รู้ทัน Survey Scams หลอกเอาข้อมูล ผ่านแบบสำรวจออนไลน์

Loading

    ต้องยอมรับว่า การหลอกลวงยุคนี้มาในทุกรูปแบบ บางคนอาจเคยได้ยิน Romance Scams ที่หลอกให้รักแล้วให้โอนเงิน ช่วงนั้น สาวไทยโดนกันไปไม่ใช่น้อย   ตอนนี้กำลังมี Survey Scams ที่ให้คนตอบแบบสอบถามแล้วพยายามขอข้อมูลส่วนตัว แต่ Techhub มีวิธีหลีกหนี Scam เหล่านี้มาแชร์ให้อ่านกัน ลองไปทำความรู้จัก Survey Scams แต่ละชนิดกันครับ   1. Survey Scams   โดยทั่วไปแล้ว Scams เหล่านี้จะเริ่มต้นด้วยการติดต่อมาให้เราด้วยวิธีต่าง ๆ และบอกว่า เราอาจได้ส่วนลด โค้ดพิเศษ (หลอก) จากร้านค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทั้ง Lazada , Shopee และแพลตฟอร์มอื่น ๆ รวมทั้งอาจได้รางวัล หรือของแถมสุดพรีเมียม เพียงแค่เสียเวลาทำแบบสำรวจ ซึ่งเราจะถูกจูงใจให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของเราให้กับเขา เช่น ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ หรืออาจมากกว่านั้น  …

รู้ทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพบนแอป LINE พร้อมแนะ 5 วิธีเช็ก ก่อนตกเป็นเหยื่อกลโกง

Loading

    กลโกงมิจฉาชีพที่มักใช้หลอกลวงผู้ใช้บนแพลตฟอร์ม LINE ทั้งอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ , บัญชีทางการ LINE ปลอม , ชวนสมัครงานหรือลงทุน เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว จนสูญเสียทรัพย์สินมาแล้วหลายรายถือเป็นภัยใกล้ตัวที่ต้องรู้เท่าทัน แต่มีวิธีตรวจสอบและป้องกันได้ ก่อนตกเป็นเหยื่อ   นับวันกลโกงมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัลจนกลายเป็นวิถีชีวิตปกติ จนหลายคนเผลอ หลวมตัวตกเป็นเหยื่อ เพราะเหล่ามิจฉาชีพต่างก็งัดกลเม็ดมาหลอกได้อย่างแนบเนียน ขณะที่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็พยายามปราบปรามและให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชากรดิจิทัลในการป้องกันตัวเองไปพร้อมๆ กัน   เช่นเดียวกับแอป LINE ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่อยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ใช้ในไทยกว่า 53 ล้านคน ได้รวบรวม 5 กลโกงที่เหล่ามิจฉาชีพใช้บนแพลตฟอร์ม LINE หรือแอบอ้างชื่อบริษัทฯ พร้อมข้อเท็จจริง ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ LINE เอาไว้เช็คก่อนเชื่อ ไม่เป็นเหยื่อกลโกง   รู้ทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพบนแอป LINE พร้อมแนะ 5 วิธีเช็ก ก่อนตกเป็นเหยื่อกลโกง   1. อ้างเป็นเจ้าหน้าที่จาก LINE ทางโทรศัพท์…

ตำรวจเตือนระวังมิจฉาชีพหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว โฟนสแกมหลอกโดนคดีให้โอนเงิน

Loading

  เตือนภัยมิจฉาชีพหลอกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในทางมิชอบทั้งการทำฟิชชิ่ง โฟนสแกม โทรไปหลอกลวง หรือ ข่มขู่ผู้เสียหายเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูล พร้อมคำแนะนำกรณีตกเป็นเหยื่อควรทำอย่างไร พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัยมิจฉาชีพหลอกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นไปใช้ในทางมิชอบ หรือใช้ในการกระทำความผิด สร้างความเสียหายจากกรณีที่มีการนำเสนอทางสื่อทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับอาชญากรรมในลักษณะหลอกลวงเพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Identity Theft) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากประชาชน บัตรเครดิต รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเงินต่างๆ ไปใช้หาประโยชน์ในทางมิชอบ ใช้วิธีการในการหลอกลวงหลายรูปแบบ เช่น Phishing mail คือการหลอกลวงโดยใช้อีเมลหรือหน้าเว็บไซต์ปลอมในการหลอกลวงเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือ Phone scam คือการโทรไปหลอกลวง หรือข่มขู่ผู้เสียหายเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูล จากนั้นเหล่ามิจฉาชีพก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้หาประโยชน์ เช่น กรณีที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายเวชระเบียนของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ได้มาติดต่ออ้างว่าเป็นนายหน้าขอกู้เงินนอกระบบ โดยลักลอบนำข้อมูลสำเนาบัตรประชาชนของคนไข้กว่า 10 ราย มาขอกู้เงินจำนวนกว่า 100,000 บาท แต่เมื่อถึงกำหนดส่งดอกเบี้ยผู้กู้กลับไม่ชำระเงิน และขอผัดผ่อนเรื่อยมาผู้ปล่อยกู้จึงได้ติดตามทวงถามกับลูกหนี้ ซึ่งพบว่าลูกหนี้ทุกรายไม่รู้เรื่อง ทุกคนแจ้งว่าเป็นผู้ป่วยที่เดินทางมารักษาตัวที่โรงพยาบาลเท่านั้น แต่ถูกเจ้าหน้าที่รายดังกล่าวลักลอบนำเอกสารข้อมูลสำเนาบัตรประชาชนไปใช้ในการกู้เงิน พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตระหนักถึงพิษภัยดังกล่าวและได้กำชับไปยังทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องทุกพื้นที่ ให้เร่งสร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์ถึงภัยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทุกรูปแบบ พร้อมช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกมิจฉาชีพหลอกลวง รวมถึงให้เร่งทำการสืบสวนสอบสวนปราบปรามและดำเนินคดีมิจฉาชีพที่ฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชนห้วงการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างจริงจังต่อเนื่อง มีผลการปฏิบัติเป็นรูปธรรม…