ดีอียกระดับ ‘แอปดูดเงิน’ เป็นภัยไซเบอร์ระดับร้ายแรง-ตร.เตือน 3 หลอกลวงโอนเงิน

Loading

กรณีที่มีกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงประชาชน โดยการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อขโมยเงิน หรือที่เรียกว่า แอปดูดเงิน (Mobile Banking Trojan) โดยใช้กระบวนการทางไซเบอร์ ทำให้สูญเสียเงินกว่า 2,600 ล้านบาท (สถิติระหว่างวันที่ 1 มี.ค.65 – 31 พ.ค.67) นับเป็นภัยไซเบอร์ระดับร้ายแรง แต่ปัจจุบันการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีความล่าช้า นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะประธานกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) จึงได้ประกาศยกระดับจัดให้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดจากแอปดูดเงิน เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง

สกมช. จับมือ DGA ยกระดับป้องกันภัยทางไซเบอร์ ก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัลอย่างปลอดภัย

Loading

วันที่ 10 มิ.ย. 2567 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดย พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (DGA) โดย นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และยกระดับทักษะด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ทั้งในรูปแบบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และการเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์ e-learning รวมถึงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงสถานการณ์ที่เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ตลอดจนการดำเนินการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ร่วมกัน

“AI” ช่วยป้องกันภัยไซเบอร์ได้อย่างไร?

Loading

การมาของ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ไม่เพียงแต่ช่วยยกระดับการทำงานในหลายส่วน ยังสามารถนำมาช่วยยกระดับความปลออดภัยทางไซเบอร์ซีเคียวริตี้ได้ด้วย

ประเสริฐ ชี้แอปฯ ทางรัฐ พัฒนาระบบเสร็จทันไตรมาส 3/67 มั่นใจคุมเสี่ยงข้อมูลรั่ว

Loading

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า สำหรับแอพพ์ทางรัฐที่จะให้ประชาชนได้ใช้งานระหว่างการเข้าร่วมมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท โดยแอพพ์ดังกล่าวจะถูกพัฒนาเพิ่มเติมภายใต้การดูแลของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือดีจีเอ ที่แต่เดิมดีจีเอก็เป็นผู้พัฒนาแอพพ์ทางรัฐขึ้นมาช่วงปี 2564 ขณะนี้กำลังอยู่ขั้นตอนการพัฒนาระบบเพิ่มเติม เพื่อรองรับการใช้งานในมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต

‘แคสเปอร์สกี้’ แนะเคล็ดลับกันภัย ‘QR Codes’ มิจฉาชีพช่วงสงกรานต์

Loading

เคล็ดลับเบื้องต้น สำหรับการป้องกันตัวเองจาก ‘QR Code’ อีกหนึ่งเครื่องมือดิจิทัลที่เพิ่มความสะดวก แต่อาจแฝงมาด้วยอันตราย จากภัยคุกคามไซเบอร์ ที่เหล่ามิจฉาชีพใช้ขโมยข้อมูลส่วนบุคคล การเงิน หลอกให้ติดตั้งแอปปลอม