องค์กรคุ้มครองสิทธิ์สหรัฐฯ เรียกร้องให้ศาลสูงสุดพิจารณาว่ารัฐควรมีติดใช้กล้องส่องประชาชนโดยไร้หมายได้หรือไม่

Loading

  องค์กรคุ้มครองสิทธิ์สหรัฐฯ หรือ American Civil Liberties Union (ACLU) ขอให้ศาลสูงสุดของสหรัฐฯ พิจารณาว่าควรอนุญาตให้กล้องวงจรปิดที่ตำรวจติดตั้งไว้บนเสาไฟฟ้าโดยไม่มีหมายศาลนั้นสามารถส่องดูประชาชนถึงในบ้านได้หรือไม่   ในคำขอของ ACLU มีเนื้อหาขอให้ศาลสูงพิจารณาผลการตัดสินของศาลระดับรองที่ไม่มีข้อยุติเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของการติดตั้งกล้องวงจรปิดดังกล่าว   ก่อนหน้านี้ มีกรณีที่เจ้าหน้าที่จากสำนักงานแอลกอฮอล์ ยาสูบ อาวุธปืน และวัตถุระเบิด (ATF) ที่ใช้ภาพจากกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งในบริเวณบ้านของ แดฟนี มัวร์ (Daphne Moore) เพื่อใช้เป็นหลักฐานในคดีที่ฟ้อง นีอา มัวร์-บุช (Nia Moore-Bush) บุตรสาวของแดฟนี กับสามีในข้อหาขายอาวุธปืนที่ไม่มีใบอนุญาต รวมถึงการขายยาผิดกฎหมายด้วย   อย่างไรก็ดี มัวร์-บุช ร่วมกับจำเลยอีก 4 คน ได้ยื่นขอให้มีการตัดพยานหลักฐานที่ได้จากกล้องวงจรปิดออกไปเนื่องจากเป็นการติดตั้งโดยไม่มีหมายศาล ซึ่งศาลชั้นต้นไม่มีคำตัดสินชี้ขาด แต่ศาลอุทธรณ์ชี้ว่าการรวบรวมพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นไปโดยสุจริต นำไปสู่การที่จำเลยยอมรับสารภาพในที่สุด   ด้วยเหตุนี้ ACLU จึงร้องขอให้ศาลสูงสุดของสหรัฐฯ มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการนำบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ 4 (Fourth Amendment) ที่ว่าด้วยสิทธิของพลเมืองในการรู้สึกปลอดภัยในเคหะสถานของตนเอง มาปรับใช้ในยุคปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม  …

เมียนมา ติดกล้องวงจรปิดตรวจจับใบหน้า สอดส่อง ปชช.ทั่วประเทศ

Loading

  สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม อ้างแหล่งข่าวใกล้ชิด 3 ราย ระบุว่า รัฐบาลเมียนมา กำลังเดินหน้าโครงการติดตั้งกล้องวงจรปิดที่สามารถตรวจจับใบหน้าคนได้ในหลายเมืองทั่วประเทศ   แหล่งข่าวใกล้ชิดการยื่นประมูลเพื่อจัดซื้อและติดตั้งกล้องวงจรปิดรักษาความปลอดภัยที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าของรัฐบาลเมียนมาระบุว่า โครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการเมืองปลอดภัยที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาความปลอดภัย และในบางกรณีก็ใช้ในการคงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง   รายงานระบุว่า โครงการดังกล่าวเป็นการติดตั้งกล้องเพิ่มเติมจากโครงการของรัฐบาลชุดเดิมที่มีการติดตั้งและวางแผนติดตั้งใน 5 เมืองไปแล้วก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังเปิดเผยด้วยว่ารัฐบาลทหารเมียนมาวางแผนที่จะติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดดังกล่าวใน 7 รัฐ และ 7 เขตปกครองทั่วประเทศ   รายงานระบุว่า บริษัทผู้ชนะการประมูลมีอยู่หลายบริษัทที่เป็นบริษัทท้องถิ่น ในจำนวนนั้นเป็นบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีจาก “เจ้อเจียง ต้าหัว เทคโนโลยี” และ “หัวเว่ย เทคโนโลยี่” บริษัทด้านรักษาความปลอดภัยยักษ์ใหญ่ของจีน   ทั้งนี้ เทคโนโลยีกล้องวงจรปิดที่มีระบบตรวจจับใบหน้านั้น แม้จะเริ่มมีใช้ในหลายประเทศ แต่โครงการในเมียนมานั้นก็ส่งผลให้เกิดความกังวลเช่นกันว่าเทคโนโลยีจะถูกนำไปใช้ในการกวาดล้างนักเคลื่อนไหวและกลุ่มต่อต้านที่ฝั่งรัฐบาลทหารกล่าวหาว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย หลังเกิดการประท้วงต่อต้านรัฐประหารเป็นต้นมา       ————————————————————————————————————————- ที่มา :     มติชนออนไลน์           …