ช่วงเทศกาลใกล้เข้ามาแล้ว ซื้อสินค้าออนไลน์ ระวังร้านค้าปลอม!

Loading

    กลับมาอีกครั้งกับช่วงเทศกาลปลายปี ไม่ว่าจะเป็นปีใหม่หรือคริสต์มาส หลาย ๆ คนคงเริ่มจะหาของขวัญสำหรับเทศกาลสำคัญแบบนี้ แต่ก็ต้องระวังมิจฉาชีพ เพราะในช่วงนี้จะเป็นช่วงเวลาที่มิจฉาชีพชอบฉวยโอกาสในการหลอกลวงมากที่สุด ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงขอแนะนำวิธีสังเกตร้านค้าปลอม ที่มิจฉาชีพมักใช้หลอกลวง   *ตั้งราคาถูกเกินจริง-โดยจะมีการอ้างว่าเป็นโปรโมชั่นพิเศษช่วงเทศกาล ถ้าเจอราคาที่ถูกกว่าในท้องตลาดมากๆ ให้คิดไว้ก่อนว่าอาจเป็นมิจฉาชีพ   *อ้างว่ามีสินค้าจำนวนจำกัด-ทำให้เราจำเป็นต้องตัดสินใจเร็ว ๆ   *ใช้ข้อความในร้านค้าแปลกๆ-ไม่ว่าจะเป็นคำที่ผิดไวยากรณ์ ตัวอักษรที่ดูแปลกๆ สระลอยๆ และรูปแบบการเรียงประโยคที่ดูเหมือนใช้โปรแกรมแปลภาษา ถ้าพบเจอลักษณะนี้ ให้คิดไว้ก่อนว่าอาจเป็นมิจฉาชีพ   *ให้โอนเงินผ่านบัญชีที่ไม่เกี่ยวข้องกับร้านค้า-ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าทางการแต่ให้โอนในบัญชีส่วนตัว หรือเป็นบัญชีที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับร้านค้าเลย เมื่อเราโอนเงินไปแล้วก็บล็อก และติดต่อไม่ได้   *ร้านค้ามีรีวิวน้อย หรือ ไม่มีการรีวิวใดๆเลย-ชื่อร้านค้ามีการใช้อักขระแปลกๆ โดยเฉพาะร้านค้าทางการ ที่ไม่ควรมีตัวอักษรแปลกๆ ในการสะกด และร้านค้า ถึงแม้จะมีรีวิวคะแนนที่สูง แต่ว่ามีจำนวนที่น้อยมาก หากพบเจอลักษณะแบบนี้ ให้คิดไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นมิจฉาชีพได้   ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ฝากเตือนภัย ก่อนซื้อสินค้าทุกครั้งอย่าลืมตรวจสอบร้านค้า และบัญชีก่อนโอนเงินทุกครั้ง หรือเลือกซื้อผ่านแพลตฟอร์มที่มีการรับประกัน หรือมีบริการคืนเงิน และหากสงสัยว่าถูกหลอก สามารถปรึกษาได้ที่สายด่วนศูนย์ AOC…

สิงคโปร์เสนอกฎหมายฉบับประวัติศาสตร์ หยุดยั้งภัยคุกคามการหลอกลวง

Loading

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 12 พ.ย. ว่า รัฐบาลสิงคโปร์เสนอ “ร่างกฎหมายป้องกันการหลอกลวง” ต่อรัฐสภา ซึ่งอาจเป็นกฎหมายฉบับแรกในโลก ที่มอบอำนาจให้ตำรวจควบคุมบัญชีธนาคารของเหยื่อการหลอกลวงที่ดื้อรั้น ซึ่งยืนกรานว่าพวกเขาไม่ได้ถูกหลอก แม้มีหลักฐานที่ชัดเจนก็ตาม

กสทช.-สกมช. ลุยปัดฝุ่นศูนย์ USO NET สู่แหล่งการเรียนรู้ป้องภัยไซเบอร์

Loading

  สำนักงาน กสทช.-สกมช.หนุนมาตรการขจัดภัยไซเบอร์ชูศูนย์ USO NET เสริมสกิลให้ความรู้ประชาชน-นักเรียนในพื้นที่ห่างไกล เสริมเกราะป้องกันไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (22 เม.ย.) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ยกระดับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ และให้ความรู้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อเป็นการยกระดับทักษะทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ   นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. มีความตั้งใจในการผลักดันบริการโทรคมนาคมที่ครอบคลุมทั่วถึงในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีศักยภาพการแข่งขันเชิงพาณิชย์ต่ำหรือ พื้นที่ชายขอบและพื้นที่ห่างไกล เพื่อเป็นการลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมให้กับประชาชนทุกคน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และใช้เทคโนโลยีดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และเท่าทันภัยจากอาชญากรรมทางไซเบอร์   นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้มีความรู้ในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ   นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า…

ระวัง AOC 1441 ของปลอม สร้างโดยมิจฉาชีพ

Loading

ระวัง AOC 1441 ของปลอม โดยหลายท่านคงรู้จักหรือได้ยินเกี่ยวกับบริการสายด่วนศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ หรือ ศูนย์ AOC 1441 เป็นศูนย์ One Stop Service จัดตั้งโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อแก้ปัญหาหลอกลวงออนไลน์

ตำรวจญี่ปุ่นเผยการหลอกลวงทางไซเบอร์พุ่ง 8% ในปี 2566 สูงสุดในรอบ 10 ปี

Loading

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (National Police Agency) หรือ NPA ของญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลในวันนี้ (8 ก.พ.) ระบุว่า ญี่ปุ่นมีจำนวนการหลอกลวงทางไซเบอร์และทางโทรศัพท์ที่ตำรวจตรวจพบเพิ่มขึ้น 8.3% ในปี 2566

เผย 14 ประเภทคดีหลอกลวงออนไลน์ ที่คนไทยเป็นเหยื่อมากสุด!

Loading

AIS ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ “ตำรวจไซเบอร์” ร่วมเปิดโปง 12 คดีดังที่เป็นภัยไซเบอร์ ผ่านละครคุณธรรม 12 เรื่อง โดยงานนี้ ได้รับเกียรติจาก พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รองผู้บัญชาการฯ รักษาราชการแทน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้มาเผยรายละเอียด คดีออนไลน์ที่คนไทย โดนมากที่สุด ถึง 14 ประเภทด้วยกัน