อิสราเอลเพิกถอน “บัตรสื่อมวลชน” ของนักข่าวอัลจาซีรา 4 คน

Loading

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล เมื่อวันที่ 13 ก.ย. ว่า สำนักงานสื่อของรัฐบาลอิสราเอล (จีพีโอ) ระบุในแถลงการณ์ว่า ทางสำนักงานกำลังเพิกถอนบัตรประจำตัวสื่อมวลชน ของนักข่าวอัลจาซีราที่ทำงานในอิสราเอล เนื่องจากสำนักข่าวรายนี้เผยแพร่เนื้อหาที่เป็นเท็จ ซึ่งรวมถึงการยุยงปลุกปั่นชาวอิสราเอลและชาวยิว และถือเป็นภัยคุกคามต่อทหารอิสราเอล

ศาลอิตาลีสั่งนักข่าวจ่ายค่าเสียหาย 5,000 ยูโร ฐานล้อเลียนส่วนสูงนายกฯ

Loading

ศาลเมืองมิลานได้สั่งให้นักข่าวหญิงจ่ายค่าเสียหายแก่จอร์จา เมโลนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี เป็นจำนวน 5,000 ยูโร กรณีโพสต์ข้อความล้อเลียนรูปร่างของนายกฯ ในโซเชียลมีเดีย

แอปเปิล ส่งข้อความแจ้งเตือนผู้ใช้ไอโฟนใน 98 ประเทศ ระวังสปายแวร์

Loading

แอปเปิล ได้ส่งข้อความแจ้งเตือนให้ระวังสปายแวร์อีกครั้ง เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่า สปายแวร์ดังกล่าวพุ่งเป้าไปที่ผู้ใช้ไอโฟนใน 98 ประเทศ

รมว.โทรคมนาคมของอิสราเอลเรียกร้องให้รัฐบาลออกกฎระงับสื่อที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ

Loading

นาย Shlomo Karhi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโทรคมนาคมของอิสราเอลเสนอกฎข้อบังคับฉุกเฉินฉบับใหม่ เพื่อระงับการออกอากาศ การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือแพร่ภาพ และการยึดอุปกรณ์กระจายสัญญาณ หากเห็นว่าการนำเสนอข้อมูลขององค์กรสื่อสารมวลชนดังกล่าวเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ

โพลล์ชี้ 50% ของชาวอเมริกัน เชื่อสื่อจงใจนำเสนอข้อมูลบิดเบือน

Loading

    ชาวอเมริกันครึ่งหนึ่งในการสำรวจล่าสุด เชื่อว่าองค์กรสื่อระดับประเทศ ตั้งใจนำเสนอข่าวที่สร้างความเข้าใจผิด หรือโน้มน้าวให้สาธารณชนยอมรับในมุมมองบางอย่างจำเพาะเจาะจงผ่านการรายงานข่าว และไม่ถึง 1 ใน 4 ที่มองว่าสื่อมวลชนทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชน ตามรายงานของเอพี   การสำรวจโดย Gallup และ Knight Foundation ที่เผยแพร่เมื่อวันพุธ สอบถามชาวอเมริกัน 5,593 คน ช่วงอายุ 18 ปีขึ้นไป ในช่วงวันที่ 31 พฤษภาคม – 21 กรกฎาคมปีที่แล้ว ลงลึกกว่าการสอบถามทั่วไปเรื่องความเชื่อมั่นในสื่อในประเทศที่ตกต่ำลง ด้วยการถามถึงสาเหตุที่ชาวอเมริกันจำนวนมากมีความเชื่อว่าสื่อมีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอข่าวที่สร้างความเข้าใจผิด   ในการสำรวจถามว่าชาวอเมริกันเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่าองค์กรสื่อระดับประเทศไม่ได้มีเจตนาที่จะนำเสนอข่าวที่สร้างความเข้าใจผิด ปรากฏว่า 50% ไม่เห็นด้วย และมีเพียง 25% ที่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ และเมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่า สื่อในประเทศ “ห่วงใยผลประโยชน์ของผู้อ่าน ผู้ชม และผู้ฟัง” ในการศึกษาพบว่า 52% ไม่เห็นด้วย   นอกจากนี้ มีเพียง 23% ของชาวอเมริกันในการสำรวจ เชื่อว่า…

ตุรกีห้ามสื่อมวลชนเผยแพร่ “เนื้อหาสร้างความเสื่อมเสีย”

Loading

  นับจากนี้เป็นต้นไป สื่อมวลชนทุกแขนงในตุรกีจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย หากเผยแพร่ เนื้อหา “ที่เสื่อมเสีย” หรือเป็นการบ่อนทำลาย   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงอังการา ประเทศตุรกี เมื่อวันที่ 31 ม.ค.ว่า ประธานาธิบดีเรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน ผู้นำตุรกี ประกาศว่า การเผยแพร่เนื้อหา “ซึ่งสร้างความเสื่อมเสีย” หรือเป็นการบ่อนทำลาย “ค่านิยมพื้นฐานของชาติ” และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาโครงสร้างทางสังคม ถือเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวต้องรับโทษ โดยคำสั่งดังกล่าวเผยแพร่ผ่านรัฐกิจจานุเบกษา เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา   ทั้งนี้ ยังไม่มีหน่วยงานแห่งใดในตุรกีออกมาอธิบายว่า “เนื้อหาผิดกฎหมาย” มีลักษณะเป็นอย่างไร แต่เนื้อหาในรัฐกิจจานุเบกษาระบุด้วยว่า มาตรการดังกล่าวมีความจำเป็นเพื่อ “ปกป้องวัฒนธรรมของชาติ” และเพื่อคุ้มครองพัฒนาการของเด็กและเยาวชน ไม่ให้ได้รับผลกระทบจาก “เนื้อหาทุกรูปแบบที่เป็นอันตราย”   Turkey's Erdogan threatens media with reprisals over 'harmful' content https://t.co/dI98p4n6Xb pic.twitter.com/u1A81TKluq — Reuters (@Reuters) January 29,…