สหรัฐฯ แบนอุปกรณ์สื่อสาร ‘หัวเว่ย-ZTE’ อ้างกระทบความมั่นคงของชาติ

Loading

  รัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ออกคำสั่งห้ามใช้อุปกรณ์สื่อสารจากบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ และบริษัท ZTE ของจีน โดยอ้างว่ากระทบต่อความมั่นคงของชาติจนถึงขั้นที่ “ไม่อาจยอมรับได้”   คณะกรรมาธิการกำกับดูแลกิจการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Commission : FCC) ประกาศวานนี้ (25 พ.ย.) ว่า ทางหน่วยงานยังได้บังคับใช้กฎห้ามการนำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์สอดแนมที่ผลิตโดยบริษัท Dahua Technology รวมไปถึงกล้องวิดีโอวงจรปิดของบริษัท Hangzhou Hikvision Digital Technology และบริษัทโทรคมนาคม Hytera Communications Corp ด้วย   มาตรการนี้ถือเป็นความพยายามล่าสุดของสหรัฐฯ ที่จะกีดกันบริษัทไฮเทคของจีนท่ามกลางความวิตกกังวลว่าปักกิ่งอาจใช้อุปกรณ์ของบริษัทเหล่านี้เป็นเครื่องมือสอดแนมชาวอเมริกัน   “กฎใหม่เหล่านี้เป็นหนึ่งในความพยายามของเราที่จะปกป้องชาวอเมริกันจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงของชาติที่เกิดจากระบบโทรคมนาคม” เจสซิกา โรเซนวอร์เซล ประธาน FCC ระบุในถ้อยแถลง   กรรมาธิการทั้ง 4 คนใน FCC ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรครีพับลิกัน 2 คน…

องค์กรคุ้มครองสิทธิ์สหรัฐฯ เรียกร้องให้ศาลสูงสุดพิจารณาว่ารัฐควรมีติดใช้กล้องส่องประชาชนโดยไร้หมายได้หรือไม่

Loading

  องค์กรคุ้มครองสิทธิ์สหรัฐฯ หรือ American Civil Liberties Union (ACLU) ขอให้ศาลสูงสุดของสหรัฐฯ พิจารณาว่าควรอนุญาตให้กล้องวงจรปิดที่ตำรวจติดตั้งไว้บนเสาไฟฟ้าโดยไม่มีหมายศาลนั้นสามารถส่องดูประชาชนถึงในบ้านได้หรือไม่   ในคำขอของ ACLU มีเนื้อหาขอให้ศาลสูงพิจารณาผลการตัดสินของศาลระดับรองที่ไม่มีข้อยุติเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของการติดตั้งกล้องวงจรปิดดังกล่าว   ก่อนหน้านี้ มีกรณีที่เจ้าหน้าที่จากสำนักงานแอลกอฮอล์ ยาสูบ อาวุธปืน และวัตถุระเบิด (ATF) ที่ใช้ภาพจากกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งในบริเวณบ้านของ แดฟนี มัวร์ (Daphne Moore) เพื่อใช้เป็นหลักฐานในคดีที่ฟ้อง นีอา มัวร์-บุช (Nia Moore-Bush) บุตรสาวของแดฟนี กับสามีในข้อหาขายอาวุธปืนที่ไม่มีใบอนุญาต รวมถึงการขายยาผิดกฎหมายด้วย   อย่างไรก็ดี มัวร์-บุช ร่วมกับจำเลยอีก 4 คน ได้ยื่นขอให้มีการตัดพยานหลักฐานที่ได้จากกล้องวงจรปิดออกไปเนื่องจากเป็นการติดตั้งโดยไม่มีหมายศาล ซึ่งศาลชั้นต้นไม่มีคำตัดสินชี้ขาด แต่ศาลอุทธรณ์ชี้ว่าการรวบรวมพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นไปโดยสุจริต นำไปสู่การที่จำเลยยอมรับสารภาพในที่สุด   ด้วยเหตุนี้ ACLU จึงร้องขอให้ศาลสูงสุดของสหรัฐฯ มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการนำบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ 4 (Fourth Amendment) ที่ว่าด้วยสิทธิของพลเมืองในการรู้สึกปลอดภัยในเคหะสถานของตนเอง มาปรับใช้ในยุคปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม  …

วิธีเช็กเบราว์เซอร์ในแอปกำลังติดตามเราหรือไม่

Loading

  วิธีเช็กเบราว์เซอร์ในแอปกำลังติดตามเราหรือไม่ โดยแอปมักเปิดลิงก์เหล่านี้โดยใช้เบราว์เซอร์ในแอปภายในแอปโซเชียลมีเดีย เช่น TikTok และ Instagram นี่คือเมื่อคุณเปิดลิงก์ภายในแอปโดยไม่ต้องออกจากแอปและเปลี่ยนไปใช้เบราว์เซอร์อื่น แม้จะสะดวกแบบนี้ มีผลเสียเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือเบราว์เซอร์ดังกล่าวสามารถติดตามกิจกรรมของคุณทางออนไลน์ได้   วิธีเช็กเบราว์เซอร์ในแอปกำลังติดตามเราหรือไม่   หากคุณกังวลเกี่ยวกับเบราว์เซอร์ในแอปที่ติดตามคุณ เว็บไซต์ InAppBrowser เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ซึ่งคุณสามารถใช้ตรวจสอบได้ วิธีใช้งานบนมือถือและเดสก์ท็อปมีดังนี้   1.  เปิดแอป LINE , Instagram , facebook หรือแอปอื่น ๆ ที่คุณต้องการตรวจสอบบนอุปกรณ์มือถือของคุณ   2.  แชร์เว็บ หรือส่งเว็บ InAppBrowserในกลุ่มแชท หรือโซเชียล หรือส่งให้เพื่อนภายในแอป คุณยังสามารถส่งให้ตัวเองถ้าเป็นไปได้ ที่อนุญาตให้คุณเปิดลิงก์ในแอปได้   3.  แตะที่ลิงค์เพื่อเปิด InAppBrowser ภายในแอปโดยใช้เบราว์เซอร์ในแอป       4.  เมื่อโหลดขึ้นมา จะมีรายงานที่ JavaScript ทำงานบนอุปกรณ์ของคุณ นอกจากนี้ยังจะบอกคุณถึงการใช้งาน JavaScript ที่เป็นไปได้…

นอร์เวย์จับสายลับรัสเซีย ปลอมตัวเป็นนักวิชาการมหาวิทยาลัย

Loading

  หน่วยความมั่นคงนอร์เวย์จับกุมนักวิชาการมหาวิทยาลัยชาวบราซิล ซึ่งเชื่อว่าแท้จริงแล้วเขาเป็น “สายลับรัสเซีย”   เมื่อวันจันทร์ (24 ต.ค.) หน่วยความมั่นคงนอร์เวย์จับกุม โฆเซ แอสซิส เกียมมาเรีย นักวิชาการมหาวิทยาลัยชาวบราซิลซึ่งเป็นนักวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัยทรอมโซทางเหนือของนอร์เวย์ เพราะพบว่าเขาไม่ใช่นักวิชาการ ไม่ใช่ชาวบราซิล แต่เป็น “สายลับจากรัสเซีย”   เฮ็ดวิก โม รองหัวหน้าตำรวจความมั่นคง (PST) กล่าวว่า “เราได้ขอให้มีการขับไล่นักวิจัยชาวบราซิลที่มหาวิทยาลัยทรอมโซออกจากนอร์เวย์ เพราะเราเชื่อว่าเขาเป็นภัยคุกคามต่อผลประโยชน์ของชาติเรา”     เขาเสริมว่า “หน่วยงานความมั่นคงกังวลว่าเขาอาจได้รับเครือข่ายและข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายต่าง ๆ ของนอร์เวย์ แม้ว่าสิ่งนี้จะไม่ใช่ภัยคุกคามต่อความมั่นคงของอาณาจักร แต่เรากังวลว่ารัสเซียจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในทางที่ผิด”   ด้านเพื่อนร่วมงานของเกียมมาเรีย ศ.กุนฮิลด์ ฮูเกนเซน ยอร์ฟ จากภาควิชาการศึกษาความมั่นคง กล่าวว่า เกียมมาเรียเข้ามาทำงานที่มหาวิทยาลัยเมื่อเดือน ธ.ค. 2021 หลังเขาติดต่อมายังภาควิชาของเธอว่า มีความสนใจในการศึกษาเรื่องความมั่นคงของภูมิภาคอาร์กติก   “เกียมมาเรียติดต่อฉันมาทางอีเมล บอกว่าเขาสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความมั่นคงในภูมิภาคอาร์กติก … มีศาสตราจารย์ในแคนาดาที่ฉันรู้จักให้การแนะนำเขามา และเราก็ได้ตรวจสอบประวัติของเขาด้วย”   ยอร์ฟบอกว่า จากข้อมูลที่ได้มาก เกียมมาเรียสำเร็จการศึกษาจากศูนย์การศึกษาด้านการทหาร…

เทคโนโลยีที่อาจ “สอดแนม” คุณ!!!

Loading

  เมื่อเราก้าวเข้าสู่พรมแดนใหม่ ๆ ด้วยเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุด และเพลิดเพลิน ผสมปนเปได้ด้วยความสะดวกสบาย ไปกับประโยชน์เชิงบวกมากมายที่จะเกิดขึ้นกับวิธีการทำงาน การเล่น การบันเทิง พักผ่อน และการใช้ชีวิต   แต่เหรียญนั่นมีสองด้าน ดาบนั่นมีสองคม เราต้องมีสติอยู่เสมอและเตรียมพร้อมสำหรับผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้ในทางที่ผิดทั้งทางตรงและทางอ้อม ผมอยากบอกเล่าถึงเทรนด์เทคโนโลยีที่อันตรายที่สุด อีกประเภทที่มีผลทั้งในแง่บวกและลบ อีกทั้งยังอยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด     เทคโนโลยีการสอดแนมอุปกรณ์สมาร์ทโฮม (Spying Smart Home Devices)     เพื่อให้อุปกรณ์สมาร์ทโฮมตอบคำถาม รับคำสั่ง และมีประโยชน์มากที่สุด อุปกรณ์เหล่านี้จำเป็นต้องฟัง และติดตามข้อมูลเกี่ยวกับตัวเรา และนิสัยประจำของเราตลอดเวลา ปัจจุบันแกนหลักของเทคโนโลยีนี้ คือ ลำโพงอัจฉริยะ ที่จะเชื่อมต่อและส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์สมาร์ทโฮมชิ้นอื่นๆภายในบ้าน ซึ่งเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบแนวคิด I.O.T หรือชื่อเต็มๆว่า Internet Of Thing คือการเชื่อมต่อถึงได้อย่างครอบคลุมจากอุปกรณ์ที่หลากหลายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยสั่งเปิด-ปิด ผ่านระบบผ่านลำโพงอัจฉริยะ เพื่อเชื่อมต่อ ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า หลอดไฟ เครื่องปรับอากาศ กล้องวงจรปิด และอีกมากมาย…

เปิด 3 แอปพลิเคชัน ถูกแบนเพราะผิดกฎหมาย เปิดให้สอดแนม-แฮกมือถือได้

Loading

  เปิด 3 แอปฯ มือถือ ที่ถูกแบนเพราะผิดกฎหมาย เพราะเปิดข้อมูลส่วนบุคคลให้คนอื่นรู้ เสี่ยงโดนสอดแนม ถูกคุกคามทางเพศ และแฮกมือถือชาวบ้านได้   ชวนวัยรุ่นดิจิทัลไลฟ์ มาทำความรู้จัก เปิด 3 แอปฯ มือถือ ที่ผิดกฎหมายและถูกแบนเพราะเปิดโอกาสให้ชีวิตดิจิทัลเราเสี่ยงภัยมากขึ้น     AndroDumpper   แอปฯ AndroDumpper เป็นแอปพลิเคชันที่เปิดให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์สามารถเชื่อมต่อ Wi-Fi ของคนอื่นได้โดยไม่ต้องใช้รหัส Wi-Fi ด้วยฟีเจอร์ของมันทำให้คนร้ายอาจใช้ช่องโหว่นี้ในการโจมตีผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ จึงถูกถอดออกจาก Play Store และมีส่วนที่ผิดกฎหมายด้วย เพราะการพยายามเข้าสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่ามีความผิด ในการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของผู้อื่น   ดังนั้นถ้าใครที่แอปฯ แฮก Wi-Fi ข้างบ้านก็ระวังตัวให้ดีครับ ถ้าเขาจับได้ก็อาจเจอดีได้ ส่วนใครที่บ้านมี Wi-Fi แรก ๆ ก็ระวังให้ดี เพราะไม่แน่ใครที่เดินผ่านไปมาอาจะแอบพยายามยืนแฮก Wi-Fi หน้าบ้านของคุณได้     Secret SMS Replicator  …