เมื่อตกเป็นเหยื่อสแกมเมอร์ เสียเงินอาจไม่เลวร้ายเท่าเสียความรู้สึก

Loading

    Summary ปัญหาสแกมเมอร์กลายเป็นวาระระดับโลกเพราะมีต้นเหตุจากเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ อีกทั้งยังส่งผลกระทบมากกว่าด้านการสูญเสียเงิน แต่ยังส่งผลสะเทือนถึงจิตใจอีกด้วย การศึกษาพบว่าเหยื่อที่เสียเงินจำนวนมากมักเผชิญความเครียดและความอับอาย หลายครั้งไม่กล้าที่จะพูดคุยกับคนรอบข้าง ผลกระทบทางใจ เช่น ความเครียด ความสิ้นหวัง การโทษตนเอง ส่งผลรุนแรงกว่ามูลค่าการสูญเสียที่เป็นตัวเงิน โดยเฉพาะในสแกมหลอกให้รัก (romance scam) ที่ผู้ถูกหลอกจะรู้สึกถูกหักหลังโดยคนที่ตัวเองรักหมดใจและสูญเสียความสามารถที่จะเชื่อใจคนใกล้ตัว ในฐานะคนใกล้ชิด การให้กำลังใจและรับฟังโดยไม่ตัดสินคือสิ่งสำคัญที่สุดเมื่อรู้ว่าคนใกล้ตัวตกเป็นเหยื่อ รวมถึงการช่วยรวบรวมหลักฐานเพื่อแจ้งความดำเนินคดี และหากเห็นสัญญาณความเครียดในระดับที่รุนแรงก็ควรพาเหยื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิต     ในยุคสมัยที่เราต้องเอาตัวรอดจากสารพัดกลโกงที่ส่งต่อมาทั้งทางโทรศัพท์มือถือ เว็บไซต์ และอีเมล์ สำหรับใครที่ยังอยู่รอดปลอดภัยก็ถือว่าโชคดี แต่จากสถิติที่ผู้เขียนไปพบปะกับเพื่อนครั้งล่าสุด ตัวพวกเขาเองหรือคนใกล้ตัวต่างผ่านประสบการณ์พลาดพลั้งถูกหลอกเอาเงินมาแล้วทั้งนั้น   คนในครอบครัวของผมเองก็ยังไม่พ้นตกเป็นเหยื่อ ทั้งกรอกบัตรเครดิตใส่เข้าไปในเว็บไซต์ปลอมที่ส่งมาทางอีเมล หรือสั่งซื้อของออนไลน์จากเว็บไซต์ที่ไม่มีอยู่จริง คงไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่าถ้าใครไม่เคยถูกหลอกหรือมีคนใกล้ตัวตกเป็นเหยื่อคงนับเป็นคนส่วนน้อยที่ตกขบวน!   หลายคนเข้าใจผิดว่าปัญหาสแกมเมอร์คือปัญหาระดับชาติ ผมอยากจะให้ทำความเข้าใจเสียใหม่ว่านี่คือ ‘ปัญหาระดับโลก’ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ The Economist ถึงขั้นพาดหัวข่าวไว้ว่าอุตสาหกรรมสแกมเมอร์ออนไลน์อาจเป็นเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติที่ใหญ่สูสีกับอุตสาหกรรมยาเสพติด   เครือข่ายดังกล่าวทำงานกระจายกันหลายประเทศทั่วโลก แต่มีศูนย์ใหญ่อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ใกล้ไม่ไกลจากประเทศไทย โดยองค์การสหประชาชาติประมาณการไว้ในปี 2023 ว่าสแกมเมอร์กว่า 200,000 ชีวิตจาก 70 ประเทศทั่วโลกเองก็เป็น ‘เหยื่อ’ ที่ถูกหลอกให้มาทำงานในแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่พม่าและกัมพูชา…

ON THIS DAY: 14 พฤษภาคม 1948 ก่อตั้งรัฐอิสราเอล

Loading

รัฐอิสราเอลสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 1948 หลังการประกาศอิสรภาพจากเครือจักรภพอังกฤษ โดยมี เดวิด เบน-กูเรียน (David Ben-Gurion) ผู้นำองค์กรไซออนิสต์โลก (World Zionist Organization) เป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนแรก

แฮ็กเกอร์ ‘สุจริต’ แฮ็กข้อมูลลับของหนึ่งในองค์กรใต้ UN

Loading

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) กำลังตรวจสอบการโจมตีทางไซเบอร์ที่แฮ็กเข้าไปในระบบไอทีขององค์กรเพื่อขโมยข้อมูลทรัพยากรบุคคล

UNDP เป็นองค์กรภายใต้องค์การสหประชาชาติ (UN) มีบทบาทในการทำงานด้านการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหายากจน ความเสมอภาค และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในมากกว่า 170 ประเทศ

อิสราเอล ฮามาส ยุทธศาสตร์และราคาที่ต้องจ่าย

Loading

อิสราเอลและกลุ่มติดอาวุธชาวปาเลสไตน์ วิเคราะห์ยุทธศาสตร์และราคาที่ทั้งสองฝ่ายต้องจ่ายให้กับความขัดแย้ง เกือบสองทศวรรษ… หลังรัฐบาลอิสราเอลภายใต้การนำของ “นายกรัฐมนตรียิตส์ฮัก ราบิน” และ “นายยัสเซอร์ อาราฟัต” ผู้นำกลุ่มปลดปล่อยปาเลสไตน์ หรือ PLO ได้จับมือกันลงนามใน “ข้อตกลงออสโล” (OSLO ACCORDS) เมื่อปี 1993

ฮามาสคือใคร เกี่ยวข้องกับอิสราเอล-ปาเลสไตน์อย่างไร และสารพัดคำถามที่เกี่ยวข้อง

Loading

8 ตุลาคม 2023 กลุ่มติดอาวุธ ฮามาส เปิดปฏิบัติการอัล-อักซา ฟลัด (Operation Al-Aqsa Flood) โดยอ้างว่า ยิงจรวดจำนวนมากข้ามชายแดนทางตอนใต้ของอิสราเอล เพื่อเปิดทางให้นักรบติดอาวุธแทรกซึมเข้าไปในอิสราเอลจากหลายทิศทาง บางส่วนเข้าไปในชุมชนใกล้ฉนวนกาซา สังหารประชาชนและจับพวกเขาเป็นตัวประกัน