สถานการณ์ ‘เมียนมา’ วิเคราะห์สมรภูมิสู้รบดุเดือด

Loading

นับเนื่องมาตั้งปลายเดือน ต.ค.2566 จนถึงปัจจุบัน สถานการณ์การสู้รบระหว่างกองทัพเมียนมา กับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ และกองกำลังพิทักษ์ประชาชน เกิดขึ้นในหลายภูมิภาค ทั้งรัฐฉานตอนเหนือ รัฐกะยา รัฐชิน รัฐยะไข่ และภูมิภาคสะกาย

ความเคลื่อนไหวใหม่ในพม่า กับโอกาสยุติสงครามกลางเมือง

Loading

  รัฐบาลใหม่ของประเทศไทยจะต้องเจอกับประเด็นเรื่องพม่าที่ต่อเนื่องมาจากรัฐบาลประยุทธ์ที่ผ่านมา   จึงจำเป็นจะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้แม่นว่าเราจะทำหน้าที่ประสานระหว่างอาเซียนกับผู้นำกองทัพพม่าและฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าอย่างไรจึงจะสามารถช่วยให้เกิดสันติภาพและความสงบสุขให้กับเพื่อนบ้านทางตะวันตกแห่งนี้ได้   คำประกาศของกองทัพพม่าเมื่อสัปดาห์ก่อนที่จะผ่อนผันโทษของอองซาน ซูจีลงจาก 19 ข้อหาเหลือ 14 ข้อหา   และลดโทษจากจำคุก 33 ปีเหลือ 27 ปีนั้นเป็นท่าทีที่จริงจังของพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่ายที่จะริเริ่มกระบวนการเจรจากับ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย” ในพม่าจริงหรือไม่   อาเซียนจะประชุมสุดยอดในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้   เชื่อกันว่าจะมีการ “ทบทวน” เนื้อหาของฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียนว่าด้วยวิกฤตพม่าเพื่อให้สอดคล้องกับ “ความเป็นจริงบนภาคพื้นดิน”   อาจจะหมายความว่าอาเซียนพร้อมจะลดความเข้มข้นของมาตรการที่จะไม่ร่วมสังฆกรรมกับระดับนำของพม่าจนกว่าจะมีความคืบหน้าในการทำตามฉันทามติ 5 ข้อนี้   หรืออาจจะนำไปสู่การเผชิญหน้าที่หนักขึ้นหรือไม่   อาเซียนเองก็มีท่าทีที่แตกต่างกันในกรณีนี้   อินโดนีเซียซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนอาเซียนปีนี้มีความแน่วแน่ในการที่จะกดดันให้รัฐบาลทหารพม่าต้องแสดงความคืบหน้าในการทำตาม 5 ข้อที่มิน อ่อง หล่ายไปร่วมประชุมและรับที่จะทำตาม   แต่ถึงวันนี้ก็ยังห่างไกลจากการนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม   อินโดฯ, มาเลซีย, สิงคโปร์กับฟิลิปปินส์โอนเอียงไปในทางเข้มเข้นกับทหารพม่า   ขณะที่เวียดนาม, กัมพูชา, ลาวและไทยมีท่าทีที่ผ่อนปรนมากกว่า  …