ไทยเข้าวิน! เจ้าภาพประชุม AI โลก วางกรอบถกจริยธรรม-ความยั่งยืน

Loading

    ยูเนสโกเลือกไทย! จัดประชุมถกจริยธรรม AI ระดับโลกครั้งแรกในเอเชีย-แปซิฟิก รวมพลผู้นำ-ผู้เชี่ยวชาญ 194 ประเทศ แห่ร่วมงาน มิ.ย.68 ตั้งเป้าผู้เข้าร่วม 800 คน   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า ประเทศไทยเดินหน้าสร้างความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างมีจริยธรรม สอดคล้องกับเป้าหมายการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2567   รายงานจาก สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ระบุว่า องค์กรในประเทศไทยมีการนำ AI มาใช้เพิ่มขึ้นถึง 73.3% สูงกว่าปีที่ผ่านมาเกือบ 20% สะท้อนถึงความพร้อมในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคม   ทั้งนี้ รัฐบาลยังผลักดันแนวทางสำคัญในการกำกับดูแล AI ด้วย “คู่มือแนวทางการประยุกต์ใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาล” และ…

ชวนคิด เมื่อ AI กำลังส่งผลกับพฤติกรรมและความคิดของเรา โดยไม่รู้ตัว จริงไหม ?

Loading

  ชวนคิด เมื่อปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังส่งผลกับพฤติกรรมและความคิดของเรา พร้อมกับการใช้ Data Science โดยไม่รู้ตัว จริงไหม ?   ดร.เจษฎา กาญจนะ นักวิจัยกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค สวทช. ชวนคิดย้อนเวลาไปประมาณกว่า 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อหนึ่งสัปดาห์ของเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่วันที่ 11 ถึงวันที่ 18 ผู้ใช้งาน Facebook จำนวน 689,003 คน (หรือประมาณ 1 ใน 2,500 คนของผู้ใช้งานขณะนั้น) ถูกสุ่มให้ใช้อัลกอริทึมที่ถูกปรับเปลี่ยนสำหรับคัดเลือกให้เห็น News Feed หรือข้อความของเพื่อนแค่บางแบบเท่านั้น   ผู้ใช้กลุ่มหนึ่งเห็นข่าวดี หรือข้อความบวกเยอะกว่าข้อความเชิงลบ ในขณะที่ผู้ใช้อีกกลุ่ม เห็นข่าวร้ายหรือข้อความลบเยอะกว่า จุดประสงค์ของการทดลองคือ การศึกษาการแพร่กระจายทางอารมณ์ (emotional contagion) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Facebook และทีมวิจัยต้องการดูว่า อารมณ์สามารถส่งต่อระหว่างคนเมื่อเห็นเฉพาะข้อความตามตัวอักษร โดยไม่มีปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพได้หรือไม่…

PDPC ร่วมกับ สวทช. ผนึกความร่วมมือ “PDPC สิงคโปร์” จัดทำคู่มือภาษาไทย พร้อมต่อยอดพัฒนา “Data Anonymization Tool”

Loading

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC ร่วมกับ สวทช. เดินหน้าความร่วมมือ ‘PDPC สิงคโปร์’ นำเครื่องมือแปลงข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นข้อมูลนิรนาม ‘Data Anonymization Tool’ มาเผยแพร่ และแปลคู่มือการใช้งานเป็นภาษาไทย เพื่อสนับสนุนให้เกิดการนำเครื่องมือไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ชวนรู้จัก National AI Service Platform แพลตฟอร์มให้บริการ AI ปัญญาประดิษฐ์ไทย

Loading

Nation AI Service Platform หนึ่งในแพลตฟอร์มที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาและผลักดันวงการเทคโนโลยีในประเทศไทย ซึ่งกระแสของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ก่อให้เกิดการตื่นตัวในทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง ธุรกิจต่าง ๆ ล้วนต้องการปรับตัวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี และมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันมากที่สุด

5 จังหวัดประเดิม…สแกนม่านตา ระบุตัวตนบุคคลไม่มีเอกสารประจำตัว

Loading

  3 หน่วยงานลงนามร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีระบุตัวตนด้วยการสแกนม่านตาของบุคคลที่ไม่มีเอกสารประจำตัว ประชากรข้ามชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อการสาธารณสุขและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม   นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา กรมควบคุมโรคได้เรียนรู้และเห็นการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องภายใต้ภารกิจการป้องกันควบคุมโรคในกลุ่มประชากรข้ามชาติ โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีเอกสารระบุตัวตน   ปัญหาที่พบคือ มีความซ้ำซ้อนของข้อมูลที่ปรากกฏในเอกสารประวัติการได้รับวัคซีน อันจะส่งผลต่อความครอบคุลมและการดูแลสุขภาพของกลุ่มประชากรดังกล่าว   ปีที่ผ่านมา กรมควบคุมโรค ร่วมกับ สภากาชาดไทย และ เนคเทค สวทช. จัดทำโครงการนำเทคโนโลยีการระบุตัวบุคคลด้วยใบหน้าในกลุ่มประชากรข้ามชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีประชากรข้ามชาติอาศัยเป็นจำนวนมาก เช่น จังหวัดสมุทรสาคร หรือกรุงเทพมหานคร   เพื่อให้การระบุตัวตนของบุคคลนั้นๆ สามารถรับบริการสุขภาพที่เหมาะสมเป็นไปตามคำแนะนำทางการแพทย์ และทำให้ประวัติการรับวัคซีนมีความสมบูรณ์มากขึ้น ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่นำร่องใช้เทคโนโลยีระบุตัวบุคคลดังกล่าว   ความร่วมมือในครั้งนี้ จึงเป็นการขยายผลการดำเนินงานจากเดิม โดยมุ่งพัฒนาในการใช้เทคโนโลยีการสแกนม่านตาที่มีความเที่ยงตรงมากขึ้น     กรมควบคุมโรคและหน่วยงานภาคีเครือข่ายจะดำเนินการระยะแรก ใน 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร ชลบุรี ตาก ประจวบคีรีขันธ์…

ภาครัฐเร่งพัฒนาจริยธรรม เทคโนโลยี AI หลังเอกชนตื่นตัวลงทุนมากขึ้น

Loading

  ETDA ร่วมกับ สวทช. เผยความพร้อมองค์กรในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI สำหรับบริการดิจิทัล เตรียมวางหลักเกณฑ์ด้านธรรมาภิบาล   สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดทำการศึกษาเกี่ยวกับความพร้อมขององค์กร เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรม   การใช้ดัชนีการวัด 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านยุทธศาสตร์และความสามารถขององค์กร 2. ด้านข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐาน 3. ด้านบุคลากร 4. ด้านเทคโนโลยี 5. ด้านธรรมาภิบาล   ผลที่ได้จากการประเมินตามด้านต่าง ๆ จะนำไปสู่การแบ่งความพร้อมขององค์กรได้เป็น 4 ระดับ คือ ระดับ Unaware = ยังไม่มีความตระหนัก/ อยู่ในช่วงเริ่มต้นเรียนรู้ Aware = มีความตระหนักและเริ่มนำ…