ตำรวจญี่ปุ่นเข้าตรวจค้นสถานีตำรวจลับจีนกลางกรุงโตเกียว
เกียวโดนิวส์ (22 ก.พ.) รายงานว่า เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ตำรวจโตเกียวเคยตรวจค้นสถานที่ตั้งตำรวจโพ้นทะเลของจีนที่ใช้ติดตามกิจกรรมของพลเมืองของตน
เกียวโดนิวส์ (22 ก.พ.) รายงานว่า เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ตำรวจโตเกียวเคยตรวจค้นสถานที่ตั้งตำรวจโพ้นทะเลของจีนที่ใช้ติดตามกิจกรรมของพลเมืองของตน
เครดิตภาพ : AFP รัฐบาลสหราชอาณาจักร มีคำสั่งให้จีน ปิดสถานที่ทุกแห่ง ซึ่งแอบเปิดดำเนินการในรูปแบบของ “สถานีตำรวจลับ” สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ว่า กระทรวงความปลอดภัยของสหราชอาณาจักรออกแถลงการณ์ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ว่าได้มีการแจ้งเรื่องอย่างเป็นทางการ ไปยังสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำกรุงลอนดอน ขอให้ยุติการดำเนินการทั้งหมดในรูปแบบของ “สถานีตำรวจนอกอาณาเขต” บนแผ่นดินของสหราชอาณาจักร China has closed unofficial ‘police stations’ in Britain, UK minister says https://t.co/YuUzBl0d02 — The Guardian (@guardian) June 7, 2023 ทั้งนี้ แถลงการณ์ของรัฐบาลสหราชอาณาจักรระบุด้วยว่า สถานเอกอัครราชทูตจีนส่งหนังสือตอบกลับว่า “สถานที่เหล่านั้นปิดดำเนินการถาวรแล้ว” โดยไม่มีการให้รายละเอียดเพิ่มเติม ทว่าต่อมา สถานเอกอัครราชทูตจีนออกแถลงการณ์ ปฏิเสธรายงานทั้งหมด ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้น หลังตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา…
จีนปฏิเสธคำอ้างของเอฟบีไอ ที่ระบุว่ากำลังดำเนินการ ‘สถานีตำรวจ’ ในดินแดนของสหรัฐฯ โดยระบุว่า เป็นการทำงานแบบอาสาสมัคร หลังจากที่ผู้อำนวยการเอฟบีไอได้กล่าวว่าเขา “กังวลอย่างมาก” เกี่ยวกับสำนักงานที่ไม่ได้รับอนุญาตซึ่งดำเนินงานภายใต้อิทธิพลของกรุงปักกิ่ง ก่อนหน้านี้ ในเดือนกันยายน องค์กรพิทักษ์สิทธิมนุษยชนที่ตั้งอยู่ในยุโรปได้เผยแพร่รายงานที่เปิดเผยถึงการมี’สถานีบริการ’ ของตำรวจจีนหลายสิบแห่งในเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก รวมถึงนิวยอร์กด้วย คริสโตเฟอร์ เรย์ ผู้อำนวยการเอฟบีไอ เข้าให้การกับวุฒิสภาเมื่อวันพฤหัสบดีว่ามันเป็น “ความเดือดดาล” ที่รัฐบาลจีนจะพยายามจัดตั้งสถานีตำรวจในสหรัฐอเมริกา โดยกล่าวว่า นี่เป็นการละเมิดอธิปไตยและหลีกเลี่ยงกระบวนการความร่วมมือด้านการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายมาตรฐาน ด้านสถานเอกอัครราชทูตจีนในวอชิงตันยอมรับว่ามีสถานที่ดำเนินการอาสาสมัครในสหรัฐอเมริกา แต่กล่าวว่าพวกเขาไม่ได้เป็น “สถานีตำรวจ” หรือ “ศูนย์บริการตำรวจ” ‘พวกเขาให้การช่วยเหลือชาวจีนโพ้นทะเลในการเข้าถึงแพลตฟอร์มบริการออนไลน์ต่างๆ เช่นต่ออายุใบอนุญาตขับขี่ หรือเพื่อขอรับการตรวจร่างกาย’ หลิว เพิงยู โฆษกสถานเอกอัครราชทูตกล่าวทางอีเมลไปยังรอยเตอร์เมื่อวันศุกร์ ‘พวกเขาไม่ใช่เจ้าหน้าที่ตำรวจจากประเทศจีน ฝ่ายสหรัฐควรหยุดการสะกดจิตอย่างไร้เหตุผลของปัญหานี้’ โดยเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศของจีนได้กล่าวเช่นเดียวกันเกี่ยวกับสถานที่ในเนเธอร์แลนด์หลังจากที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์สั่งให้ปิดกิจการและเข้าตรวจสอบกิจกรรมของพวกเขา ขณะที่สมาชิกของรัฐสภาอังกฤษได้เรียกร้องให้มีการตรวจสอบสถานที่คล้าย ๆ กัน พรรครีพับลิกันในสภาคองเกรสสหรัฐ ได้ขอคำตอบจากรัฐบาลไบเดนเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานที่ดังกล่าว นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิกล่าวว่าสถานที่เหล่านี้เป็นส่วนขยายของความพยายามของกรุงปักกิ่งที่จะกดดันชาวจีนหรือญาติของพวกเขาในต่างประเทศให้กลับไปยังประเทศจีน…
รอยเตอร์/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ – ตำรวจเยอรมันยืนยันล่าสุดว่า อยู่ระหว่างการสอบรายงานเอ็นจีโอสเปนที่อ้างว่า ปักกิ่งแอบเปิดสำนักงานตำรวจลับจีนในแฟรงก์เฟิร์ตเพื่อล่าตัวชาวจีนในต่างแดนส่งกลับประเทศ พบเปิดอย่างแพร่หลายในยุโรป พบไอร์แลนด์สั่งปักกิ่งให้ปิดด่วน “สถานีตำรวจต่างประเทศฝูโจว” บนถนนคาเพล ส่วนสกอตแลนด์ แคนาดา และเนเธอร์แลนด์เปิดสอบสวน นักเคลื่อนไหวรณรงค์สิทธิให้สตรีจีนชื่อดัง ซางจิง (Zhang Jing) ตั้งคำถามเมื่อไหร่สหรัฐฯ จะสั่งปิด รอยเตอร์รายงานวันศุกร์(28 ต.ค) ว่า โฆษกกระทรวงมหาดไทยรัฐเฮ็สเซินแถลงยืนยันว่า หน่วยงานตำรวจและความมั่นคงภายในกำลังสอบสวนรายงานของกลุ่มเอ็นจีโอสเปน เซฟการ์ด ดีเฟนเดอร์ส์ (Safeguard Defenders) ที่อ้างว่า ปักกิ่งได้แอบตั้งสถานีตำรวจลับจีนใน 30 ประเทศรวมเยอรมัน เป็นการยืนยันรายงานก่อนหน้าที่ออกมาจากหนังสือพิมพ์ Frankfurter Allgemeine โดยโฆษกรัฐบาลรัฐฮ็สเซินกล่าวว่า มาจนถึงในเวลานี้พวกเขายังไม่พบข้อบ่งชี้ของสถานที่เช่นนั้นตั้งอยู่ภายในเมืองแฟรงก์เฟิร์ต เอพีรายงานวันพฤหัสบดี(27)ว่า มีรายงานว่าปักกิ่งแอบตั้งสถานีตำรวจลับผิดกฎหมายหลายสิบแห่งนอกดินแดนจีนเกิดขึ้นทั่วโลก โดยนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนต่างวิตกว่า ปักกิ่งอาจใช้สถานีตำรวจลับเหล่านี้เพื่อติดตามและคุกคามชาวจีนที่ต่อต้านรัฐบาลปักกิ่งซึ่งอาศัยอยู่ในต่างแดนและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการกวาดล้างคอร์รัปชันของรัฐบาลปักกิ่ง ในรายงานของเซฟการ์ด ดีเฟนเดอร์ส์ที่เผยแพร่เดือนที่ผ่านมาภายใต้ชื่อรายงาน “110 Overseas. Chinese Transnational Policing Gone Wild” มีเป้าหมายอยู่ที่การเปิดโปงสถานีตำรวจเถื่อนจีนในต่างแดนเหล่านี้ซึ่งบางครั้งอาจจะผิดกฎหมายประเทศเหล่านั้นและอาจบ่อนทำลายต่อสถาบันทางประชาธิปไตยและการจารกรรมความลับทางการค้าและเศรษฐกิจ…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว