เมื่อเบอร์มือถือ=ตัวตนของเรา

Loading

สำนักงาน กสทช. ตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงเบอร์มือถือกับชื่อผู้ใช้งานเบอร์มือถือให้มีความถูกต้องตรงกัน จึงได้กำกับดูแลให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ (หรือการลงทะเบียนซิมการ์ด) เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีที่อาจได้รับบริการไม่เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้     ในวันที่โทรศัพท์มือถือไม่ใช่เพียงแค่อุปกรณ์สื่อสารที่ไว้แค่ใช้โทรติดต่อหากันอย่างเดิม หากแต่ยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเชื่อมต่อไปยังโลกทั้งใบ ผ่านแอปพลิเคชันและช่องทางโซเชียลมีเดีย ขณะเดียวกันเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้อยู่นั้น ยังเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งสำหรับการยืนยันตัวตนเพื่อเข้าถึงบริการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการทำธุรกรรมด้านการเงินผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่น ๆ ด้วยการกรอกรหัส OTP (One Time Password) ที่จะได้รับผ่านทาง SMS โทรศัพท์และเบอร์มือถือจึงเป็นเสมือนเครื่องมือยืนยันตัวตนในยุคดิจิทัล   เมื่อย้อนเวลาไปในปี 2557 สำนักงาน กสทช. ตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงเบอร์มือถือกับชื่อผู้ใช้งานเบอร์มือถือให้มีความถูกต้องตรงกัน จึงได้กำกับดูแลให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ (หรือการลงทะเบียนซิมการ์ด) เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีที่อาจได้รับบริการไม่เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ หรือแม้แต่การขอคืนเงินค่าใช้บริการ และยังมีประโยชน์ในมิติเชิงสังคมและความมั่นคงของประเทศในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องนำข้อมูลไปปราบปรามหรือจับกุมผู้กระทำความผิดได้   และต่อมาเมื่อปี 2562 สำนักงาน กสทช. ได้ยกระดับการลงทะเบียนซิมการ์ดโดยให้มีการพิสูจน์ยืนยันตัวตนด้วยอัตลักษณ์ (Biometric) เพื่อป้องกันปัญหาการแอบอ้างหรือสวมสิทธิ์ในการลงทะเบียนซิมการ์ดอันอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้ใช้บริการตลอดจนปัญหาสังคมในรูปแบบต่าง ๆ   อย่างไรก็ตาม การเติบโตของการใช้บริการโทรศัพท์มือถือ และความสะดวกสบายที่เพิ่มมากขึ้นจากช่องทางการสื่อสารที่ทันสมัย ก็มาพร้อมกับภัยที่มิจฉาชีพปรับเปลี่ยนวิธีการหลอกลวงให้ทันสมัยเช่นกัน กสทช. จึงได้กำหนดนโยบายจัดระเบียบการลงทะเบียนซิมการ์ดเพิ่มเติม โดยหากกรณีที่ประชาชนต้องการใช้ซิมการ์ดมากกว่า 5 เบอร์ต่อ…

6 หน่วยงานรัฐรับไม้ต่อใช้ Digital ID ให้บริการประชาชน

Loading

    กรมการปกครอง, กรมสรรพากร, ก.ล.ต., สพร., สำนักงาน กสทช. และ NDID ร่วมกันเดินหน้าผลักดัน ดิจิทัลไอดี (Digital ID) หรือ การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลให้ใช้งานได้จริง ผ่านเครื่องมือที่บอกและยืนยันว่า “เราเป็นใคร” ในโลกออนไลน์โดยไม่ถูกปลอมแปลง   โดยการร่วมกันของทั้ง 6 หน่วยงานนั้น จะใช้งานผ่านบริการที่คุ้นเคย อย่าง D.DOPA, Mobile ID และ ทางรัฐ เป็นต้น ขณะที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็เริ่มทยอยนำกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยดิจิทัล หรือ Digital ID (ดิจิทัล ไอดี) เข้ามาประยุกต์ใช้งานรวมถึงการให้บริการ เพื่อให้การทำธุรกรรมหรือกิจกรรมผ่านทางออนไลน์มีความปลอดภัย น่าเชื่อถือมากขึ้น ลดการลงทะเบียนยืนยันตัวตนซ้ำซ้อน   สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ เป็นหนึ่งในนโยบายเกี่ยวกับ “กรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 พ.ศ. 2565 – พ.ศ. 2567” หรือ “Digital ID…

“กสทช.”เตือนอย่าหลงเชื่อกรอกข้อมูลแอบอ้างช่วยขยายเวลาทดลองออกอากาศวิทยุ

Loading

    สำนักงาน กสทช. เผยไม่เคยให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการลงทะเบียนขยายเวลาทดลองออกอากาศวิทยุชุมชน และไม่เคยขอให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ลงทะเบียน ตามที่มีการแชร์ข้อมูลในกลุ่มไลน์ต่าง ๆ   พลอากาศโท ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ  กรรมการ กสทช. เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏข้อมูลหรือข่าวสารเกี่ยวกับการลงทะเบียน ขอขยายเวลาการทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียง ในระบบเอฟเอ็ม โดยมีการอ้างอิงประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ ว่าด้วยการทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียง ในระบบเอฟเอ็ม และกำหนดให้มีการกรอกข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้ลงทะเบียน รวมทั้งมีการนำเสนอข้อมูลที่มีการพาดพิงถึงสำนักงาน กสทช. ในกลุ่มไลน์  นั้น  ขอชี้แจ้งว่า การดำเนินการดังกล่าวไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ กสทช. และสำนักงาน กสทช. แต่อย่างใด   ทั้งนี้การทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียง ระบบเอฟเอ็มนั้น กสทช. ยังคงมีนโยบายที่จะเร่งรัดปรับปรุงหลักเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อรองรับให้มีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงแก่ผู้ที่ประสงค์ จะดำเนินกิจการวิทยุกระจายเสียงต่อไป ให้มีความต่อเนื่องกับการยุติการทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียง ระบบเอฟเอ็ม ในวันที่ 31 ธ.ค. 67   “กสทช. ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียง ระบบเอฟเอ็ม เพื่อให้ผู้ทดลอง…

สำนักงาน กสทช. ขอความร่วมมือสถานีวิทยุกระจายเสียงเตือนภัยพิบัติฉุกเฉิน

Loading

  สำนักงาน กสทช. ขอความร่วมมือสถานีวิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศแจ้งข่าว หรือเตือนภัยกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน   นายสมบัติ ลีลาพตะ รักษาการรองเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ขอความร่วมมือสถานีวิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศ ให้เตรียมความพร้อมในการออกอากาศแจ้งข่าวหรือเตือนภัยในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารและการแจ้งเตือนให้ทันต่อสถานการณ์ โดยให้ความร่วมมือเมื่อรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐร้องขอ เนื่องจากปัจจุบันในหลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากทำให้ต้องเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และคลื่นลมแรง รวมทั้งอาจเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพ ชีวิต ทรัพย์สินและสาธารณูปโภค   สำนักงาน กสทช. เห็นถึงความสำคัญของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงรวมถึงสื่อมวลชนว่ามีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่และนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อประชาชนในการเตรียมความพร้อม เพื่อป้องกันแก้ไขและบรรเทาเหตุภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น จึงขอความร่วมมือในการแจ้งข่าวหรือเตือนภัย พร้อมเน้นย้ำถึงแนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติในการออกอากาศที่ต้องใช้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อรายงานข้อมูล แจ้งข่าวเตือนภัยเกี่ยวกับภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินอย่างรอบด้าน ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังไม่ก่อให้เกิดความตระหนกตกใจกับประชาชน และให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงทุกรายปฏิบัติตาม ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติงานของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน พ.ศ.2555 อย่างเคร่งครัด   “วิทยุเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้สะดวกและง่าย ซึ่งจะช่วยในการกระจายข้อมูลข่าวสาร และแจ้งเหตุเตือนภัยกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินให้ประชาชน การให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องด้วยความรอบคอบ ทันสถานการณ์ จะช่วยให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนก” นายสมบัติ กล่าว…