สหรัฐผลักดันแผนลงโทษบริษัท-ชาวมะกันที่ช่วยจีนผลิตชิป หวั่นถูกใช้ทางทหาร

Loading

  นางจีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเดินหน้าผลักดันแผนการของรัฐบาลสหรัฐที่จะใช้มาตรการลงโทษบริษัทและพลเมืองของสหรัฐที่ให้ความช่วยเหลือจีนในการผลิตชิปที่ล้ำสมัย   “เราจำเป็นต้องปกป้องพลเมืองชาวอเมริกันจากการขยายอิทธิพลของจีน เพราะขณะนี้จีนได้แสดงท่าทีแข็งกร้าวมากขึ้น ด้วยการใช้กลยุทธ์การแทรกซึมทั้งทางทหารและพลเรือน โดยจีนใช้วาทศิลป์ในการสั่งซื้อชิปที่ล้ำสมัยของเรา และอ้างว่าจะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการพาณิชย์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว จีนกำลังใช้ชิปเหล่านี้เพื่อผลิตอุปกรณ์ทางทหาร ซึ่งเจ้าหน้าที่สหรัฐกังวลว่าอุปกรณ์เหล่านี้จะถูกใช้เพื่อคุกคามอเมริกา” นางไรมอนโดให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นบีซีในวันพฤหัสบดี (3 พ.ย.)   เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดนได้ออกมาตรการควบคุมการส่งออกชิปให้กับจีน โดยพุ่งเป้าไปที่การส่งออกชิปคอมพิวเตอร์ขั้นสูงที่มีจุดประสงค์เพื่อการใช้งานในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยรัฐบาลสหรัฐวิตกว่า จีนกำลังใช้ระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ล้ำสมัยเพื่อปรับปรุงการคำนวณต่าง ๆ ในการออกแบบอาวุธ, การทดสอบอาวุธนิวเคลียร์, ระบบไฮเปอร์โซนิก และระบบขีปนาวุธอื่น ๆ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์ผลการสู้รบ   “ดิฉันเชื่อว่าจะมีอีกหลายประเทศที่ดำเนินการตามมาตรการของเรา” นางไรมอนโดกล่าว   กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้ออกกฎระเบียบใหม่ซึ่งกำหนดว่า บริษัทผลิตชิปของสหรัฐที่ต้องการจะส่งออกชิปที่สามารถนำไปใช้ในระบบผลิตอาวุธนั้น จะต้องได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงก่อน นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังได้ออกมาตรการควบคุมการออกใบอนุญาต เพื่อป้องกันไม่ให้พลเมืองของสหรัฐทำงานให้กับอุตสาหกรรมการผลิตชิปของจีน เพราะเกรงว่าจะทำให้พลเมืองของสหรัฐเผชิญกับความเสี่ยง   ทั้งนี้ นางไรมอนโดกล่าวว่า กฎระเบียบใหม่นี้เป็นสิ่งที่จำเป็น แม้ว่าจะทำให้บริษัทบางแห่งของสหรัฐสูญเสียรายได้ก็ตาม       ———————————————————————————————————————————- ที่มา :   …

รายงานเผย มีการจ่ายค่าไถ่ทางไซเบอร์ผ่านธนาคารในสหรัฐฯ รวมกันกว่า 45,000 ล้านบาท

Loading

  เครือข่ายการบังคับใช้กฎหมายต่ออาชญากรรมทางการเงิน (FinCEN) ในสังกัดกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกา (USDT) เผยว่าในปี 2021 มีการทำธุรกรรมเกี่ยวกับการจ่ายค่าไถ่ให้กับอาชญากรที่ใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ผ่านธนาคารของสหรัฐฯ รวมกันถึงเกือบ 1,200 ล้านเหรียญ (ราว 45,000 ล้านบาท)   นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าการจ่ายค่าไถ่ในปี 2021 ยังเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 188 เมื่อเทียบกับปี 2020 เหตุการณ์ถึงร้อยละ 75 เกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2021 โดยผู้ก่อเหตุจำนวนมากมาจากรัสเซีย   FinCEN ชี้ว่าตัวเลขข้างต้นไม่ได้แปลว่ามีจำนวนการโจมตีมากขึ้นเสมอไป แต่อาจหมายถึงว่าการโจมตีในแต่ละครั้งทวีความรุนแรงมากขึ้นก็ได้   ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้น FinCEN นำมาจากเอกสารคดีภายใต้กฎหมายรักษาความลับของธนาคาร (BSA) ตลอดทั้งปี 2021 ซึ่ง FinCEN ได้รับเอกสารบันทึกที่เกี่ยวกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่มากถึง 1,489 ฉบับ   ฮิมาเมาลิ ดัส (Himamauli Das) รักษาการณ์ผู้อำนวยการ FinCEN ระบุว่ารายงานนี้เผยให้เห็นความสำคัญของการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ BSA ซึ่งทำให้ FinCEN สามารถศึกษาแนวโน้มและรูปแบบภัยคุกคามดังกล่าว…

สหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพการประชุมระดับโลกด้านมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ที่มีกว่า 30 ประเทศเข้าร่วม

Loading

  รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะเป็นเจ้าภาพการประชุมหารือเกี่ยวกับภัยคุกคามจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ อาชญากรรมทางไซเบอร์อื่น ๆ และการใช้คริปโทเคอเรนซีในทางที่ผิด โดยจะจัดขึ้น ณ ทำเนียบขาว ในกรุงวอชิงตัน ดีซี ซึ่งจะมีผู้แทนจาก 37 ประเทศ และบริษัทระดับโลก 13 รายเข้าร่วม   ประเทศเจ้าบ้านเชื่อว่าการประชุมครั้งนี้จะช่วยให้ประเทศที่มาเข้าร่วมการประชุมนำบรรทัดฐานทางไซเบอร์ที่ได้รับการยอมรับในประชาคมระหว่างประเทศไปใช้ในการต่อกรกับภัยคุกคามจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ และสามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้   นอกเหนือไปจากนั้น ยังจะมีการพูดคุยหารือเกี่ยวกับการขัดขวางการโจมตีทางไซเบอร์ การตรวจสอบเส้นทางการเงินของคริปโทเคอเรนซี และสร้างความสามารถในการรับมือกับภัยคุกคามดังกล่าว   ผู้เข้าร่วมประชุมจะร่วมกันออกแถลงการณ์ร่วมหลังจากจบการประชุม หนึ่งในเนื้อหาที่จะปรากฎคือการให้คำมั่นในการเพิ่มการกดดันรัสเซียและอีกหลายประเทศที่เชื่อว่าให้การสนับสนุนผู้ที่ใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ในการโจมตีประเทศทั่วโลก   เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ที่จะเข้าร่วมงานนี้ มีทั้ง คริส วราย (Chris Wray) ผู้อำนวยการสำนักสืบสวนกลาง (FBI) วอลลี อาเดเยโม (Wally Adeyemo) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ไปจนถึง เจก ซัลลิแวน (Jake Sullivan) ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของรัฐบาลด้วย   ประเทศที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้มาจากทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้…

Mandiant เผยรายละเอียดปฏิบัติการปลุกปั่นชาวอเมริกันบนโลกออนไลน์

Loading

  Mandiant บริษัทด้านไซเบอร์จากสหรัฐอเมริกาเผยรายละเอียดของปฏิบัติการออนไลน์ที่เรียกว่า DRAGONBRIDGE ซึ่งมุ่งลดทอนความน่าเชื่อถือของระบอบประชาธิปไตยในสหรัฐฯ และโน้มน้าวให้ประชาชนไม่ไปเลือกตั้งกลางเทอมที่กำลังจะมาถึง   นอกจากนี้ DRAGONBRIDGE ยังมีเป้าหมายสร้างความแตกแยกระหว่างสหรัฐฯ กับชาติพันธมิตร และสร้างความแตกแยกภายในสหรัฐฯ เอง โดยพยายามลดความน่าเชื่อถือของระบบการเลือกตั้ง   เจ้าของปฏิบัติการนี้ยังได้เผยวิดีโอในภาษาอังกฤษที่ชี้ว่าการเลือกตั้งไม่ใช่ทางแก้ ‘อาการป่วย’ ของสหรัฐฯ รวมถึงยังบอกด้วยว่านักการเมืองสหรัฐฯ ไม่ขยันและระบบนิติบัญญัติไม่มีผลเชิงบวกต่อประชาชน ลามไปจนถึงการบอกว่าการเมืองของสหรัฐฯ เต็มไปด้วยความขัดแย้ง จะนำไปสู่สงครามกลางเมืองในที่สุด   รูปแบบของการปฏิบัติการมีทั้งการใช้บัญชีโซเชียลมีเดียปลอม ผสมกับการเผยแพร่บทความข่าวปลอมหรือคัดลอกเนื้อหามาจากแหล่งข่าวอื่น พร้อมทั้งพยายามปลอมตัวว่าเป็นกลุ่มที่รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุน   Mandiant เชื่อว่า DRAGONBRIDGE ดำเนินไปเพื่อสนับสนุนผลประโยชน์ทางการเมืองของจีน   อย่างไรก็ดี ผลลัพธ์ของปฏิบัติการดังกล่าวเป็นไปอย่างจำกัด แม้ว่าจะมีการทุ่มทรัพยากรไปเป็นจำนวนมหาศาลเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการที่มีหลายสายก็ตาม     ที่มา Al Jazeera     —————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                 …

สหรัฐ-กูเกิลบรรลุข้อตกลงปฏิบัติตามคำสั่งศาลเพื่อช่วยสืบสวนคดีอาญา

Loading

  กระทรวงยุติธรรมสหรัฐระบุในวันอังคาร (25 ต.ค.) ว่า ได้บรรลุข้อตกลงกับกูเกิล ยักษ์ใหญ่ด้านการสืบค้นข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นบริษัทในเครือของอัลฟาเบท อิงค์แล้ว เพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างกัน หลังจากที่กูเกิลอาศัยช่องโหว่ทางกฎหมายไม่ปฏิบัติตามหมายค้นเมื่อปี 2559   กระทรวงยุติธรรมสหรัฐระบุว่า ข้อตกลงนี้เป็นการแก้ไขปัญหาในกรณีดังกล่าวเป็นครั้งแรก ซึ่งจะทำให้กูเกิลต้องปฏิรูปด้านการปฏิบัติตามกระบวนการทางกฎหมายเพื่อรับประกันว่า กูเกิลจะปฏิบัติตามกระบวนการทางกฎหมาย เช่น หมายศาลและหมายค้น อย่างทันท่วงทีและสมบูรณ์”   “กระทรวงยุติธรรมสหรัฐมีพันธสัญญาในการรับประกันว่า ผู้ให้บริการด้านการติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาล เพื่อปกป้องและอำนวยความสะดวกด้านการสืบสวนคดีอาญา” นายเคนเนธ โพไลต์ ผู้ช่วยอัยการสูงสุด หัวหน้าแผนกคดีอาญาของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐกล่าว พร้อมเสริมว่า “กรณีดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐในการรับประกันว่า บริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น กูเกิล นั้น จะปฏิบัติตามกระบวนการทางกฎหมายอย่างรวดเร็วและครบถ้วน เพื่อรับประกันความปลอดภัยสาธารณะ และนำผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม”   กระทรวงยุติธรรมสหรัฐระบุว่า จะมีการจ้างมืออาชีพอิสระมารับหน้าที่เป็นบุคคลที่ 3 เพื่อปรับปรุงด้านการปฏิบัติตามกฎหมายของกูเกิล   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน ในปี 2559 นั้น สหรัฐได้ออกหมายค้นในรัฐแคลิฟอร์เนียเพื่อรวบรวมข้อมูลที่กูเกิลเก็บเอาไว้ ซึ่งเกี่ยวพันกับการสอบสวนคดีของ BTC-e ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งในเวลาต่อมา ศาลอุทธรณ์สหรัฐวินิจฉัยว่า หมายค้นดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่นอกสหรัฐ…

จีนกลายเป็นภัยคุกคามเจ้าเทคโนโลยีสหรัฐฯ ได้อย่างไร

Loading

ภาพโกลบอลไทมส์   เมื่อ 7 ปีที่แล้ว จีนประกาศแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ “เมดอินไชน่า 2025” ตั้งเป้าหมายการพัฒนา 10 ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของแดนมังกร ให้ผงาดทัดเทียมบนเวทีการแข่งขันระดับโลกภายในปี พ.ศ.2568   หากย้อนดูเส้นทางการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของจีน ก็จะเข้าใจได้ว่า จีนกลายเป็นภัยอันน่ากลัวต่อผู้นำด้านเทคโนโลยีอย่างสหรัฐฯ ในทุกวันนี้ได้อย่างไร   ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ กำลังถูกจีนไล่ตามมาเหลือระยะห่างกันมากน้อยแค่ไหน และเหตุใดรัฐบาลของประธานาธิบดี โจ ไบเดน จึงรู้สึกถูกคุกคามถึงขนาดต้องยกระดับมาตรการจำกัดการส่งออกเทคโนโลยีแก่จีนเมื่อเร็ว ๆ นี้ อธิบายได้จากสิ่งต่อไปนี้   1.ความเฟื่องฟูด้านการวิจัย   จีนมีการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ตอนนั้นเศรษฐกิจแดนมังกรกำลังบูม หลังจากการฟื้นฟูเปิดประเทศและเศรษฐกิจของผู้นำ “เติ้ง เสี่ยวผิง” ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 (พ.ศ.2533-2542)   เมื่อดูการใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งหมด (Gross R&D spending) ของแต่ละฝ่าย พบว่า จีนไล่ตามมาชนิดหายใจรดต้นคอในปัจจุบัน โดยจีนมีโอกาสลดช่องว่างให้แคบลงในช่วงที่สหรัฐฯ เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ด็อตคอมในปี 2540-2543 และวิกฤตการเงินโลกระหว่างปี 2551-2552 ซึ่งทำให้การใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของสหรัฐฯ ชะลอ…