รองเลขาฯ ปปง.ให้คำแนะนำ แนวทางแก้ปัญหาซิมการ์ดไม่ตรงโมบายแบงก์กิ้ง หากมี SMS แจ้งเตือนอย่ากดดู มิจฉาชีพแน่นอน

Loading

การตรวจสอบคัดกรองเบอร์โมบายแบงก์กิ้ง(ซิมการ์ด) ที่ผูกกับบัญชีธนาคารต้องตรงกัน พล.ต.ต.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) เปิดเผยกับสถานีวิทยุจส.100 ว่าในช่วงนี้ธนาคารพาณิชย์อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาซิมผีบัญชีม้า ขอประชาชนอย่าตกใจ พร้อมแนะนำว่า หากประชาชนผู้ใช้บริการชื่อไม่ตรงกับโมบายแบงก์กิ้ง ขอให้ไปเปลี่ยนให้ตรงที่เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ หรือหากยืนยันมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เบอร์ดังกล่าว ขอให้ยืนยันกับธนาคารพาณิชย์ เช่น การเปิดโมบายแบงก์กิ้งให้กับบุตรหลานที่เป็นเด็กหรือเยาวชน หรือบิดามารดาผู้สูงวัย เบอร์องค์กรที่แสดงตัวตนได้ชัดเจน เป็นต้น ในช่วงนี้ขอแจ้งเตือนประชาชน ธนาคารอยู่ระหว่างการทำงาน พร้อมประสาน ปปง.และจะมีการแจ้งให้ประชาชนทราบผ่านทางกล่องข้อความทางโมบายแบงก์กิ้งประมาณเดือนต.ค.-พ.ย.67 หากในช่วงนี้ มีการส่งข้อความผ่านทาง SMS ขออย่ากดดู เนื่องจาก เป็นมิจฉาชีพแน่นอน

เลขา สกมช. ตั้งข้อสังเกตุ หลอกลวงผ่านโซเชียล ทำไมแพลตฟอร์มไม่ช่วยป้องกัน ?

Loading

  SHORT CUT •  เลขา สกมช. ตั้งข้อสงสัย ทำไมแพลตฟอร์มโซเชียล ยอมให้โฆษณาหลอกลวงผ่านการตรวจสอบทั้งที่ในต่างประเทศแพลตฟอร์มเดียวกันกลับมีกฎเกณฑ์ที่ดีกว่า •  ออสเตรเลียเคยฟ้องร้องเป็นตัวอย่างแล้ว ทั้งจากภาครัฐและคนดังที่ถูกแอบอ้าง •  ต่างประเทศมองว่าการที่แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์อนุญาตให้โฆษณาหลอกลวงผ่านการตรวจสอบ เท่ากับว่า แพลตฟอร์มมีส่วนรู้เห็นมาหลอกประชาชน   เลขา สกมช. ตั้งข้อสังเกตุ การหลอกลวงผ่านโซเชียล ทั้งเพจปลอมและการหลอกลงทุน ทำไมแพลตฟอร์มไม่ช่วยป้องกันก่อนเกิดเหตุ ?   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ตั้งข้อสังเกตุกับผู้สื่อข่าวหลังการแถลงข่าวการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ยกระดับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ และให้ความรู้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ ระหว่าง สกมช. และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ถึงกรณีการป้องกันและปราบปรามภัยไซเบอร์จากการหลอกลวงกันทางโซเชียลมีเดีย   พลอากาศตรี อมร ตั้งข้อสังเกตุว่า การป้องกันและปรายปรามการหลอกลวงปัจจุบันทำได้ช้า ใช้เวลาเกือบ 2 สัปดาห์ในการดำเนินการจากฝั่งแพลตฟอร์ม ซึ่งการหลอกลวงเหล่านี้ ทั้งการโฆษณาหลอกลงทุนผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยการใช้รูปคนดัง , การตั้งเพจปลอมที่มีชื่อเหมือนหน่วยงานราชการ เช่น…

กสทช.สั่ง‘ค่ายมือถือ’ลดกำลังแรงส่งคลื่น ตัดวงจรมิจฉาชีพใช้ก่ออาชญากรรม

Loading

สำนักงาน กสทช. กำหนดมาตรการตัดเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือพื้นที่บริเวณชายแดน ใกล้ชายแดน 200 เมตร สกัดการเชื่อมโยงสัญญาณของกลุ่มอาชญากรรมทางเทคโนโลยี นำร่อง 7 พื้นที่ใน 5 จังหวัด

เตือนภัย! พบมิจฉาชีพปลอมไลน์ อ้างเป็น “กสทช.” แนะวิธีสังเกต-แจ้งความ

Loading

เตือนภัย! พบมิจฉาชีพออนไลน์แอบอ้าง ปลอมไลน์เป็น “กสทช.” โน้มน้าวให้กรอกข้อมูลยืนยันตัวตนผู้ถือซิมการ์ด แนะนำวิธีสังเกตบัญชีจริง พร้อมลิงก์แจ้งความ

กสทช. ระงับเบอร์โทรศัพท์ผู้ถือครองซิมการ์ด 101 เบอร์ขึ้นไปเพราะอะไร?

Loading

กสทช. ระงับเบอร์โทรศัพท์ผู้ถือครองซิมการ์ด 101 เบอร์ขึ้นไป ซึ่งนับหลังจากที่ สำนักงาน กสทช. กำหนดให้ผู้ถือครองซิมจำนวนมาก ตั้งแต่ 6 เลขหมายขึ้นไปมายืนยันตัวตน โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 ม.ค. 2567 มาถึงวันนี้ 14 ก.พ. 2567 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายสำหรับกลุ่มผู้ถือซิมการ์ด 101 เบอร์ขึ้นไป หากไม่มีการยืนยันตัวตนภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถูกระงับการใช้งาน และถูกเพิกถอนไปในที่สุด

เมื่อเบอร์มือถือ=ตัวตนของเรา

Loading

สำนักงาน กสทช. ตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงเบอร์มือถือกับชื่อผู้ใช้งานเบอร์มือถือให้มีความถูกต้องตรงกัน จึงได้กำกับดูแลให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ (หรือการลงทะเบียนซิมการ์ด) เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีที่อาจได้รับบริการไม่เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้     ในวันที่โทรศัพท์มือถือไม่ใช่เพียงแค่อุปกรณ์สื่อสารที่ไว้แค่ใช้โทรติดต่อหากันอย่างเดิม หากแต่ยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเชื่อมต่อไปยังโลกทั้งใบ ผ่านแอปพลิเคชันและช่องทางโซเชียลมีเดีย ขณะเดียวกันเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้อยู่นั้น ยังเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งสำหรับการยืนยันตัวตนเพื่อเข้าถึงบริการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการทำธุรกรรมด้านการเงินผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่น ๆ ด้วยการกรอกรหัส OTP (One Time Password) ที่จะได้รับผ่านทาง SMS โทรศัพท์และเบอร์มือถือจึงเป็นเสมือนเครื่องมือยืนยันตัวตนในยุคดิจิทัล   เมื่อย้อนเวลาไปในปี 2557 สำนักงาน กสทช. ตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงเบอร์มือถือกับชื่อผู้ใช้งานเบอร์มือถือให้มีความถูกต้องตรงกัน จึงได้กำกับดูแลให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ (หรือการลงทะเบียนซิมการ์ด) เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีที่อาจได้รับบริการไม่เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ หรือแม้แต่การขอคืนเงินค่าใช้บริการ และยังมีประโยชน์ในมิติเชิงสังคมและความมั่นคงของประเทศในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องนำข้อมูลไปปราบปรามหรือจับกุมผู้กระทำความผิดได้   และต่อมาเมื่อปี 2562 สำนักงาน กสทช. ได้ยกระดับการลงทะเบียนซิมการ์ดโดยให้มีการพิสูจน์ยืนยันตัวตนด้วยอัตลักษณ์ (Biometric) เพื่อป้องกันปัญหาการแอบอ้างหรือสวมสิทธิ์ในการลงทะเบียนซิมการ์ดอันอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้ใช้บริการตลอดจนปัญหาสังคมในรูปแบบต่าง ๆ   อย่างไรก็ตาม การเติบโตของการใช้บริการโทรศัพท์มือถือ และความสะดวกสบายที่เพิ่มมากขึ้นจากช่องทางการสื่อสารที่ทันสมัย ก็มาพร้อมกับภัยที่มิจฉาชีพปรับเปลี่ยนวิธีการหลอกลวงให้ทันสมัยเช่นกัน กสทช. จึงได้กำหนดนโยบายจัดระเบียบการลงทะเบียนซิมการ์ดเพิ่มเติม โดยหากกรณีที่ประชาชนต้องการใช้ซิมการ์ดมากกว่า 5 เบอร์ต่อ…