สแกนคิวอาร์โค้ดโอนเงิน ระวังโดนหลอกโอนเงินไปยังมิจฉาชีพ ตั้งสติก่อนสแกน

Loading

  สแกนคิวอาร์โค้ดโอนเงิน ระวังโดนหลอกโอนเงินไปยังมิจฉาชีพ จากที่เป็นข่าวดัง ทนายโดนแก๊งคอลเซนเตอร์หลอกให้โอนเงินไปกว่า 1.2 ล้านบาท โดยโอนเงินผ่านการสแกน QR พร้อมเพย์ ซึ่งคนร้าย หลอกว่าเป็น QR รับเงิน ผู้เสียหาย ดำเนินการตามขั้นตอน และเป็นผู้ใส่รหัส สแกนหน้า และโอนเงิน พร้อมยืนยันรายการด้วยตนเองเป็นจำนวน 2 รายการ ซึ่งกลายเป็นโอนให้มิจฉาชีพโดยตรง   รูปแบบที่พบได้บ่อยๆในการหลอกสแกน QR มีดังนี้ •  ส่งข้อความหลอกลวง : อ้างเป็นหน่วยงาน กองทุน บำนาญ แจ้งว่าท่านได้รับเงินช่วยเพิ่มเติม หรือมีค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระ   •  อ้างตัวเป็นการไฟฟ้า การประปา : อ้างว่าช่วงนี้มีการลดหย่อนค่าบริการ สามารถชำระได้ที่ QR Code นี้ เพื่อหลอกให้เหยื่อสแกนแล้วโอนเงิน   •  ใช้ QR Code ปลอมแปะบนเอกสารสำคัญ : หลอกให้เหยื่อสแกนเพื่อโอนเงิน  …

รวมวิธีเช็กเบอร์มิจฉาชีพ 2567 เบอร์ไหนห้ามรับ เช็กง่าย ๆ ได้ที่นี่

Loading

เช็กมิจฉาชีพยังไง? ปัญหามิจฉาชีพติดต่อมายังเบอร์โทรศัพท์ของเรา เพื่อต้องการล้วงข้อมูลส่วนตัว หรือหลอกโอนเงินด้วยวิธีต่างๆ ยังคงเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนกังวลใจในการรับสายเบอร์แปลก ทว่าในปัจจุบันก็ยังพอมีช่องทางง่ายๆ ในการเช็กเบอร์มิจฉาชีพ 2567 ผ่านออนไลน์ที่ทุกคนสามารถทำตามได้ง่ายๆ ในเบื้องต้น เพื่อเป็นการช่วยคัดกรอง “เบอร์โทรที่ไม่ควรรับ” ซึ่งอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นเบอร์ของเครือข่าย Call Center ของแก๊งมิจฉาชีพ บทความนี้ ไทยรัฐออนไลน์นำ 5 วิธีเช็กเบอร์มิจฉาชีพแบบง่ายๆ มาฝากกัน

5 คดีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประจำปี 66 อาชญากรรมไซเบอร์ดูดเงินคนไทยกว่า 4 หมื่นล้าน

Loading

  5 คดีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประจำปี 2566 อาชญากรรมไซเบอร์ที่ดูดเงินคนไทยกว่า 4 หมื่นล้านบาทต่อปี   ต้องยอมรับว่า ‘มิจฉาชีพ’ มีหลากหลายรูปแบบและสามารถเข้าถึงตัวเราได้ในหลายช่องทาง ยิ่งในยุคนี้ที่การสื่อสารเปิดกว้าง แทบจะทุกคนมีโทรศัพท์เป็นของตัวเอง ในส่วนของข้อดีโทรศัพท์ได้ช่วยทำให้การติดต่อระหว่างกันเป็นไปได้สะดวกง่ายขึ้น แต่ส่วนภัยร้ายที่แฝงมาก็อาจทำให้เกิดความสูญเสียจนถึงชีวิตได้เช่นกัน   ก่อนจะพูดถึง 5 คดีความเสียหายหายที่เกิดจาก ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ ทีมข่าว TNN Online ได้สรุปตัวเลขเหตุอาชญากรรมทางเทคโนโลยีมาให้พิจารณา ซึ่งในระยะเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น คนไทยต้องสูญเสียทรัพย์สินให้กับการหลอกลวงรูปแบบนี้ไม่ต่ำกว่า 4.5 หมื่นล้านบาท   อ้างอิงสถิติแจ้งความออนไลน์จากเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 มีจำนวน 365,547 เรื่อง   แบ่งเป็นคดีออนไลน์ จำนวน 336,896 เรื่อง รวมมูลค่าความเสียหาย 45,738,507,864 บาท ตำรวจติดตามอายัดบัญชีได้ 167,347 บัญชี…

ระวัง! กลลวงใหม่ ‘คนร้าย’ ใช้ AI ปลอมเสียง หลอกโอนเงิน

Loading

    เตือนภัย มิจฉาชีพคิดกลโกงใหม่ ใช้ AI ปลอมเสียงเป็นคนคุ้นเคยหลอกยืมเงิน ระวังสกิลการโกงใหม่ ก่อนไหวตัวไม่ทัน     ในปัจจุบัน มีมิจฉาชีพเกิดขึ้นอยู่หลายรูปแบบ และหากพูดถึงมิจฉาชีพยอดฮิตที่หลาย ๆ คนต้องตกเป็นเหยื่ออยู่บ่อยครั้งนั้น คือ “แก็งคอลเซ็นเตอร์”   ต้องบอกเลยว่า มิจฉาชีพในปัจจุบันนั้น มีการพัฒนาทั้งเรื่องของการพูดคุยและสกิลการโกง ที่ทำเอาผู้เสียหายต้องเสียทรัพย์มหาศาลไปหลายคนแล้ว     ล่าสุดมีเครื่องมือ AI ที่ถูกพัฒนาช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ได้หลากหลาย แต่ด้วยความสามารถที่มากล้น ก็ย่อมมีความกังวลว่าจะถูกนำไปใช้งานในทางผิดได้ แน่นอนว่าล่าสุดพบนักหลอกลวงออนไลน์ นำ AI มาปลอมแปลงเสียง เพื่อหลอกเหยื่อให้โอนเงินช่วยเหลือ   โดยเกิดขึ้นกับสามีภรรยาชาวแคนาดาวัย 70 ปีคู่หนึ่ง รับโทรศัพท์ที่คิดว่าเป็นหลายชายโทรมา โดยในสายเผยว่าตนเองกำลังติดคุก และต้องการเงินประกันตัวด่วน ด้วยความร้อนรน สามีภรรยาคู่นี้จึงถอนเงินถึง 3,000 ดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 1 แสนบาทมารอไว้ แต่เคราะห์ดีที่ยังไม่ทันได้โอน     หลังกำลังจะถอนเงินจำนวนเดียวกันนี้ออกจากอีกธนาคารหนึ่ง ก็ได้ผู้จัดการของธนาคารเตือนก่อนว่า พวกเขากำลังถูกหลอกลวง…

ไขข้อสงสัย รับสายมิจฉาชีพ คุยเกิน 3 นาที โดนแฮ็กข้อมูลจริงไหม

Loading

    ไขข้อสงสัย หลังมีคลิปเสียงมิจฉาชีพแอบอ้างใช้ชื่อธนาคาร หากคุยเกิน 3 นาที จะโดนแฮ็กข้อมูลเพื่อไปเปิดบัญชี จริงหรือไม่   วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 มีรายงานว่า แฟนเพจ Anti-Fake News Center Thailand โพสต์ข้อความว่า ตามที่มีการนำเสนอข่าวเรื่องมิจฉาชีพแอบอ้างใช้ชื่อธนาคารแห่งหนึ่ง โทรหาประชาชน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และธนาคารกสิกรไทย พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ   กรณีที่ปรากฏคลิปเสียงมิจฉาชีพแอบอ้างใช้ชื่อธนาคาร โดยอ้างว่าหากผู้เสียหายคุยกับมิจฉาชีพ เกิน 3 นาที จะโดนแฮ็กข้อมูล เพื่อเอาไปทำบัญชีม้านั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และธนาคารกสิกรไทย ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ปัจจุบันมีการหลอกลวงแอบอ้างใช้ชื่อธนาคารพูดคุยกับผู้เสียหายผ่านทาง Call Center ซึ่งหากผู้ใช้งานหลงเชื่อหรือให้ข้อมูลทางธุรกรรมด้านการเงินกับมิจฉาชีพผ่านทางโทรศัพท์โดยในระยะเวลา 3 นาที อาจจะเป็นการพูดคุยข้อมูลเบื้องต้นเพื่อให้ผู้ใช้งานคล้อยตามแต่ไม่สามารถแฮ็กข้อมูลได้ เพียงแค่หลอกเอาข้อมูลหรือให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลดโปรแกรม ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลทางโทรศัพท์ได้ อีกทั้งทางธนาคารกสิกรก็ไม่มีนโยบายใช้เบอร์ส่วนตัวโทรหาประชาชนก่อน และสำหรับการเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารกสิกรไทย ธนาคารจะต้องมีการยืนยันข้อมูลและพิสูจน์ตัวตนจากผู้เปิดบัญชีโดยตรง หากมีบุคคลอื่นทราบข้อมูลเจ้าของบัญชีแต่ไม่ใช่เจ้าของตัวจริง จะไม่สามารถเปิดบัญชีกับธนาคารได้…

“ดีอีเอส” ห่วงประชาน เตือนระวัง SMS คืนเงินหลอกลวงมาอีกแล้ว

Loading

  “ดีอีเอส” ห่วงประชาน เตือนระวัง SMS คืนเงินหลอกลวงมาอีกแล้ว   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมประกาศเตือนประชาชน เพิ่มความระมัดระวัง หลังเจอ SMS หลอกโอนเงิน พร้อมแนะ 3 ข้อควรทำ   วันนี้ (20 พ.ย.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง หรือ (ดีอีเอส) ได้ออกมาโพสต์ข้อความเตือนภัยเกี่ยวกับ SMS หรือข้อความที่ส่งเข้ามาในโทรศัพท์มือถือเพื่อให้โอนเงิน หรือส่งมาในรูป จึงอยากจะเตือนประชาชนเพิ่มความระมัดระวัง พร้อมแนะ 3 ข้อที่ควรตระหนักถึง ดังนี้   “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมเตือน ระวัง! SMS คืนเงิน หลอกลวง โดยไม่สมัครใจ มาอีกแล้ว SMS หลอกโอนเงิน “ดีอีเอส” ห่วง ออกโรงเตือนประชาชน ตระหนัก และรู้เท่าทันมิจฉาชีพทุกรูปแบบ วอนอย่าหลงเชื่อข้อความที่ส่งเข้ามายังโทรศัพท์มือถือ และหมั่นเช็กโปรฯ เช็กยอดหนี้ หากผิดปกติรีบแจ้งผู้ให้บริการ   นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส)…