ไฟใต้ 3 ยุค ในมือรัฐบาลชินวัตร

Loading

ในสายตาของนักวิชาการระดับ “กูรู” อย่าง อาจารย์สุรชาติ บำรุงสุข ที่ส่งสัญญาณเตือน 10 ประเด็นความมั่นคงเฉพาะหน้า ท้าทายรัฐบาลแพทองธาร

BRN เตรียมตัวอย่างไร ก่อนโดดร่วมโต๊ะถกรัฐไทย “พูดคุยสันติสุข”

Loading

คำเตือนสำคัญจาก อาจารย์สุรชาติ บำรุงสุข นักวิชาการด้านความมั่นคงชื่อก้อง ที่ออกมากระตุกเตือนการเร่งเดินหน้าพูดคุยสันติสุขกับบีอาร์เอ็น มี 3 เรื่องที่เป็นแก่นแกนสำคัญ

สงครามใต้พิภพ (1) สงครามอุโมงค์จากอดีตสู่ปัจจุบัน

Loading

“สงครามอุโมงค์เอื้อให้กองทหารที่เผชิญหน้ากับข้าศึกที่มีความเหนือกว่าทางเทคโนโลยีนั้น มีหนทางที่มีประสิทธิภาพในการตอบโต้กับการใช้กำลังทางอากาศที่เหนือกว่า” The Jerusalem Center for Public Affairs (2014)   เรื่องของอุโมงค์ในฉนวนกาซาไม่ใช่เรื่องใหม่อย่างแน่นอน หากแต่เดิมนั้นอุโมงค์ไม่ได้ทำหน้าที่ในทางทหาร หากเป็นอุโมงค์ถูกจัดทำเพื่อใช้ในการลักลอบนำสิ่งของต่างๆ ผ่านการปิดพรมแดนของรัฐบาลอียิปต์ที่ด่านราฟาห์ (Rafah) การลักลอบเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1980 แล้ว และยิ่งเมื่อเกิดการปิดล้อมทางเศรษฐกิจที่เกิดจากทั้งทางอียิปต์และอิสราเอลในปี 2007 อุโมงค์เช่นนี้ก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นกับชีวิตที่ดำเนินไปในกาซา   กล่าวคือ อุโมงค์กลายเป็นเส้นทางของการลำเลียงสิ่งของต่าง ๆ เข้าสู่พื้นที่ของกาซ่า และโดยนัยคืออุโมงค์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการตอบโต้กับการปิดล้อมทางเศรษฐกิจ   พร้อมกันนี้อุโมงค์ดังกล่าวก็มีพัฒนาการมากขึ้น ทั้งในเรื่องของขนาด ความซับซ้อน และความแข็งแรง จนในเวลาต่อมา อุโมงค์เริ่มถูกใช้ในอีกภารกิจหนึ่งคือ อุโมงค์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร จนทำให้นักการทหารในโลกปัจจุบันต้องหันกลับมาพิจารณาเรื่องราวเก่าแก่ในวิชาประวัติศาสตร์สงคราม คือ สงครามอุโมงค์ (Tunnel Warfare) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของ “สงครามใต้พิภพ” (Subterranean Warfare) เพราะเป็นสงครามที่ทำในระดับใต้พื้นผิวของโลก (Underground Warfare) [คำว่า “subterranean” เป็นคำคุณศัพท์ที่ใช้อธิบายถึง สิ่งที่อยู่ใต้พื้นผิวที่เรามองไม่เห็น]   คำอธิบายที่น่าสนใจของตัวประกันหญิงอาวุโสชาวอิสราเอลชื่อ Yocheved Lifshitz…