ความแตกต่าง ระหว่าง”บอลลูนพยากรณ์อากาศ-บอลลูนสอดแนม”

Loading

  กองทัพสหรัฐฯ ใช้เครื่องบิน F-22 ขึ้นไปยิงจรวดเข้าใส่บอลลูนสอดแนมของจีนจนตกลงมา หลังจากที่มันลอยอยู่เหนือน่านฟ้าของประเทศเกือบสัปดาห์   ทางการจีนออกมาแสดงความไม่พอใจต่อการกระทำของสหรัฐฯ อย่างหนัก และทำให้หลายฝ่ายกำลังจับตาดูว่าหลังจากนี้จีนจะมีการตอบโต้เรื่องนี้กลับอย่างไรนอกจากการแถลงการณ์ประณาม   ล่าสุดนักประดาน้ำของ “กองทัพเรือสหรัฐฯ” ก็เริ่มปฏิบัติการเก็บกู้ซาก “บอลลูน”ที่กระจายเป็นวงกว้างเพื่อนำไปตรวจสอบ และพยายามเก็บกู้ข้อมูลจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในบอลลูนลูกดังกล่าว     สถานีโทรทัศน์ CNN ของสหรัฐฯ รายงานว่า ขณะนี้กองทัพเรือสหรัฐฯ กำลังดำเนินการเก็บกู้ซากบอลลูนของจีนที่ถูกยิงตกลงมาเมื่อวานในมหาสมุทรแอตแลนติก   โดยนักข่าว CNN ที่ปักหลักรายงานอยู่บริเวณชายหาดนอร์ท เมอร์เทิล ( North Myrtle Beach) ของรัฐเซาท์แคโรไลนา ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากจุดที่บอลลูนตกลงมารายงานว่า เห็นเจ้าหน้าที่ลำเลียงวัตถุที่มีรูปร่างคล้ายกล่องหลายชิ้นขึ้นจากเรือ ก่อนที่จะนำขึ้นไปบนรถบรรทุก   ปฎิบัติการเก็บกู้หลักฐานรวมถึงข้อมูลที่อยู่ในบอลลูนสอดแนมของจีน เกิดขึ้นแทบจะในทันที หลังจากที่เมื่อวานนี้เพนตากอนได้ส่งเครื่องบินขับไล่ F-22 ขึ้นไป ก่อนจะใช้จรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศรุ่น AIM-9X ยิงเข้าใส่บอลลูน   ที่ต้องใช้เครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงเพราะบอลลูนลูกดังกล่าวมีขนาดใหญ่ประมาณรถบัส 3 คันต่อกัน และลอยอยู่ที่ความสูง 60,000 ฟุตหรือ 18,300 เมตรจากพื้นดิน…

ผู้เชี่ยวชาญพบ Lazarus กลุ่มแฮ็กเกอร์เกาหลีเหนืออยู่เบื้องหลังการโจมตีสถาบันวิจัยและองค์กรด้านการแพทย์หลายแห่ง

Loading

    WithSecure บริษัทด้านไซเบอร์พบว่าปฏิบัติการสอดแนมทางไซเบอร์ที่บริษัทตั้งชื่อให้ว่า No Pineapple! แท้จริงแล้วมี Lazarus กลุ่มแฮกเกอร์จากเกาหลีเหนืออยู่เบื้องหลัง   No Pineapple! สามารถขโมยข้อมูลขนาด 100 กิกะไบต์จากเป้าหมายได้อย่างลับ ๆ ด้วยการใช้ช่องโหว่ของเซิร์ฟเวอร์อีเมล Zimbra โดยที่ไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับเหยื่อแต่อย่างใด   ช่องโหว่ทั้ง 2 ตัวที่ว่านี้คือ CVE-2022-27925 ที่เป็นช่องทางเปิดใช้โค้ดจากระยะไกล และ CVE-2022-37042 ที่เปิดโอกาสในการทะลุการระบุตัวตนได้ ทั้งนี้ ล่าสุดช่องโหว่ทั้ง 2 ตัวนี้ได้รับการแก้ไขไปแล้ว   โดยปฏิบัติการนี้เกิดขึ้นระหว่างช่วงเดือนสิงหาคมจนถึงพฤศจิกายน 2022 และมุ่งเป้าไปที่องค์กรด้านการแพทย์ วิศวกรรมเคมี พลังงาน การทหาร และสถาบันวิจัย   WithSecure สามารถเชื่อมโยง No Pineapple! เข้ากับ Lazarus โดยอาศัยหลักฐานหลายอย่าง ขณะที่ก็ใช้การเฝ้าดูกลยุทธ์และรูปแบบการโจมตีด้วย เช่น การใช้ที่อยู่ไอพีที่ไม่มีชื่อโดเมน และการใช้มัลแวร์ Dtrack และ GREASE…

จีนส่งบอลลูนสอดแนมสหรัฐฯ? วิธีโบราณที่กลับมาเป็นตัวเลือกอีกครั้ง

Loading

  –  กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ตรวจพบบอลลูนที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นบอลลูนสอดแนมของจีนบินอยู่เหนือท้องฟ้าของประเทศ ขณะที่จีนยอมรับว่าบอลลูนเป็นของพวกเขาจริง แต่อ้างว่ามันลอยเข้าสหรัฐฯ อย่างไม่ตั้งใจ –  ปัจจุบันวิธีสอดแนมยอดนิยมคือการใช้ดาวเทียม แต่บอลลูนก็เริ่มกลับมาเป็นตัวเลือกอีกครั้ง จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กับคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ดาวเทียมทำไม่ได้ –  การพบบอลลูนสอดแนมของจีนจุดประเด็นความขัดแย้งรอบใหม่กับสหรัฐฯ นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศ ประกาศเลื่อนกำหนดเดินทางเยือนปักกิ่ง ที่ไม่เกิดขึ้นมานานกว่า 5 ปี   ข่าวที่ว่ากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กำลังสังเกตการณ์บอลลูนที่ต้องสงสัยว่าอาจเป็นบอลลูนสอดแนมของประเทศจีน ที่ลอยเหนือฟ้าสหรัฐฯ ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ทำให้เกิดคำถามตามมามากมาย รวมถึงเรื่องที่ว่า มันมาทำไม   ตามการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เส้นทางการบินของบอลลูนลูกนี้ ซึ่งพบเหตุครั้งแรกที่เมืองมอนทานา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 ก.พ. 2566 อาจทำให้มันลอยผ่านพื้นที่อ่อนไหวหลายแห่ง และพวกเขากำลังดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อต่อต้านการรวบรวมข้อมูลข่าวกรองของต่างชาติ   อีกคำถามที่เกิดขึ้นคือ หากบอลลูนดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อสอดแนมจริง เหตุใดจีนจึงเลือกใช้บอลลูนแทนที่จะเป็นดาวเทียม ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การใช้บอลลูนเพื่อการสอดแนมเริ่มกลับมาเป็นตัวเลือกอีกครั้งแล้ว เพราะมันมีข้อดีหลายอย่างที่ทำให้มันน่าสนใจไม่แพ้ดาวเทียม   แต่ไม่ว่าบอลลูนลูกนี้จะมาด้วยเหตุผลใดก็ตาม มันได้สร้างความเสียหายเพิ่มเติมแก่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ย่ำแย่อยู่แล้ว และทำให้แผนการเดินทางเยือนจีนของนายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ…

จีนชี้สิ่งที่ลอยเข้ามาในสหรัฐ “คือเรือเหาะ” ยืนยัน “เป็นเหตุสุดวิสัยเลี่ยงไม่ได้”

Loading

  รัฐบาลปักกิ่งเน้นย้ำว่า วัตถุที่ลอยเข้าไปในสหรัฐ “คือเรือเหาะรวบรวมข้อมูลสภาพอากาศ” และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น “เป็นเรื่องสุดวิสัยยากหลีกเลี่ยง” ด้านรัฐบาลวอชิงตันยืนยันพบ “บอลลูนสอดแนมลูกที่สอง” ในเขตลาตินอเมริกา   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 4 ก.พ. ว่า กระทรวงการต่างประเทศจีนออกแถลงการณ์ เมื่อวันเสาร์ ยืนยันว่า “วัตถุ” ที่รัฐบาลวอชิงตัน “สงสัยและกล่าวหา” ว่าเป็น “บอลลูนสอดแนม” ของรัฐบาลปักกิ่ง ลอยตัวอยู่ในเขตน่านฟ้าของสหรัฐ ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา “คือเรือเหาะเก็บข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา”   ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น “เป็นอุบัติเหตุซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้” อย่างไรก็ตาม รัฐบาล นักการเมือง และสื่อมวลชนในสหรัฐต่างแสดงออกและให้ความเห็นกันอย่างเกินขอบเขต สะท้อนเจตนาชัดเจนว่า ต้องการใส่ร้ายป้ายสีและทำลายภาพลักษณ์ของจีน พร้อมทั้งยืนยันว่า รัฐบาลปักกิ่งเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศทุกข้อ ซึ่งรวมถึงการไม่ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศอื่น   Tensions between the U.S. & China were heightened after a Chinese aerial balloon…

นานาชาติหวั่นถูกสอดแนม หลังจีนตั้งศูนย์อวกาศภาคพื้นดินในแอนตาร์กติกา

Loading

  จีน นอกจากจะเป็นประเทศที่ 3 ที่ส่งมนุษย์เยือนอวกาศหลังสหภาพโซเวียตและสหรัฐฯ เคยทำมาแล้วก่อนหน้า ล่าสุดแผ่นดินใหญ่ยังเล็งสร้างศูนย์อวกาศภาคพื้นดินในทวีปแอนตาร์กติกา เพื่อสนับสนุนเครือข่ายดาวเทียมสำรวจมหาสมุทร   เครือข่ายศูนย์อวกาศภาคพื้นดินของจีน จะจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับและสนับสนุนการส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ ขณะที่หลายประเทศเกิดความกังวลว่าจีนอาจใช้ศูนย์นี้เพื่อจารกรรมทางข้อมูล แม้ทางแผ่นดินใหญ่จะให้การปฏิเสธก็ตาม   ในปี 2020 ศูนย์อวกาศภาคพื้นดินจากสวีเดนที่ให้ช่วยส่งยานอวกาศแก่จีนได้ยุติการต่อสัญญาและทำธุรกิจร่วมกับแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากเกิดความเปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์   ขณะที่ China Aerospace Science and Technology Group Co. เล็งสร้างสถานีวิจัย Zhongshan ซึ่งเป็นหนึ่งในสองสถานีวิจัยถาวรของจีนบนทวีปแอนตาร์กติกา หลังจากชนะการเสนอราคาที่ 43.95 ล้านหยวน หรือราว 6.53 ล้านดอลลาร์   แม้จะมีภาพศูนย์อวกาศภาคพื้นดินแห่งใหม่ของจีนที่ตั้งในทวีปแอนตาร์กติกาเผยแพร่ออกมา แต่สำหรับรายละเอียดทางเทคนิคของโครงการกลับยังไม่ปรากฎ   โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของไอเดียที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทางทะเลของจีนและช่วยให้จีนกลายเป็นชาติมหาอำนาจเหนือน่านน้ำ   ขณะเดียวกัน ศูนย์อวกาศภาคพื้นดินของจีนที่ตั้งขึ้นใน Patagonia ประเทศอาร์เจนติน่า สร้างความกังวลให้กับนานาชาติถึงจุดประสงค์ของการตั้งศูนย์นี้ว่าจะมีการแอบสอดแนมหรือไม่   แม้ว่าทางการจีนจะยืนยันและรับรองว่าเป้าหมายของการสร้างสถานีคือการเฝ้าสังเกตการณ์ทางอวกาศเท่านั้น       ————————————————————————————————————————- ที่มา : …

เมื่อ กต.เจรจาสหรัฐ ถอนสถานีสอดแนม ‘รามสูร’ 2519

Loading

  พอไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 คนไทยก็กลัว “ทฤษฎีโดมิโน” ซึ่งเป็นหลักคิดของคนบางกลุ่มว่าเมื่ออินโดจีนกลายเป็นคอมมิวนิสต์หมดแล้ว เป้าหมายต่อไปก็คือประเทศไทย แต่หนังสือ 3 เล่มที่บันทึก “การทูตไทย” ที่ต้องเผชิญวิกฤตในช่วงนั้นได้เปิดเผยเบื้องหลังที่ทำให้ไทยรอดจากปากเหยี่ยวปากกาได้อย่างน่าสนใจยิ่ง บันทึกความทรงจำของคุณอาสา สารสิน, ม.ร.ว.เทพกมล เทวกุล และคุณวิทยา เวชชาชีวะ ที่เพิ่งตีพิมพ์ออกมาเมื่อเร็ว ๆ นี้เนื่องในวาระสิริอายุครบ 7 รอบตรงกันของทั้งสามท่านทำให้คนไทยได้รับทราบรายละเอียดของการดำเนินนโยบายการทูตในจังหวะนั้น อย่างที่หลายคนอาจจะไม่ได้รับรู้มาก่อน     หนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ทรงคุณค่าสำหรับการได้เรียนรู้ว่าในยามที่บ้านเมืองเผชิญกับการต้องแก้วิกฤตที่มีผลต่อความอยู่รอดของประเทศนั้น การทูตที่ชาญฉลาด, กล้าหาญและสอดคล้องกับความเป็นจริงในช่วงนั้น ๆ ได้ช่วยทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นภยันตรายได้อย่างไร หนังสือเล่มนั้นชื่อ “นักสู้…อานันท์ กล้าคิด กล้าทำ กล้าเสี่ยง” เขียนโดยคุณวิทยา เวชชาชีวะ เป็นการบันทึกที่ผมถือว่ามีคุณประโยชน์สำหรับคนรุ่นหลังที่จะเรียนรู้, ศึกษาและนำมาประกอบการพิจารณาสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง คุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศสองรอบ ก่อนหน้านั้นท่านเป็นปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ก่อนจะลาออกไปทำงานในภาคเอกชน แต่ในขณะที่ท่านทำหน้าที่เป็น “นักการทูตอาชีพ” นั้นต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่ท้าทายประเทศชาติเป็นอย่างยิ่งครั้งแล้วครั้งเล่า   ในช่วงเวลาที่ไซ่ง่อนแตก สหรัฐถอนตัวกลับบ้าน ประเทศไทยซึ่งอนุญาตให้อเมริกามาตั้งฐานทัพในหลาย ๆ…