ไม่รอด! สแกมเมอร์บุก ChatGPT ปั่น AI ไว้หลอกลวงผู้คน

Loading

  เมื่อ ChatGPT กลายเป็นเครื่องมือของเหล่านักเขียน นักเล่าเรื่อง ที่เป็นกระแสเรียกความสนใจจากคนทั่วโลก โดย AI ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการแบ่งเบาภาระให้กับการทำงานแบบเดิม แม้จะมีปัญหาตรงที่ยังสู้คนเขียนจริง ๆ ไม่ได้ แต่เรื่องของการพัฒนาระบบถือว่าใช้ได้   ดังนั้น ChatGPT จึงกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือให้เหล่าแฮ็กเกอร์ใช้ในการสร้างเรื่องหลอกลวงผู้คนทั้งข้อมูลส่วนตัวและหลอกเงิน ผ่านข้อความที่ไม่สามารถคาดเดาได้เลยและยังไม่มีวิธีป้องกันอันตรายจากภัยคุกคามเหล่านี้ได้ด้วย   อย่างไรก็ตาม ChatGPT ยังมีประโยชน์ในแง่ของการใช้งานเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกมาก แต่ด้วยความเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่มีการป้องกันที่รัดกุม ทำให้แฮ็กเกอร์เอง ก็กำลังเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ในการนำไปใช้ในการหลอกลวงผู้คนเช่นกัน     มัลแวร์ (Malware)   เหล่าแฮ็กเกอร์ใช้รูปแบบของการติดไวรัสในอุปกรณ์บางอย่าง จากนั้นระบบปฏิบัติการณ์จะสั่งให้อัปเดตอุปกรณ์เพื่อป้องกันมัลแวร์   จากนั้นก็จะใช้การแจ้งเตือนให้ประชาชนทั่วไปรู้สึกถึงแรงอันตรายจนนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีต้องออกมาเตือนถึงปัญหาภัยคุกคาม   ซึ่ง ChatGPT มีความสามารถในการเขียนโค้ดที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะ AI ที่มีความสามารถในการเขียนมัลแวร์แบบโพลีมอร์ฟิค ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยังไม่สามารถตรวจจับหรือป้องกันได้   นอกจากนี้ เหล่าแฮคเกอร์ยังใช้ ChatGPT เขียนโค้ดอันตรายมาก ๆ ให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าพวกเขากำลังโดนหลอกจากการหลอกโจมตีด้วยมัลแวร์แบบ 24 ชั่วโมง  …

สรรพสามิตเตือนภัย ‘มิจฉาชีพ’ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หลอกลวงหรือรีดไถเงิน

Loading

    กรมสรรพสามิตเตือนภัยผู้ประกอบการและประชาชนอย่าหลงเชื่อ “มิจฉาชีพ” แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หลอกลวงหรือรีดไถเงินแนะตรวจสอบข้อมูลก่อนทุกครั้ง   16 ก.พ. 2566 – นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า “ขณะนี้ได้มีกลุ่มผู้ไม่หวังดี” หรือ “มิจฉาชีพ” หลอกหลวงประชาชนในหลากหลายรูปแบบเพิ่มเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษี จึงได้มอบนโนบายให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต ช่วยกันเฝ้าระวังและให้ข้อมูลกับ พี่น้องประชาชนเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ   หากผู้ประกอบการหรือประชาชนได้รับการแอบอ้างจากผู้ไม่หวังดีหรือมิจฉาชีพว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเข้าจับกุมตรวจค้นในการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงตัวโดยต้องแต่งเครื่องแบบกรมสรรพสามิต พร้อมแสดงบัตรข้าราชการในขณะปฏิบัติหน้าที่ และดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบการตรวจค้นทุกประการ และ เมื่อจับกุมแล้วต้องทำบันทึกจับกุม สำหรับประเด็นการเปรียบเทียบปรับ ตามระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการเปรียบเทียบคดี พ.ศ. 2560 หมวด 2 ข้อ 8 วรรค 2 ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องเปรียบเทียบคดีให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด สามารถไปดำเนินการเปรียบเทียบคดีนอกสถานที่ตั้งปกติของสำนักงานได้โดยใช้สถานที่ของหน่วยงานราชการอื่นแทน   ในกรณีการหลอกลวงทางโทรศัพท์ ให้ Add line หรือผ่านทางช่องทางออนไลน์ใด ๆ ตามที่ แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตนั้น ขอให้ผู้ประกอบการและประชาชนโปรดระมัดระวัง โดยสามารถตรวจสอบกลับมาที่สำนักงานสรรพสามิตภาค หรือพื้นที่ หรือกรมสรรพสามิต เพื่อความปลอดภัย…

“ชัยวุฒิ”เสนอ อาเซียนตั้งองค์กรร่วมมือปราบอาชญากรรมออนไลน์

Loading

  “ดีอีเอส” ร่วมเปิดเวทีประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 3 เสนอสมาชิกอาเซียน เร่งจัดตั้งหน่วยงานข้ามชาติ เเก้ปัญหา Call Center ลดภัยคุกคามผ่านสื่อออนไลน์   วันนี้ (9 ก.พ.) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นผู้แทนประเทศไทย เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิทัลครั้งที่ 3 ณ เกาะโบราไคย์ ประเทศฟิลิปปินส์ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดีอีเอส และนายตุลย์ ไตรโสรัส เอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา เข้าร่วมประชุมด้วย     นายชัยวุฒิ กล่าวว่า การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัลในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านดิจิทัลของกลุ่มประเทศ 10 ประเทศ โดยการนำเทคโนโลยีการสื่อสารไอซีทีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นการนำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ   นอกจากนี้ ประเทศไทย ได้เสนอต่อที่ประชุมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ให้จัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงาน เพื่อกำกับดูแลและทำความร่วมมือระหว่างกันในการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ หรือ การหลอกลวงออนไลน์…

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยอย่าหลงกลมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหน่วยงานของรัฐ อ้างโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่

Loading

  โฆษก บช.สอท. เตือนภัยอย่าหลงกลมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ประชาชน หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหน่วยงานของรัฐ อ้างโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่ ดูดเงินออกจากบัญชีได้อย่างง่ายดาย   วันนี้ (4 ก.พ.) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ประชาชน หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหน่วยงานของรัฐ อ้างโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่ ดังนี้   ที่ผ่านมา บช.สอท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการประชาสัมพันธ์ ออกมาแจ้งเตือนประชาชนอยู่บ่อยครั้ง กรณีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่งข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์ไปยังประชาชน หลอกลวงให้เพิ่มเพื่อนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ แล้วส่งลิงก์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของกรมสรรพากรปลอม ซึ่งแฝงมากับมัลแวร์ (Malware) หรือโปรแกรมประสงค์ร้ายที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อทำอันตรายกับข้อมูลในระบบ เช่น ทำให้โทรศัพท์ของเหยื่อทำงานผิดปกติ ขโมยหรือทำลายข้อมูล หรือเปิดช่องทางให้มิจฉาชีพเข้ามาควบคุมโทรศัพท์ของเหยื่อได้ รวมไปถึงหลอกลวงให้กรอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ตั้งรหัส PIN จำนวน 6 หลัก โดยประชาชนส่วนใหญ่มักจะใช้ชุดเลขรหัสเดียวกันกับรหัสแอปพลิเคชันของธนาคาร ทำให้มิจฉาชีพนำรหัสดังกล่าวไปใช้โอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อได้อย่างง่ายดาย   ทั้งนี้มิจฉาชีพมักจะอ้างว่าเพื่อเป็นการตรวจสอบรายได้ของท่าน หรือเป็นการแจ้งเตือนให้ชำระภาษี หรือให้ทำการยกเลิกเสียภาษีจากโครงการของรัฐบาล หรืออ้างว่าเป็นการขอใช้โครงการคนละครึ่งเฟสใหม่ หรืออ้างว่าสามารถช่วยเหลือไม่ให้เสียภาษีย้อนหลังได้…

เช็กด่วน! ดีอีเอสเตือน แอปอันตราย 200 แอป ห้ามโหลด อาจสูญเงิน-ข้อมูลส่วนตัว

Loading

  ชัยวุฒิ ร่วม สกมช. แจงกรณีแอปดูดเงินอันตราย หลังพบประชาชนได้รับผลกระทบจากการติดตั้งแอปพลิเคชันอันตรายลงในโทรศัพท์มือถือ แล้วทำให้กลุ่มมิจฉาชีพเข้ามาดูดเงินออกไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการแพร่ระบาดของมัลแวร์อันตราย ที่มาในรูปแบบของแอปพลิเคชัน ซึ่งดีอีเอส และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้มีการตรวจสอบมาโดยตลอด   โดยพบปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยเฉพาะผู้ใช้งานโทรศัพท์ที่ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ถูกระบุว่าสามารถขโมยข้อมูล หรือควบคุมเครื่องโทรศัพท์ได้ โดยในปี 2022 มีการเผยแพร่รายชื่อแอปพลิเคชันอันตรายเหล่านี้   ซึ่งมีมากกว่า 200 รายการ ทั้งในระบบ iOS และ Android ตามที่ปรากฎใน Facebook ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ Facebook ของ สกมช. (NCSA THAILAND) จึงขอให้ผู้ใช้งานทำการตรวจสอบ หากพบแอปพลิเคชันดังกล่าวให้ถอนการติดตั้งโดยทันที และควรอัพเดทระบบของเครื่องโทรศัพท์ของตนเองให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ     ทั้งนี้ ดีอีเอส ขอแจ้งเตือนพี่น้องประชาชน ให้ระมัดระวังในการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่าง ๆ ลงบนโทรศัพท์มือถือ เพราะอาจจะไปเจอมัลแวร์อันตรายได้…

สะเทือนโลกวรรณกรรม! ชายอิตาลีรับสารภาพ “ขโมยต้นฉบับจำนวนมาก”

Loading

  ชายชาวอิตาลีให้การยอมรับเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า ขโมยต้นฉบับที่ไม่ได้ตีพิมพ์มากกว่า 1,000 ฉบับ รวมทั้งจากนักเขียนชื่อดัง นับเป็นการไขปริศนาที่สั่นสะเทือนโลกวรรณกรรมมานานหลายปี   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากกรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 8 ม.ค. ว่า อัยการของรัฐบาลกลางในนครนิวยอร์ก กล่าวในแถลงการณ์ว่า นายฟิลิปโป เบอร์นาร์ดินี วัย 30 ปี ซึ่งทำงานที่สำนักพิมพ์ “ไซมอน แอนด์ ชุสเตอร์” สารภาพผิดต่อข้อหาฉ้อโกงผ่านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ 1 กระทง โดยเขาปลอมตนเป็นนายหน้าและผู้จัดพิมพ์ทางอีเมล เพื่อขอรับนวนิยายและผลงานชิ้นอื่น ๆ จากบรรดานักเขียนและตัวแทนของพวกเขา ด้วยการส่งอีเมลจากบัญชีปลอม   การหลอกลวงนี้เป็นที่รู้จักในแวดวงวรรณกรรมมานานหลายปี โดยมีนางมาร์กาเร็ต แอตวูด, นายเอียน แมคอิวัน และนางแซลลี รูนีย์ อยู่ในกลุ่มนักเขียนนวนิยายที่ตกเป้าหมาย ซึ่งเรื่องกลายเป็นที่รู้จักในสาธารณชนเมื่อเดือน ม.ค. ปีที่แล้ว เมื่อเบอร์นาร์ดินีถูกเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) เข้าจับกุมที่สนามบินเจเอฟเค ในนครนิวยอร์ก   Man admits high-profile manuscript…