Microsoft เผยแฮ็กเกอร์รัฐบาลรัสเซียใช้ Teams ส่งข้อความหลอกเอาข้อมูล

Loading

  Microsoft เผยว่าแฮ็กเกอร์ในกองทัพรัสเซียใช้ระบบแชตใน Microsoft Teams ในการส่งข้อความฟิชชิงในการล้วงข้อมูลเหยื่อ   Microsoft เรียกกลุ่มนี้ว่า Midnight Blizzard ในอีกชื่อหนึ่งคือ NOBELIUM หรือ Cozy Bear ที่หลายประเทศเชื่อว่าเป็นปฏิบัติการของหน่วยข่าวกรองต่างประเทศของรัสเซีย   วิธีการโจมตีก็คือ Midnight Blizzard จะใช้บัญชี Microsoft 365 ของธุรกิจขนาดเล็กที่แฮ็กมาได้ในการสร้างโดเมนใหม่ที่ปลอมตัวเป็นเว็บไซต์ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค และส่งข้อความผ่าน Teams เพื่อหลอกขอข้อมูลล็อกอินจากองค์กรเป้าหมาย   Microsoft ชี้ว่าปัจจุบันมีองค์กรที่ตกเป็นเหยื่อแล้วราว ๆ 40 องค์กรทั่วโลก ทั้งที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ องค์กรไม่ใช่รัฐ บริการไอที บริษัทเทคโนโลยี บริษัทอุตสาหกรรม และองค์กรสื่อ   ที่แฮ็กเกอร์กลุ่มนี้เปลี่ยนชื่อบัญชีและเพิ่มผู้ใช้รายใหม่เข้ามาในรายชื่อติดต่อ และส่งข้อความ Team ที่ติดป้ายด้านความมั่นคงปลอดภัยและชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความสนใจให้เหยื่อเปิดข้อความ   Microsoft ได้ปิดโดเมนที่มีปัญหาแล้ว แต่ยังตรวจสอบเหตุการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อไป     ที่มา   therecord    …

Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เผยรายงานมัลแวร์บน Android ปลอมตัวเป็นแอป ChatGPT หลอกเหยื่อผู้ใช้สมาร์ตโฟนในไทย

Loading

  กรุงเทพฯ – 31 กรกฎาคม 2566, พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ล่าสุดพบว่ามัลแวร์บน Android ที่แอบอ้างเป็นแชตบอต AI ชื่อดังอย่าง ChatGPT มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยถูกปล่อยออกมาพร้อมกับการเปิดตัว GPT-3.5 และ GTP-4 ของ OpenAI เพื่อมุ่งเป้าไปที่เหยื่อที่มีความสนใจในเครื่องมือ ChatGPT   โทรจัน Meterpreter ที่ปลอมตัวเป็นแอป “SuperGPT” และ “ChatGPT” มีพฤติกรรมในการส่งข้อความพิเศษค่าบริการราคาแพงไปยังหมายเลขโทรศัพท์ในไทย ทำให้ผู้ใช้โดนคิดเงินอย่างไม่รู้ตัวและสร้างรายได้แก่คนร้ายมหาศาล ที่น่ากังวลก็คือ ผู้ใช้ Android สามารถดาวน์โหลดแอปได้จากหลายช่องทางนอกเหนือไปจาก Google Play Store ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่ผู้ใช้จะได้รับแอปซึ่งไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจาก Google   ข้อมูลสำคัญที่น่าสนใจมีดังนี้   •   การปลอมตัวเป็น ChatGPT: มัลแวร์ใหม่บน Android มีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยปลอมตัวเป็น ChatGPT และถูกปล่อยออกมาในช่วงที่มีการเปิดตัว GPT-3.5…

ระวังแอปดูดเงินปลอม อาละวาด อ้าง Google Play ใช้นามสกุลเว็บ .CC

Loading

สตช. แจ้งเตือนให้ประชาชนรู้เท่าทันกลโกงของคนร้าย ส่ง sms พร้อมแนบลิ้งก์คุมมือถือ ป้องกันง่ายๆ คือ ไม่เปิดอ่าน หรือ อย่ากดลิ้งก์แปลกปลอม หากต้องการติดตั้งแอป ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Playstore หรือ App Store เท่านั้น พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. กล่าวว่า ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ อันดับ คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ คดีหลอกลวงให้กู้เงิน คดีหลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบในเครื่องโทรศัพท์ฯ คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) นอกจากนี้ เมื่อช่วงเดือน มีนาคม 2566 – มิถุนายน 2566 สถิติคดีหลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบในเครื่องโทรศัพท์ฯ อยู่ในลำดับที่ 7 แต่ช่วง 2 สัปดาห์นี้ สถิติการรับแจ้งความเพิ่มมากขึ้นจนขยับมาอยู่ลำดับที่ 4   สถิติการรับแจ้งความออนไลน์ในรอบ 2 สัปดาห์…

ระวัง! คิดกู้เงินออนไลน์ ต้องเช็กอะไรบ้าง ป้องกันมิจฉาชีพแอบอ้างผู้ให้บริการทางการเงิน

Loading

  ระวัง! คิดกู้เงินออนไลน์ ต้องเช็กอะไรบ้าง เพื่อป้องกันการโดนหลอกโดนขโมยเงินโดยมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นผู้ให้บริการทางการเงิน ซึ่งยังระบาดอยู่ ณ ขณะนี้ โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้คำแนะนำให้คุณลองตรวจสอบ 3 สิ่งที่ต้องทำ ก่อนกู้เงินออนไลน์   ระวัง! คิดกู้เงินออนไลน์ ต้องเช็กอะไรบ้าง   1. เช็กว่าเป็นผู้ให้บริการตัวจริงหรือไม่ โดยตรวจสอบได้ที่ “เช็กแอปเงินกู้” จาก ธนาคารแห่งประเทศไทย คลิกที่นี่ https://www.bot.or.th/th/involve-party-license-loan.html   2. โทรเช็กตรวจสอบกับผู้ให้บริการที่ถูกอ้างชื่อ ตามเบอร์โทรศัพท์ที่ปรากฎบนเว็บไซด์ ก่อนตัดสินใจกู้เงิน   3. ตั้งสติหน่อยระวังตัวก่อน ถ้าผู้ให้กู้รายใดแจ้งให้โอนเงินก่อน ให้คิดไว้เลยว่าเป็นมิจฉาชีพหลอกลวงแน่นอน   ดังนั้นใครคิดจะกู้เงินออนไลน์ อย่าลืมตรวจสอบด้วย 3 ข้อที่ดังกล่าวเพื่อไม่ให้โดนหลอก     อ้างอิง   ธนาคารแห่งประเทศไทย         ————————————————————————————————————————- ที่มา :         …

ระวังเสียงปลอม AI เลียนเสียงเป็นคนรู้จักหรือคนมีชื่อเสียง! คนร้ายอาจใช้หลอกโอนเงินได้

Loading

ภาพ : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม   ระวังเสียงปลอม AI เลียนเสียงเป็นคนรู้จักหรือคนมีชื่อเสียง เพื่อหลอกโอนเงิน เนื่องด้วยมีเทคโนโลยีที่ทำให้เปลี่ยนเสียงตัวเราเองเป็นเสียงคนอื่นหรือคนที่มีชื่อเสียง นำมาใช้ในการโทรผ่านโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือเพื่อหลอกโอนเงิน ทางกระทรวงดิจิทัลฯ ได้ฝากเตือนพร้อมวิธีป้องกันดังนี้   วิธีเช็ก AI SCAM CALLS ก่อนโดนหลอก –  ปลายสายเสียงเหมือนคนรู้จัก แต่ใช้เบอร์แปลกโทรมา หรืออ้างว่าเปิดเบอร์ใหม่ –  พูดเรื่องประเด็นเงิน ๆ ทอง ๆ มาก่อนเรื่องอื่น หลอกยืมเงิน –  สอบถาม ตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกให้แน่ใจก่อน อาทิเช่น ทำงานที่ไหน เกิดวันอะไร เป็นต้น   แนวทางการป้องกัน โปรดสงสัยไว้ก่อนเมื่อรับสายเบอร์แปลก ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนโอนเงินและไม่เผยแพร่คลิปวีดีโอหรือเสียงสู่สาธารณะโดยไม่จำเป็น หรือแชร์ให้เฉพาะเพื่อนหรือครอบครัวอนุญาต   ลักษณะการปลอมเสียงเป็นอย่างไร สามารถชมได้ที่วิดีโอด้านล่าง   อ้างอิง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :     …

ตร.ไซเบอร์รวบหนุ่มวิศวะ โพสต์ขายข้อมูลส่วนบุคคล ให้เว็บพนันและมิจฉาชีพ

Loading

  พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) เปิดเผยข้อมูลว่าจากการตรวจสอบเจ้าหน้าที่พบกลุ่มเฟซบุ๊กแบบปิด (Private Group) ซึ่งมีการนำเสนอซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า และสิ่งของที่ผิดกฎหมายต่าง ๆ มีสมาชิกประมาณ 100,000 บัญชี   โดยมีผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์ข้อความประกาศขายฐานข้อมูลของลูกค้ากลุ่มการพนันออนไลน์ ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัญชีธนาคาร และไลน์ไอดีของลูกค้า เป็นต้น ขายในราคาต่าง ๆ โดยเริ่มตั้งแต่ 100,000 รายชื่อ ราคา 500 บาท ไปจนถึง 2,000,000 รายชื่อ ราคา 3,500 บาท เพื่อให้ผู้ซื้อนำไปใช้ทำการตลาด นำข้อมูลที่ได้ไปใช้โทรศัพท์ติดต่อ หรือส่งข้อความสั้น (SMS) หรือแอดไลน์ไปยังรายชื่อดังกล่าว และหากซื้อข้อมูลดังกล่าวไปแล้วจะมีการอัปเดตข้อมูลให้ฟรี นอกจากนี้แล้วยังมีการโพสต์ประกาศรับเปิดเว็บไซต์พนันออนไลน์เริ่มต้นเพียง 6,500 บาท พร้อมดูแลระบบ และออกแบบหน้าเว็บไซต์ให้ฟรีอีกด้วย     เจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัด บก.สอท.5 จึงได้ทำการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความเชื่อมโยง…