สหรัฐฯตั้งข้อหา 2 จนท.ข่าวกรองจีน หลังพยายามติดสินบนหน่วยงานปมคดีหัวเว่ย

Loading

  วันที่ 25 ตุลาคม 2565 เดอะการ์เดียนของอังกฤษรายงานเมื่อวานนี้ (24 ตุลาคม) ตามเวลาท้องถิ่นว่า อัยการกลางสหรัฐฯ ได้ทำการตั้งข้อหาพร้อมออกหมายจับ เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองจีน 2 คน จากความพยายามติดสินบนเจ้าหน้าที่ทางกฎหมาย ในการจะเข้าถึงข้อมูลวงในเกี่ยวกับคดีอาญากับหัวเว่ย บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของจีน   เมอร์ริค การ์แลนด์ อัยการสูงสุดสหรัฐฯ เปิดเผยถึงการตั้งข้อหา 2 เจ้าหน้าที่จีนว่า พวกเขายังได้คุกคามผู้เห็นต่างในสหรัฐฯ และกดดันให้นักวิชาการของสหรัฐฯ ทำงานให้กับพวกเขาแสดงให้เห็นว่า จีน “พยายามแทรกแซงสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในสหรัฐอเมริกาและบ่อนทำลายระบบตุลาการของเราที่ปกป้องสิทธิ์เหล่านั้น   “กระทรวงยุติธรรมจะไม่ยอมให้อำนาจต่างชาติพยายามบ่อนทำลายหลักนิติธรรมซึ่งเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยของเรา” อัยการสูงสุด กล่าว   ตามเอกสารคำฟ้อง เจ้าหน้าที่ข่าวกรองจีน 2 คนที่ถูกตั้งข้อหาคือ เห่อ กัวชุน และเฉิง หวัง พยายามเตรียมแผนเพื่อขโมยบันทึกกลยุทธ์การดำเนินคดี รายชื่อพยาน และหลักฐานที่เป็นความลับอื่นๆ จากสำนักงานอัยการสหรัฐฯ ในเขตตะวันออกของนิวยอร์ก   “นี่เป็นความพยายามอย่างมหันต์โดยเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อปกป้องบริษัทที่ตั้งอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนจากความรับผิดชอบและบ่อนทำลายความสมบูรณ์ของระบบตุลาการของเรา” อัยการสูงสุด กล่าว   ด้านแหล่งข่าวที่ติดตามเรื่องดังกล่าวระบุว่า เอกสารคำฟ้องต่อนายเห่อและหวังนั้น…

สายลับจีน x GE Secret เมื่อกระทรวงยุติธรรมสหรัฐกล่าวหาปักกิ่งใช้หน่วยสืบราชการลับเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมของตน

Loading

  คณะลูกขุนของรัฐบาลกลางสหรัฐ ตัดสินลงโทษเจ้าหน้าที่ข่าวกรองระดับสูงของจีน ฐานพยายามขโมยความลับจากบริษัท General Electric ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่กระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐส่งผู้ร้ายข้ามแดนไปยังสหรัฐฯ เพื่อพิจารณาคดี   กระทรวงยุติธรรมกล่าวว่าคณะลูกขุนของรัฐบาลกลางในรัฐโอไฮโอพบว่า Xu Yanjun เจ้าหน้าที่ MSS อาวุโสจากมณฑลเจียงซูมีความผิดใน 5 กระทง รวมถึงอีก 2 กระทงที่พยายามกระทำการจารกรรมทางเศรษฐกิจ   Xu ถูกจับในเบลเยียมในปี 2018 เขาถูกเจ้าหน้าที่สหรัฐวางแผนจับที่นั่น ซึ่งมีการติดตามความพยายามของเขาในการขโมยเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบิน โดยเฉพาะพัดลมเครื่องยนต์อากาศยานที่ผลิตขึ้นโดย GE Aviation   โดยเฉพาะ“สำหรับผู้ที่สงสัยเป้าหมายที่แท้จริงของสาธารณรัฐประชาชนจีน นี่ควรเป็นการปลุกให้ตื่นขึ้น” Alan Kohler ผู้ช่วยผู้อำนวยการแผนกต่อต้านข่าวกรองของเอฟบีไอ กล่าว   “พวกเขากำลังขโมยเทคโนโลยีของอเมริกาเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการทหาร”   Matthew Olsen หัวหน้าแผนกความมั่นคงแห่งชาติของกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า มันแสดงให้เห็นว่าจีนใช้การจารกรรมเพื่อทำให้อุตสาหกรรมของตนทันสมัยได้อย่างไร“   ด้วยการสนับสนุนจากพันธมิตรของเรา เราจะดำเนินการสอบสวน ดำเนินคดี และจัดการผู้ที่พยายามเอาผลงานการสร้างสรรค์ของอเมริกาอย่างผิดกฎหมายต่อไป”   เขากล่าวว่า การตัดสินลงโทษถือเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งพยายามอย่างหนักที่จะนำเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของจีนขึ้นศาล   มันเกิดขึ้นในขณะที่หน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ…

อดีต จนท.ความปลอดภัยไซเบอร์แฉทวิตเตอร์ปล่อยสายลับจีน-อินเดียแฝงตัวทำงานในบริษัท

Loading

  อดีตหัวหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัยของทวิตเตอร์ ปีเตอร์ “มัดจ์” แซตโก ให้ปากคำต่อรัฐสภาอเมริกันว่า มีสายลับจีนอย่างน้อย 1 คนทำงานอยู่ในบริษัท นอกจากนั้น ทวิตเตอร์ยังปล่อยให้อินเดียส่งสายลับอีกจำนวนหนึ่งเข้าไปทำงานเช่นกัน และทำให้ 2 ประเทศดังกล่าวมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลอ่อนไหวของผู้ใช้   ถ้อยแถลงเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการให้การของ แซตโก ซึ่งเป็นทั้งแฮ็กเกอร์ชื่อดังและผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมทั้งยังเป็นผู้เปิดโปงความไม่ชอบมาพากลของทวิตเตอร์ ต่อคณะกรรมาธิการการยุติธรรมของวุฒิสภาสหรัฐฯ เมื่อวันอังคาร (13)   แซตโก แฉว่า ทวิตเตอร์มีปัญหาระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์หละหลวมทำให้เสี่ยงถูกแสวงหาผลประโยชน์จากวัยรุ่น อาชญากร และสายลับ รวมทั้งทำให้ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ตกอยู่ในความเสี่ยง   เขาเสริมว่า พนักงานทวิตเตอร์บางคนกังวลว่า รัฐบาลจีนอาจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้ของบริษัท   ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ถูกวิจารณ์อย่างหนักเรื่องการรักษาความปลอดภัยหละหลวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2020 ที่แฮกเกอร์วัยรุ่นเข้าควบคุมบัญชีของผู้ใช้ที่มีชื่อเสียงหลายสิบบัญชี ซึ่งรวมถึงบัญชีของอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ   ในการให้ปากคำเมื่อวันอังคาร แซตโกเปิดเผยปัญหาการรักษาความปลอดภัยของทวิตเตอร์ที่ร้ายแรงกว่านั้นเสียอีก ด้วยการกล่าวหาเป็นครั้งแรกว่า ก่อนเขาถูกไล่ออกราว 1 สัปดาห์ เขาได้รับรู้ว่า บริษัทแห่งนี้ได้รับแจ้งจากสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) สหรัฐฯ ว่า มีสายลับจากหน่วยข่าวกรองของกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐของจีนแฝงตัวทำงานอยู่ในบริษัท…

MI5 เตือน ส.ส.อังกฤษ พบสายลับจีนแทรกซึม หวังสร้างอิทธิพลทางการเมือง

Loading

  ข่าวกรองสหราชอาณาจักรตรวจพบสปายจากจีน เผยบริจาคเงินให้นักการเมืองหลายราย เพื่อผลักดันนโยบายที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนสนใจ วันที่ 13 ม.ค.2565 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า หน่วยความมั่นคง หรือ MI5 ของสหราชอาณาจักร ได้ออกมาเตือนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถึงการตรวจพบสายลับจากจีนที่พยายามเข้ามาแทรกแซงและสร้างอิทธิพลทางการเมืองภายในประเทศ โดยทางหน่วยงานได้กล่าวหาว่า คริสติน ลี นักกฎหมายที่ทำการบริจาคเงินให้นักการเมืองในสหราชอาณาจักรหลายราย มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยเธอใช้เงินทุนจากจีนและฮ่องกงมาสนับสนุนนักการเมือง ทาง MI5 ยังระบุว่า หากผู้ใดได้รับการติดต่อจาก คริสติน ลี ขอให้คำนึงถึงความเกี่ยวข้องที่ตัวเธอมีต่อรัฐบาลจีน และอาจมีความพยายามใช้เงินเพื่อผลักดันนโยบายที่พรรคคอมมิวนิสต์ให้ความสนใจ ปกติแล้วทาง MI5 มักจะไม่ค่อยออกมาประกาศเตือนในลักษณะนี้บ่อยนัก ครั้งนี้พวกเขาเผยว่าเป็นการสอบสวนมาเป็นระยะเวลานาน และพบว่ามีการพุ่งเป้ามายังนักการเมืองอย่างชัดเจน มีการเปิดเผยว่า แบร์รี การ์ดิเนอร์ อดีตรัฐมนตรีแรงงานได้รับเงินกว่า 500,000 ปอนด์ (22.8 ล้านบาท) จาก คริสติน ลี เพื่อเป็นเงินเดือนให้กับทีมงาน และเพิ่งทราบว่าเธอเป็นสปายหลังได้รับการติดต่อจาก MI5 นอกจากนี้ ลูกชายของ คริสติน ลี ยังเป็นหนึ่งในทีมงานของนายการ์ดิเนอร์ ซึ่งล่าสุดได้ยื่นลาออกไปแล้วหลังทราบเรื่อง โดยข้อมูลข่าวกรองยืนยันว่าไม่มีหลักฐานใดๆ ที่บ่งชี้ว่าลูกชายมีส่วนรับรู้ถึงกิจกรรมที่ผิดกฎหมายของมารดา…