หัวเว่ย โชว์นวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ หนุนยกระดับประเทศไทยสู่อีกขั้นของสมาร์ทซิตี้

Loading

หัวเว่ยประกาศความพร้อมสนับสนุนประเทศไทยในการก้าวสู่เมืองอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ ยกทัพนวัตกรรม-เทคโนโลยีล้ำยุค พร้อมผนึกกำลังสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ดีป้าเปิดงานสัมมนาพิเศษฟอรัมพิเศษเร่งการเปลี่ยนแปลงเมืองอย่างเป็นรูปธรรม ภายในงาน “ไทยแลนด์ สมาร์ทซิตี้ ฟอรัม 2023 (Thailand Smart City 2023)”

‘ดีป้า’เข็น 5 มาตรฐาน ‘สมาร์ทซิตี้’ ชูหัวใจสำคัญด้วยบริการบัญชีดิจิทัล

Loading

หากพูดถึงโครงสร้างเศรษฐกิจในปัจจุบันรูปแบบพิรามิด ประกอบด้วยฐานล่างสุดเกษตรกร 8-12 ล้านคนสัดส่วนจีดีพีน้อยมาก ถ้าไม่ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเพิ่มจีดีพียาก ส่วนตรงกลางหรือผู้ประกอบการ SME จำนวน 3 ล้านรายหรืออาจถึง 5-6 ล้านราย ยังสามารถทำจีดีพีได้นิดเดียว 35-40% ส่วนบนสุดของพิรามิดคือยักษ์ใหญ่มีสัดส่วนจีดีพีถึง 50% คำถามของความเป็น “เมืองอัจฉริยะ” หรือ สมาร์ทซิตี้

‘ดีป้า’เข็น 5 มาตรฐาน ‘สมาร์ทซิตี้’ ชูหัวใจสำคัญด้วยบริการบัญชีดิจิทัล

Loading

ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า หากพูดถึงโครงสร้างเศรษฐกิจในปัจจุบันรูปแบบพิรามิด ประกอบด้วยฐานล่างสุดเกษตรกร 8-12 ล้านคนสัดส่วนจีดีพีน้อยมาก ถ้าไม่ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเพิ่มจีดีพียาก ส่วนตรงกลางหรือผู้ประกอบการ SME จำนวน 3 ล้านรายหรืออาจถึง 5-6 ล้านราย ยังสามารถทำจีดีพีได้นิดเดียว 35-40% ส่วนบนสุดของพิรามิดคือยักษ์ใหญ่มีสัดส่วนจีดีพีถึง 50% คำถามของความเป็น “เมืองอัจฉริยะ” หรือ สมาร์ทซิตี้ ก็คือ คนระดับล่างๆ หรือ ผู้ประกอบการ SME หรือ ประชาชนส่วนใหญ่ 10 กว่าล้านคนของพิรามิดจะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างไร

ส่อง“สมาร์ทซิตี้”ในไทย…ลงทุนยกระดับชีวิตคนท้องถิ่น

Loading

    การขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ทซิตี้” ถือเป็นหนึ่งนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 เพื่อให้ประเทศไทย   การขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ทซิตี้” ถือเป็นหนึ่งนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 เพื่อให้ประเทศไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะ ที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน!?!   ซึ่งทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ได้ดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างปี 2564-2565 ประเทศไทยมีเมืองที่ได้รับตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทยแล้ว 30 เมือง!?!   ทิศทาง การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ของไทยต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร? หาคำตอบได้ด้านล่างนี้?!?   ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)” บอกว่า รัฐบาลมีนโยบายนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเมืองในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ให้ยกระดับสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้เมืองเจริญทันสมัย และน่าอยู่ ช่วยพัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต ของประชาชนอย่างทั่วถึง   “ภายในสิ้นปี 66 นี้มีเป้าหมายจะส่งเสริมเเมืองอัจฉริยะ เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 15 เมืองรวมเป็น 45 เมือง และประเมินว่าการพัฒนา เมืองอัจฉริยะจะช่วยให้เกิดโอกาสการลงทุนจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนรวม มูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท และจะมีการสร้างมูลค่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต”     อย่างไรก็ตาม…

“เมืองอัจฉริยะ” มีมากกว่า ชีวิต-เทคโนโลยีและนวัตกรรม

Loading

  “เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City” เป็นหนึ่งในแนวทางที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นในทุกเมือง ทุกจังหวัดของประเทศ เพื่อมุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี   คำว่า “เมืองอัจฉริยะ” ไม่ใช่เพียงเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเท่านั้น แต่หมายถึงความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต รายได้ ที่อยู่อาศัย สุขภาพ ความปลอดภัยของทุกคนในเมืองนั้น หรือประเทศนั้นต้องดีขึ้นด้วย     ตั้งเป้าเมืองอัจฉริยะ100 เมืองใน 77 จังหวัด   แนวคิด Smart City เกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย ปลอดภัยในรูปแบบการบริหารจัดการเมืองที่จะมีการเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นการจัดสมดุลของสิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิตของผู้คน ความปลอดภัย   ประเทศไทย ได้มีการกำหนดพัฒนาพื้นที่เป้าหมายที่คัดเลือกเป็นเมืองอัจฉริยะต้นเเบบในแต่ละปี โดยปี 2561-2562 กำหนดเมืองอัจฉริยะ 10 เมืองใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา   ต่อมา…

“Public Eye” อัมสเตอร์ดัม สมาร์ทซิตี้ที่ความเป็นส่วนตัวคือเรื่องสำคัญ

Loading

กรุงอัมสเตอร์ดัม สมาร์ทซิตี้แถวหน้าของโลก พัฒนาระบบ “Public Eye” ขึ้นมาเพื่อจัดการกับความหนาแน่นในพื้นที่สาธารณะ ด้วยกล้องวงจรปิดและ AI “Public Eye” ทำงานอย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นระบบ Crowd Monitoring ที่คิดถึงความเป็นส่วนตัวของผู้คนมาเป็นที่ 1   มหานครหลายแห่งของโลกได้วางแผนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การเป็น Smart City กันมาหลายปีแล้ว อย่างเช่นที่ อัมสเตอร์ดัม เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเมืองอันดับต้นของโลกที่ได้ชื่อว่าเป็นสมาร์ทซิตี้ที่ดีที่สุด อัมสเตอร์ดัมได้วางรากฐานการพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะมาตั้งแต่ปี 2009 อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองที่จำนวนนักท่องเที่ยวสูงกว่าพลเมืองเองมาก จากการคาดการณ์ในปี 2019 อัมสเตอร์ดัมจะมีพลเมืองมากกว่า 1 ล้านคนในปี 2040 และจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากจาก 18 ล้านคนต่อปีในปี 2018 เป็น 23 ล้านคนในปี 2023 (ไม่แน่ใจว่าโควิดจะเข้ามาเปลี่ยนตัวเลขนี้มากน้อยแค่ไหน) ด้วยตัวเลขความหนาแน่นนี้ อัมสเตอร์ดัมต้องรับมือด้วยกลยุทธ์หลายอย่าง ตั้งแต่การวางโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ทั้งการโครงข่ายการจ่ายไฟฟ้าที่เสถียร เครือข่าย 5G ซึ่งทำงานร่วมกันกับระบบ Cloud และ AI ให้ทุกกระบวนการเดินไปอย่างราบรื่นและเสถียรที่สุด เพื่อการใช้งานระดับเมืองและบุคคลจะทำให้ชีวิตพลเมืองดีขึ้น…