบันอบรมต่าง ๆ ตลอดจนผู้พัฒนาหลักสูตรที่มีเนื้อหาด้านดิจิทัล เข้ามาขอยื่นรับรองหลักสูตรฯ กับ สดช.     นายภุชพงค์ กล่าวต่อว่า ผลการดำเนินโครงการนี้จะช่วยให้เกิดระบบการรับรองหลักสูตรและฐานข้อมูลหลักสูตร ด้านดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งหน่วยงานภาครัฐสามารถสืบค้นและพิจารณาก่อนวางแผนการพัฒนาให้กับข้าราชการ และบุคลากรให้ได้รับการอบรม พัฒนาทักษะและสมรรถนะด้านดิจิทัลที่เหมาะสม ได้รับมาตรฐาน และการรับรอง จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ และ สามารถนำทักษะและสมรรถนะที่ได้รับ การพัฒนาไปใช้กับการปฏิบัติราชการ รวมถึงการให้บริการแก่ทุกภาคส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :             …

ปั้นแผน “คลาวด์รัฐ” วางงบ 2,200 ล้านบาท

Loading

  สดช.ลุยจัดระเบียบพื้นที่จีดีซีซี ระบุหน่วยงานรัฐใดไม่เคยใช้งานนาน 3 เดือน ต้องถูกเวนคืน หลังปูทางให้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมชงของบครม.กว่า 2,200 ล้านบาทต่อปี   นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) เปิดเผยว่า แผนงานโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ หรือ จีดีซีซี ปี 2566-2568 ได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) ไปแล้ว โดยจะให้บริการกับหน่วยงานรัฐประมาณ 25,000 วีเอ็ม ใช้งบประมาณปีละ 2,200 ล้านบาท แต่ทางสำนักฯ งบประมาณ ได้จัดสรรให้เพียงครึ่งเดียว หรือประมาณ 1,100 ล้านบาท   จึงได้ของบประมาณจากทางกองทุนดีอีสนับสนุนงบอีก 700 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีหน่วยงานรัฐแจ้งความต้องการใช้งานเข้ามาถึง 40,000 วีเอ็ม ขณะที่ปัจจุบันโครงการฯ สามารถรองรับได้ประมาณ 30,000 วีเอ็ม เท่านั้น   “ แม้จะมีหน่วยงานรัฐต้องการใช้มาก แต่ สดช.จะมีการสำรวจการใช้งานว่า หน่วยงานที่ขอหรือจองพื้นที่ไว้ แต่ไม่ใช่เคยใช้ในระยะ…