จีน สอดแนม เรื่องจริงหรืออิงนิยาย

Loading

การก่อตัวของจีนเป็นมหาอำนาจหนึ่งของโลก กำลังเปลี่ยนอาณาเขตไซเบอร์ มีความสามารถด้านการทหารและการให้บริการด้านข่าวกรองเพิ่มขึ้น เทคโนโลยีสื่อสารของจีนสามารถปกครองและควบคุมอาณาเขตทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐอื่นๆ และเคลื่อนพลต่อไปสู่อาณาเขตอำนาจของรัฐอื่น

รู้จัก HarmonyOS ระบบปฎิบัติการมือถือที่ใช้กับรถได้ จาก Huawei ที่สหรัฐแบน

Loading

  SHORT CUT •  ระบบปฎิบัติการ HarmonyOS จาก Huawei ที่เดิมถูกเปิดตัวเพื่อใช้กับโทรศัพท์มือถือหลังถูกสหรัฐฯแบน •  เวลาผ่านไปไม่กี่ปี จากระบบปฎิบัติการในมือถือ ก้าวมาสู่ระบบปฎิบัติการในรถ เพื่ออำนวยความสะดวกให้เจ้าของรถ •  จากการแบนเพราะสงครามการค้า จากข้อกังวลเรื่อง ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของสหรัฐฯ ได้สร้างคู่แข่งที่น่ากลัวอีกรายหนึ่งขึ้นมาแทน   รู้จัก HarmonyOS ระบบปฎิบัติการโทรศัพท์มือถือที่ใช้กับรถได้ จาก Huawei ที่สหรัฐแบน อาจกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าจีนเหนือกว่า ?   HarmonyOS คือ ระบบปฎิบัติการที่พัฒนาโดย Huawei ผู้ให้บริการโทรคมนาคมสัญชาติจีน เดิมทีมันถูกออกแบบให้เริ่มต้นใช้งานในโทรศัพท์มือถือ เปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2019 หรือ 3 เดือน หลังจากถูกสหรัฐฯ แบน เนื่องจากสงครามการค้าระหว่าง สหรัฐฯและจีน โดยอ้างว่าต้องแบนเพราะเหตุผลด้านความมั่นคงไซเบอร์ และหลังจากนั้นระบบนี้ถูกต่อยอดไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ ของ หัวเว่ย เช่น คอมพิวเตอร์และยานยนต์บนท้องถนน   พออ่านมาถึงตรงนี้ ถ้าคุณตกใจว่า…

ฝรั่งเศสบุกค้นสำนักงาน “หัวเว่ย” ในประเทศ ฐานต้องสงสัยประพฤติไม่เหมาะสม

Loading

บริษัท หัวเว่ย ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมของจีน ถูกตรวจค้นสำนักงานในฝรั่งเศส เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ฐานต้องสงสัย มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานดำเนินคดีทางการเงินของฝรั่งเศส (พีเอ็นเอฟ)

สหรัฐขึ้นบัญชี 2 บริษัทจีนที่ต้องเฝ้าระวัง อ้างมีเอี่ยวกองทัพจีน

Loading

กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้ประกาศเพิ่มผู้ผลิตชิปหน่วยความจำชั้นนำของจีนอย่างบริษัท หยางจื่อ เมโมรี เทคโนโลยีส์ จำกัด และบริษัท AI จีนอย่างเมกวี เข้าไปในรายชื่อบริษัทที่สหรัฐอ้างว่ามีส่วนให้ความช่วยเหลือกองทัพปลดปล่อยประชาชน (PLA) ของจีน

สกมช.ผนึกหัวเว่ยระดมสมองร่วมหาแนวทางการป้องกันภัยไซเบอร์

Loading

    เวิร์กช้อป “ผู้นำองค์กร-สมาคมระดับประเทศ” ร่วมหาแนวทางการป้องกันหลังแฮ็กเกอร์ระบาดหนัก ด้าน กสทช.เล็งวางแนวปฏิบัติโอเปอร์เรเตอร์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ขณะที่ “หัวเว่ย” เดินหน้าพัฒนา 5G สร้างระบบล็อครหัสเข้าแบบ 2 ชั้น ป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล   สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. จัดเสวนากลุ่มย่อย ภายใต้หัวข้อ “การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ด้านการเงินธนาคาร ให้โครงข่ายสัญญาณโทรคมนาคมทั่วไทย กับความสำคัญต่อภาคประชาชนและธุรกิจ” ในงานนิทรรศการสัปดาห์วิชาการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ปี 2566 (Thailand National Cyber Week 2023) โดยมี พล.อ.ต. อมร ชมเชย เลขาธิการ สกมช. น.ส.กนกอร ฉวาง ผู้อำนวยการส่วนการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายสุรชัย ฉัตรเฉลิมพันธุ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และนายกิตติพงษ์ ธีระเรืองไชยศรี Cyber Expert/Information Security…

สหรัฐฯ แบนอุปกรณ์สื่อสาร ‘หัวเว่ย-ZTE’ อ้างกระทบความมั่นคงของชาติ

Loading

  รัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ออกคำสั่งห้ามใช้อุปกรณ์สื่อสารจากบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ และบริษัท ZTE ของจีน โดยอ้างว่ากระทบต่อความมั่นคงของชาติจนถึงขั้นที่ “ไม่อาจยอมรับได้”   คณะกรรมาธิการกำกับดูแลกิจการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Commission : FCC) ประกาศวานนี้ (25 พ.ย.) ว่า ทางหน่วยงานยังได้บังคับใช้กฎห้ามการนำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์สอดแนมที่ผลิตโดยบริษัท Dahua Technology รวมไปถึงกล้องวิดีโอวงจรปิดของบริษัท Hangzhou Hikvision Digital Technology และบริษัทโทรคมนาคม Hytera Communications Corp ด้วย   มาตรการนี้ถือเป็นความพยายามล่าสุดของสหรัฐฯ ที่จะกีดกันบริษัทไฮเทคของจีนท่ามกลางความวิตกกังวลว่าปักกิ่งอาจใช้อุปกรณ์ของบริษัทเหล่านี้เป็นเครื่องมือสอดแนมชาวอเมริกัน   “กฎใหม่เหล่านี้เป็นหนึ่งในความพยายามของเราที่จะปกป้องชาวอเมริกันจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงของชาติที่เกิดจากระบบโทรคมนาคม” เจสซิกา โรเซนวอร์เซล ประธาน FCC ระบุในถ้อยแถลง   กรรมาธิการทั้ง 4 คนใน FCC ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรครีพับลิกัน 2 คน…