สหรัฐประณามศาลรัสเซียสั่งจำคุกชาวอเมริกันคดีสายลับ

Loading

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐแสดงความไม่พอใจอย่างหนัก ต่อการที่ศาลของรัสเซียพิพากษาให้อดีตนาวิกโยธินชาวอเมริกันรับโทษจำคุก 16 ปี ในข้อหาจารกรรม และเรียกร้องการปล่อยตัวโดยเร็ว ด้านรัฐบาลมอสโกกล่าวว่า “ไม่ใช่เรื่องการเมือง” สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ว่านายไมค์ ปอมเปโอ รมว.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ แถลงเมื่อวันจันทร์ เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังศาลแขวงกรุงมอสโกมีคำพิพากษาให้พลเมืองสหรัฐ คือนายพอล วีแลน อดีตนาวิกโยธินวัย 50 ปี รับโทษจำคุกเป็นเวลา 16 ปี ฐานมีความผิดจริงในข้อหาจารกรรมข้อมูลลับด้านความมั่นคงของรัสเซีย ว่าเป็นคำตัดสิน “ที่เลวร้าย” และไม่เป็นธรรมอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการไต่สวน “ซึ่งเป็นความลับ” และไม่มีการสืบพยานชัดเจน พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัววีแลนโดยเร็วที่สุด ขณะที่นายจอห์น ซัลลิแวน เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงมอสโก กล่าวว่า “ผิดหวังอย่างมาก” กับคำพิพากษาของศาล “แต่ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายมากนัก” เนื่องจากพอจะคาดการณ์ได้ตั้งแต่ต้นว่ากระบวนการของคดีจะเป็นไปในทิศทางใด ทว่าทิ้งท้ายเป็นนัยว่ารัฐบาลวอชิงตัน “ยินดีเจรจาต่อไป” ด้านนายวลาดิเมียร์ เซเรเบนคอฟ ทนายความของวีแลน ยืนยันจะมีการอุทธรณ์แน่นอน และอ้างการที่ลูกความของตัวเองอาจได้เป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนนักโทษระหว่างสหรัฐกับรัสเซีย ต่อมานายดมิทรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน กล่าวว่าบทลงโทษของวีแลนเป็นไปตามครรลองของกระบวนการยุติธรรม  “ซึ่งมีการพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับแล้ว” และยืนยันว่าพลเมืองสหรัฐรายนี้…

ตัวตนข้าราชการสองหน้า แฉข้อมูลลับให้สื่อจนริชาร์ด นิกสัน ทิ้งเก้าอี้ปธน. คดีวอเตอร์เกต

Loading

(ซ้าย) ริชาร์ด นิกสัน (ขวา) มาร์ก เฟลต์ ฉากหลังเป็นภาพการจัดแสดงหลักฐานจากวาระครบ 30 ปี การงัดสำนักงานพรรคเดโมแครต ที่วอเตอร์เกต (ภาพจาก PAUL J. RICHARDS / AFP) คดีวอเตอร์เกต (Watergate) อันลือลั่นซึ่งว่าด้วยการแฉข้อมูลทางการเมือง แม้จะล่วงเลยมาหลายสิบปีแล้ว จนถึงปัจจุบัน คดีนี้ยังอยู่ในความทรงจำในฐานะเรื่องอื้อฉาวที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา หรืออาจเป็นประวัติศาสตร์โลก คดีวอเตอร์เกต การแฉข้อมูลเบื้องลึกว่าด้วยการดำเนินการของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน และผู้ใกล้ชิดซึ่งกระทำการโดยผิดกฎหมายเพื่อให้มีชัยเหนือคู่แข่งทางการเมือง และชนะการเลือกตั้ง แต่จุดที่ทำให้ถูกเปิดโปง คือกรณีที่ทีมงานเข้าไปติดตั้งเครื่องดักฟังในศูนย์รณรงค์หาเสียงของพรรคเดโมแครต และถูกตำรวจจับได้ ขณะที่สื่อสารมวลชนที่รายงานเบื้องหลังของการงัดแงะครั้งนั้นอย่างต่อเนื่อง จนข้อมูลเบื้องลึกถูกเปิดโปงใหญ่โต จากคดีงัดแงะเล็กน้อยกลายเป็นคดีอื้อฉาวระดับประเทศอันเป็นผลทำให้ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ประกาศลาออกจากตำแหน่ง และน้ำตาตกต่อหน้าการแถลงข่าว สื่อมวลชนกลุ่มที่ปฏิบัติการนี้เองมีแหล่งข่าวปริศนารายสำคัญซึ่งสาธารณชนรู้จักในนามแฝงว่า “ดีพโธรต” (Deep Throat) แล้วเขาคือใคร? หากเอ่ยถึงในข้อเท็จจริงโดยรวมแล้ว คดีวอเตอร์เกทในช่วงต้นยุค 70s มีตัวละครสำคัญที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อคดีคือบทบาทสื่อมวลชนทั้งของวอชิงตัน โพสต์ (The Washington Post) และนิวยอร์ก ไทม์ส (The New York Times) โดยเฉพาะบทบาทการทำข่าวสืบสวนสอบสวนโดยบ๊อบ…

เจาะลึก ‘หวังลี่เฉียง’ ที่อ้างเป็น ‘สายลับจีน’ผู้แปรพักตร์

Loading

ภาพถ่ายจากวิดีโอรายการทีวีออสเตรเลีย ซึ่ง หวัง “วิลเลียม” ลี่เฉียง ผู้อ้างตัวเป็น “สายลับจีน” แปรพักตร์ ออกมาให้สัมภาษณ์ ‘Defector’ Wang Liqiang and the Great GameBy Dave Makichuk ความเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ดูเหมือน หวัง “วิลเลียม” ลี่เฉิง อดีตนักศึกษาศิลปะวัย 27 ปี ผู้อ้างเป็นสายลับจีนซึ่งขอ “แปรพักตร์” อย่างเก่งที่สุดก็น่าจะเป็นมือปฏิบัติการระดับล่างๆ เท่านั้น เจมส์ แองเกิลตัน (James Angleton) [1] อดีตผู้คุมงานด้านต่อต้านสปายสายลับ ในสำนักงานซีไอเอมาอย่างยาวนาน เคยพูดถึงการต่อต้านข่าวกรอง โดยบรรยายว่ามันคือ “ดงแห่งกระจก” (Wilderness of Mirrors) ซึ่งภาพของสิ่งต่างๆ จะถูกสะท้อนไปสะท้อนมา ยากแก่การจำแนกว่า สิ่งนั้นมีรูปร่างลักษณะที่แท้จริงอย่างไรกันแน่ คำพูดนี้เห็นกันว่าคมคายสมเหตุสมผล เนื่องจากในธุรกิจของสปายสายลับนั้น สิ่งต่างๆ ไม่เคยเป็นอย่างที่มันดูเหมือนจะเป็นเลย ในเดือนธันวาคมนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีนและหน่วยงานด้านข่าวกรองของประเทศนั้น กลายเป็นข่าวพาดหัวหลายๆ…

สงครามจารกรรมระอุ สหรัฐไล่ทูตจีนฐานแอบสอดแนมฐานทัพ

Loading

หนังสือพิมพ์ The New York Times รายงานว่ารัฐบาลสหรัฐขับไล่เจ้าหน้าที่สถานฑูตจีน 2 คนใน หลังจากที่พวกเขาขับรถไปยังฐานทัพที่มีความมั่นคงสูงในรัฐเวอร์จิเนีย จากเรื่องที่กิดขึ้น อาจเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี ที่นักการทูตจีนต้องสงสัยว่าอาจทำงานด้านจารกรรมในสหรัฐ รายงานระบุว่า มีชาวจีน 6 คนที่เกี่ยวข้องกับการไปด้อมๆ มองๆ ฐานทัพสำคัญ หนึ่งในนั้นรวมถึงบรดาาภรรยาของเจ้าหน้าที่ทางการทูต เมื่อถูกจับได้ คนกลุ่มนี้ก็พยายามหลบเลี่ยงทหารสหรัฐที่ติดตามมา กว่าจะหยุดได้ก็เมื่อไม่สามารถไปต่อได้ เนื่องจากรถดับเพลิงปิดกั้นเส้นทางของพวกเขา เจ้าหน้าที่สหรัฐเชื่อว่าเจ้าหน้าที่จีนอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับที่ปฏิบัติงานโดยอำพรางเป็นเจ้าหน้าที่ทางการทูต เรื่องนี้เกิดขึ้นในเดือนกันยายนซึ่งทั้งรัฐบาลสหรัฐและรัฐบาลจีนไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ แต่กรณีนี้ยิ่งเพิ่มความกังวลอย่างมากต่อรัฐบาลทรัมป์ที่กำลังจับตามองจีนว่าอาจกำลังขยายความพยายามสอดแนมในสหรัฐ เนื่องจากทั้งสองประเทศเผชิญหน้ากันมากขึ้นในด้านยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ และเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองสหรัฐยังกล่าวว่าจีนเป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐด้านการจารกรรมมากกว่าประเทศอื่น ๆ เจ้าหน้าที่ของสหรัฐเผยว่า ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่ของจีนที่มีหนังสือเดินทางทางการทูตไปปรากฏตัวที่ศูนย์วิจัยหรือหน่วยงานของสหรัฐอย่างเงียบๆ หลายครั้ง โดยการเข้ามาสอดแนมฐานทัพเป็นเพียงหนึ่งในกรณีดังกล่าวเท่านั้น การขับทูตครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สหรัฐบังคับให้พนักงานสถานทูตจีนสองคนเดินทางออกไปเมื่อปี 2530 และแสดงให้เห็นว่าฝ่ายสหรัฐใช้มาตรการที่แข้งกร้าวมากขึ้นกับผู้ต้องสงสัยชาวจีนว่าอาจจะเข้ามาจารกรรม ในวันที่ 16 ตุลาคม ไม่กี่สัปดาห์หลังจากการบุกรุกและการขับเจ้าหน้าที่ทูตจีน กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐได้ประกาศข้อจำกัดเกี่ยวกับกิจกรรมของนักการทูตจีนในสหรัฐ ซึ่งกำหนดให้ทูตจีนต้องแจ้งให้ทราบก่อนที่จะพบกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่รัฐ หรือสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัย ในเวลานั้น เจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงการต่างประเทศกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า กฎนี้จะใช้กับคณะทูตทั้งหมดของจีนในสหรัฐและดินแดนของสหรัฐ เพื่อเป็นการตอบโต้ต่อกฎระเบียบของจีนเมื่อหลายปีก่อน ที่บังคับให้นักการทูตสหรัฐต้องขออนุญาตหากจะเดินทางนอกที่พำนักอยู่ หรือเพื่อเยี่ยมชมสถาบันบางแห่ง —————————————…

‘สายลับต่างชาติ’ นิยมแฝงตัวเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยสหรัฐฯ

Loading

 ภายในรั้วมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐฯ คงไม่มีใครคาดคิดว่าจะเป็นสถานที่เเรกที่นักสอดแนมจะแฝงตัวเข้าไปปนเปกับนักศึกษา เเต่ แดน โกลด์เดน (Dan Golden) ผู้สื่อข่าวสายสอบสวน กล่าวว่าคุณจะแปลกใจ เพราะมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ เต็มไปด้วยนักสอดแนมหรือสายลับ โกลด์เดน กล่าวว่า ในมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ มีนักศึกษาเเละศาสตราจารย์ชาวต่างชาติจำนวนมากมาย บางคนมาหาข้อมูลให้แก่ประเทศของตน ไม่ว่าจะเป็นความลับทางวิทยาศาสตร์หรือมาสร้างเเหล่งข่าว โกลด์เดน พูดถึงตัวอย่างการสอดแนมในรั้วมหาวิทยาลัยในหนังสือที่เขาเขียน เรื่อง “สปาย สคูลส์” (“Spy Schools”) เขากล่าวว่ามหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ เป็นแหล่งดึงดูดนักสอดแนม เพราะมีการเเลกเปลี่ยนทางความคิดและวัฒนธรรมกันอย่างอิสระ ชาร์ลี แม็คกอลนิกัล (Charlie Mcgonigal) เจ้าหน้าที่พิเศษที่ดูแลฝ่ายต่อต้านข่าวกรองของสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ กล่าวว่า นี่เป็นปัญหาใหญ่มากเพราะในสหรัฐฯ สถาบันการศึกษาเปิดกว้าง มีการศึกษาวิจัยและการพัฒนามากมายที่บรรดารัฐบาลต่างชาติต้องการได้ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และจะส่งนักศึกษาของตนเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยอเมริกันเพื่อจุดประสงค์นี้โดยเฉพาะ ส่วนชาวอเมริกันที่ไปเรียนในต่างประเทศก็มักตกเป็นเหยื่อของรัฐบาลต่างชาติที่ต้องการใช้เป็นนักสอดแนม ในปี พ.ศ. 2557 เอฟบีไอได้สนับสนุนเงินในการสร้างภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่อิงเนื้อหาจากเรื่องจริง เกี่ยวกับนาย เกลน ชริฟเฟอร์ (Glenn Shriver) นักศึกษาชาวอเมริกันที่รัฐบาลจีนว่าจ้างให้เป็นนักสอดแนมแก่จีน เเม็คกานิกัลกล่าวว่า นักศึกษาถูกใช้โดยรัฐบาลต่างชาติให้เป็นสายลับ เเละสั่งให้ไปสมัครทำงานในรัฐบาลสหรัฐฯ หรือในภาคเอกชนที่ต้องการได้ข้อมูลไปใช้ประโยชน์…

สหรัฐฯ-อียูพร้อมใจขับทูตรัสเซียกว่าร้อยคน ตอบโต้เหตุวางยาพิษอดีตสายลับ

Loading

  รัฐบาลสหรัฐฯ รวมทั้งชาติพันธมิตรและชาติที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ทั้งสิ้น 23 ประเทศ สั่งขับนักการทูตรัสเซียออกจากดินแดนของตนแล้วอย่างน้อย 116 คน เพื่อเป็นการตอบโต้กรณีที่เชื่อว่าทางการรัสเซียลอบวางยาพิษอดีตสายลับในสหราชอาณาจักร ซึ่งต่างมองกันว่าเป็นการกระทำที่เป็นภัยต่อความมั่นคงในภูมิภาคยุโรปและอเมริกา เชื่อกันว่าคำสั่งของหลายประเทศในครั้งนี้ เป็นเหตุการณ์ขับนักการทูตและเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของรัสเซียในต่างประเทศครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ หลังจากที่นายเซอร์เก สกริปาล อดีตสายลับแปรพักตร์ของรัสเซียซึ่งปัจจุบันเป็นพลเมืองอังกฤษ และนางสาวยูเลียบุตรสาวของเขาถูกลอบทำร้ายด้วยสารพิษทำลายประสาทที่เมืองซอลส์บรีของสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา นอกจากสหรัฐฯจะสั่งขับนักการทูตรัสเซีย 60 คน และกำลังจะสั่งปิดสถานกงสุลรัสเซียในนครซีแอตเทิลแล้ว ชาติสมาชิกอียูซึ่งได้แก่ฝรั่งเศส, เยอรมนี, โปแลนด์, ลิทัวเนีย, สาธารณรัฐเช็ก, เดนมาร์ก, เนเธอร์แลนด์, อิตาลี, สเปน, เอสโทเนีย, โครเอเชีย, ฟินแลนด์, สวีเดน, ฮังการี, ลัตเวีย และโรมาเนีย ต่างก็สั่งขับนักการทูตรัสเซียในประเทศของตนด้วย     ประเทศอื่น ๆ อย่างแคนาดา, ยูเครน, แอลเบเนีย, ออสเตรเลีย, นอร์เวย์ และมาซีโดเนีย ต่างก็ร่วมออกคำสั่งขับนักการทูตรัสเซียเช่นกัน ส่วนไอซ์แลนด์แถลงว่าจะระงับการเจรจาระดับสูงกับรัสเซียลงทั้งหมด และผู้นำประเทศจะไม่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกที่จะจัดขึ้นที่รัสเซียในเดือนมิ.ย.นี้…