“ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม?” แนะ 10 จุดสังเกต ไม่ตกเป็นเหยื่อ “ข่าวปลอม”

Loading

    ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา “เฟคนิวส์” หรือ “ข่าวปลอม” ได้โผล่ว่อนโซเซียล โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ระบาด ข่าวปลอมเกี่ยวกับสุขภาพ และเรื่องโควิด   ทำให้ภาครัฐต้องถึงกับมีนโยบายให้แต่ละหน่วยงานภาครัฐตั้งทีมขึ้นมารับผิดชอบเพื่อตรวจสอบข่าวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ กรม หรือกระทรวง และให้รีบแจ้งประชาสัมพันธ์ถึงข้อเท็จจริงต่อสังคม เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกและเข้าใจผิด!?!   อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาล จะมีการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนอยู่ตลอดเวลา แต่มิจฉาชีพได้ปรับเปลี่ยน รูปแบบกลโกง ให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ทำให้ยังมีประชาชนตกเป็นเหยื่อสูญเสียเงินให้กับมิจฉาชีพ ซึ่งจากรายงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พบว่า 70% ของข่าวสารที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย คือ ข่าวปลอม!!   ทั้งนี้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ตนเองได้รู้ทันข่าวปลอมผ่านสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะบนเฟซบุ๊ก ทางกระทรวงดีอีเอส จึงแนะนำให้สังเกตจุดสำคัญ 10 ข้อ ที่มีลักษณะเป็น “ข่าวปลอม”  ดังนี้   1. สงสัยข้อความพาดหัว : ข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่ดึงดูดความสนใจโดยใช้ตัวหนังสือเด่น ๆ และเครื่องหมายอัศเจรีย์…