รัฐบาลอินเดียแจ้งเตือนความเสี่ยงด้านความปลอดภัยระดับ “สูง” ของ Android

Loading

ทีมตอบสนองเหตุฉุกเฉินทางคอมพิวเตอร์ของอินเดีย (CERT-In หรือ ICERT) ภายใต้กระทรวงอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐบาลอินเดีย ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการภัยคุกคามและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ได้ออกคำเตือนบนเว็บไซต์ของ CERT-In เกี่ยวกับช่องโหว่หลายประการและความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในระดับ “สูง” ของระบบปฏิบัติการ Android

3 เหตุผลทำไม? ต้องปกป้อง “มือถือ” ให้ใช้งานได้ปลอดภัย!

Loading

  ปัจจุบันในสมาร์ตโฟนของเรา จะมีข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ มากมาย ทั้งรูปภาพ บทสนทนา รวมถึงการใช้างนแอปต่าง ๆ   ปัจจุบันในสมาร์ตโฟนของเรา จะมีข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ มากมาย ทั้งรูปภาพ  บทสนทนา รวมถึงการใช้างนแอปต่างๆ  โดยเฉพาะ แอปการเงิน   ทำให้การป้องกันความปลอดภันของสมาร์ตโฟน ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แต่คนส่วนใหญ่เมื่อโทรศัพท์ใหม่ จะรีบหาซื้อเคสป้องกันทันที เพื่อป้องกันไม่ให้โทรศัพท์มีรอยหรือแตกหักแม้จะตกหล่น แต่ละเลยเรื่องความปลอดภัยในการใช้งาน แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) แนะเหตุผลสำคัญ 3 ประการว่าทำไมจึงจำเป็นต้องปกป้องโมบายดีไวซ์ด้วยซอฟต์แวร์   1. เพราะมีเงินอยู่ในสมาร์ตโฟนของคุณ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการขนานนามว่าเป็นตลาดโมบายวอลเล็ต หรือกระเป๋าเงินออนไลน์ ที่เติบโตเร็วที่สุดหลังจากเหตุโรคระบาดที่ทำให้เกิดการยอมรับธนาคารออนไลน์และการใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคอย่างเฟื่องฟู   ในปีที่แล้ว การชำระเงินผ่านโมบายดีไวซ์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยบริการเงินออนไลน์ทั้ง 86 บริการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคาดการณ์ว่าจะมีสตาร์ทอัพกลุ่มยูนิคอร์นเพิ่มมากขึ้น และกระแสกระปุกออมสินดิจิทัลมากขึ้นเช่นกัน และการวิจัยของแคสเปอร์สกี้เรื่องการจ่ายเงินดิจิทัล หรือ Digital Payments ระบุว่าสมาร์ตโฟนแอนดรอยด์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์มากที่สุดในภูมิภาคนี้     ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ใช้โทรศัพท์แอนดรอยด์ ผู้ใช้บริการการชำระเงินดิจิทัลในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์จำนวนมากกว่าสี่ในห้า (82%) ระบุว่าใช้อุปกรณ์แอนดรอยด์ในการทำธุรกรรม ขณะที่มาเลเซียมี…

HOW-TO ถ้ามือถือของเรา “ถูกแฮ็ก” จะมีอาการอย่างไร

Loading

  ทุกวันนี้เราใช้ “โทรศัพท์มือถือ” เพื่อประโยชน์แทบทุกอย่างในชีวิตประจำวันตั้งแต่ตื่นนอนยันนอนหลับแล้วก็ตื่นขึ้นมาอีกรอบวนเวียนเป็นวัฏจักร   ยิ่งในยุคที่เป็น “สมาร์ตโฟน” โทรศัพท์มือถือกลายเป็นอุปกรณ์ที่รวบรวมความสะดวกสบายทุกอย่างไว้ด้วยกันในที่เดียว ตั้งแต่ฟังก์ชันพื้นฐานอย่าง โทรออก-รับสาย, รับ-ส่งอีเมล, แชตคุยกับเพื่อน, เล่นโซเชียลมีเดีย, ถ่ายรูป, ฟังเพลง, ดูหนัง, เล่นเกม, สร้างการแจ้งเตือน, จ่ายบิลต่าง ๆ, ชอปปิง, สั่งอาหารเดลิเวอรี่, ทำธุรกรรมทางการเงินแบบออนไลน์ หรือแม้แต่ทำงาน เราสามารถทำทุกอย่างได้ทั้งหมดที่ว่ามาด้วยมือถือเพียงเครื่องเดียว ทำให้สมาร์ตโฟนกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทุกคนต้องมีใช้กัน     เมื่อทุกอย่างถูกรวมไว้ในที่เดียว มันสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้งานก็จริง แต่ในขณะเดียวกัน มันก็กลายเป็นสิ่งเปราะบางและเป็นจุดอ่อนที่มักจะถูกจู่โจมได้ง่ายที่สุดด้วย สิ่งที่น่ากลัวก็คือ การโจมตีเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้นก็สามารถเข้าถึงทุกอย่างที่มือถือของเราทำได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเมื่อมือถือของเราถูกแฮ็กแล้ว แฮกเกอร์จะสามารถเข้าถึงการใช้งานต่าง ๆ ในเครื่องของเราเพื่อก่อกวนสร้างความรำคาญ หลอกหลวง หรือร้ายแรงสุดก็คือขโมยข้อมูลสำคัญและเรียกค่าไถ่เลยทีเดียว   มันจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องสังเกตความผิดปกติของโทรศัพท์มือถือของตัวเองว่าตกเป็นเป้าหมายของแฮ็กเกอร์แล้วหรือยัง จากสัญญาณต่าง ๆ ที่บ่งบอกว่ามือถือเราโดนแฮ็ก เพื่อที่จะได้ป้องกันมือถือของตัวเอง เพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน และถ้าถูกแฮ็กขึ้นมาจริง ๆ จะได้แก้ไขได้อย่างรวดเร็วก่อนที่จะเกิดความเสียหายใด ๆ โดยเป็นคำแนะนำจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ     5…

นักวิจัยด้านคอมพิวเตอร์ค้นพบความเสี่ยงในสมาร์ตโฟน Android จากมัลแวร์ EarSpy

Loading

ภาพ : Getty Images   เมื่อ 28 ส.ค.66 เว็บไซต์ TEXAS A&M Today ของมหาวิทยาลัย Texas A&M สหรัฐฯ รายงานบทความ ระบุว่า ทีมนักวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมศาสตร์จาก Texas A&M และสถาบันอื่น ๆ อีกสี่แห่ง ได้สร้างซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายหรือมัลแวร์ ที่เรียกว่า EarSpy เพื่อค้นหาความเสี่ยงด้านความปลอดภัยบน สมาร์ตโฟน Android โดยพบว่าสามารถระบุตัวตนของผู้ใช้งานได้   EarSpy ใช้อัลกอริทึมวิเคราะห์ข้อมูลจากการสั่นสะเทือนของลำโพงที่บันทึกโดยเซนเซอร์ตรวจจับของสมาร์ตโฟน สามารถระบุเพศของผู้พูดด้วยความแม่นยำร้อยละ 98.6 ผู้พูดเป็นผู้โทรซ้ำด้วยความแม่นยำร้อยละ 91.6 ตรวจจับคำพูดด้วยความแม่นยำร้อยละ 45-90 มัลแวร์ยังจดจำตัวเลขที่พูด โดยเฉพาะตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 9 โดยมีความแม่นยำร้อยละ 56 ซึ่งสูงกว่าการคาดเดาแบบสุ่มถึงห้าเท่า   การวิจัยมุ่งเน้นไปที่สมาร์ตโฟน Android เนื่องจากสามารถดึงข้อมูลเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตอย่างชัดแจ้งจากผู้ใช้ รวมถึงสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ซึ่งผู้ผลิตบางรายกำลังปรับเปลี่ยนลำโพงที่มีขนาดเล็กให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับวิดีโอและการสตรีม ทำให้อัลกอริทึมสามารถตรวจจับข้อมูลได้ดีขึ้น จากผลลัพธ์นี้…

10 สิ่งที่ไม่ควรเก็บไว้ในสมาร์ทโฟนของคุณ เพราะจะนำมาซึ่งอันตราย

Loading

iT24Hrs   10 สิ่งที่ไม่ควรเก็บไว้ในสมาร์ทโฟนของคุณ ทั้งนี้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ เปลี่ยนสมาร์ทโฟนเหมือนกระเป๋าสตางค์ เก็บทั้งสำเนาดิจิทัลของบัตรเดบิตและบัตรเครดิต บัตรสมาชิก บัตรประชาชน ตั๋วเดินทาง ตั๋วภาพยนตร์ ตั๋วคอนเสิร์ต รวมถึงสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ง่ายกว่าการพกบัตรพลาสติกและกระดาษหลาย ๆ ใบไว้ในกระเป๋า   แม้จะสะดวกสำหรับคุณ แต่การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในสมาร์ทโฟนก็มีความเสี่ยง เพราะมิจฉาชีพยุคนี้ สามารถแฮ็ก โจมตีทางไซเบอร์ต่าง ๆ ตั้งแต่การแฮ็ก NFC ไปจนถึงลิงก์ฟิชชิง คุณจะปล่อยให้ตัวเองเสี่ยงต่อการถูกขโมยข้อมูลสำคัญ หากคุณไม่ลบรายการเหล่านี้ออกจากอุปกรณ์ของคุณ   10 สิ่งที่ไม่ควรเก็บไว้ในสมาร์ทโฟน   1. รหัสผ่านหลัก จดรหัสผ่านเซฟไว้ในมือถือ ทั้งนี้เพื่อให้ความปลอดภัยขั้นสุด ควรจัดเก็บและเข้ารหัสไว้ผ่านแอปจัดการรหัส คุณจะต้องจำรหัสผ่านหลักเพียงรหัสเดียวเท่านั้น   2. ที่อยู่บ้านของคุณ กำจัดไฟล์ที่แสดงที่อยู่บ้านของคุณ มิจฉาชีพอาจใช้สมุดที่อยู่ ใบแจ้งหนี้ และบิลต่าง ๆ เพื่อติดตามคุณ เป็นอันตรายต่อครอบครัวของคุณ พวกเขาอาจส่งคำขู่เป็นลายลักษณ์อักษร สะกดรอยตามคุณ หรือแม้กระทั่งบุกเข้าไปในที่อยู่อาศัยของคุณได้ ปิด Location ของคุณ…

ผู้เชี่ยวชาญเตือนภัยสมาร์ตวอตช์ และวิธีป้องกัน

Loading

  เดบาร์ชี ดาส (Debarshi Das) นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยอิสระเผยให้เห็นว่ามีการแฮ็กสมาร์ตวอตช์มีหลากหลายวิธี   รูปแบบการส่งข้อมูลของสมาร์ตวอตช์ โดยทั่วไปแล้ว สมาร์ตวอตช์เชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟนผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า Bluetooth Low Energy (BLE) ซึ่งใช้แถบคลื่นความถี่เดียวกันกับ Bluetooth ทั่ว ๆ ไป แต่ใช้คนละช่องสัญญาณในการส่งข้อมูล และใช้พลังงานน้อยกว่า Bluetooth   สมาร์ตวอตช์สื่อสารกับสมาร์ตโฟนโดยส่งชุดข้อมูล (packets) ที่มีชื่อเรียกว่า Beacon ซึ่ง Beacon เหล่านี้จะเป็นตัวส่งสัญญาณบอกให้อุปกรณ์ในระยะสัญญาณรู้ถึงการมีอยู่ของสมาร์ตวอตช์ตัวนั้น ๆ   จากนั้น สมาร์ตโฟนเป้าหมายที่อยู่ในระยะการส่ง Beacon ก็จะตอบกลับด้วยคำขอสแกนข้อมูล ซึ่งสมาร์ตวอตช์ก็จะตอบคำขอนั้นด้วยการส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น   ข้อมูลที่ส่งกันไปมาระหว่างอุปกรณ์ทั้ง 2 ตัวอยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า Generic Attribute Profile (GATT) ใน GATT จะมีรายละเอียดของอุปกรณ์ทั้ง ฟีเจอร์ ลักษณะ และบริการที่มี ทำให้อุปกรณ์ที่รับสัญญาณสามารถเข้าทำความเข้าใจและใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ ของสมาร์ตวอตช์ได้  …