ออสเตรเลียเร่งสอบ 323 ตัวอย่างไวรัส หายจากแล็บในควีนส์แลนด์

Loading

ตัวอย่างไวรัส 323 หลอด หายไปจากห้องปฏิบัติการในรัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย แต่ทางการยืนยันไม่มีความเสี่ยงต่อประชาชน เนื่องจากไวรัสจะสลายตัวอย่างรวดเร็วหากอยู่นอกตู้แช่แข็ง

เช็ก 6 สถานที่ปลอดภัยที่สุด หากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 : สงครามนิวเคลียร์

Loading

    เปิดรายงานการศึกษาครั้งใหม่จากมหาวิทยาลัยนิโคเซีย ในไซปรัส ซึ่งมุ่งไปที่ผลลัพธ์เลวร้าย หากเกิดความขัดแย้งจนเป็น “สงครามนิวเคลียร์” โดยหลายประเทศอาจเผชิญภาวะอดอยากครั้งใหญ่ แล้วประเทศไหนปลอดภัยที่สุด   ขณะที่บางประเทศ เช่น อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย และไอซ์แลนด์ จะผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ ท่ามกลางความตึงเครียดทั่วโลกยังคงทวีความรุนแรงขึ้น ส่วนสถานที่หลบภัย ได้รับการพิจารณาว่า มีความปลอดภัยที่สุด เช่น นิวซีแลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์   ถึงอย่างไรการทำความเข้าใจกับความเสี่ยงเหล่านี้ และการเตรียมพร้อม เพื่อความอยู่รอดจากสงครามนิวเคลียร์ จึงมีความสำคัญมากกว่าที่เป็นอยู่   ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์เพิ่มสูงขึ้น และความเสี่ยงให้เกิดความขัดแย้งนิวเคลียร์ กลายเป็นปัญหาที่น่าวิตกมากขึ้นเรื่อยๆ ในรายงานการศึกษาล่าสุด ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสาร Nature Food ได้เน้นย้ำถึงผลที่ตามมาอันเลวร้ายจากสงครามนิวเคลียร์ อาจมีผลต่อแหล่งอาหารของโลก นอกเหนือจากการทำลายล้างที่เป็นผลทันทีจากนิวเคลียร์ ซึ่งมาจากรังสี ความร้อน และผลกระทบแรงระเบิด   รายงานนี้สร้างขึ้นจากการจำลองสงครามนิวเคลียร์สร้างผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและพื้นที่เกษตรกรรม เผยให้เห็นผลคาดการณ์ชัดเจนว่า แหล่งผลิตอาหารทั่วโลกต้องหยุดชะงัก ส่งผลให้ผู้คนกว่า 6.7 พันล้านคนทั่วโลกต้องอดอยาก   นิวเคลียร์ทำลายแหล่งผลิตอาหารโลก   หากสงครามนิวเคลียร์ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดในโลกต้องเผชิญความเลวร้าย การศึกษาฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า ประเทศต่างๆ…

เมตาคุมเข้มโฆษณาการเงินในออสเตรเลีย หวังสกัดมิจฉาชีพหลอกเงิน

Loading

เมตา (Meta) บริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก (Facebook) และอินสตาแกรม (Instagram) ประกาศในวันนี้ (2 ธ.ค.) ว่า บริษัทได้ออกกฎเข้มงวดขึ้นสำหรับผู้ลงโฆษณาสินค้าและบริการทางการเงินที่มุ่งเป้าผู้ใช้ชาวออสเตรเลีย เพื่อปราบปรามการหลอกลวงบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

เปิดหลักการ ‘6 ข้อ’ เสริมความปลอดภัย ‘OT Cybersecurity’

Loading

    คู่มือเกี่ยวกับหลักการของเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 6 ข้อเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบและจัดการดูแลสภาพแวดล้อม OT ของโครงสร้างพื้นฐานให้มีความปลอดภัย   สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSA) ร่วมกับหน่วยงานรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จากออสเตรเลีย แคนาดา เยอรมนี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร เผยแพร่คู่มือเกี่ยวกับหลักการของเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 6 ข้อเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบและจัดการดูแลสภาพแวดล้อม OT ของโครงสร้างพื้นฐานให้มีความปลอดภัย   1.ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ: นอกจากการเปลี่ยนแปลงของระบบไอทีมีผลกับความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจขององค์กรแล้ว สภาพแวดล้อม OT ก็มีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอาจนำไปสู่ภัยคุกคามและสามารถสร้างความเสียหายร้ายแรงให้กับอุปกรณ์หรือสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องได้ หากโครงสร้างพื้นฐานอย่างระบบประปาและพลังงานถูกโจมตี อาจทำให้เกิดหายนะกับชุมชนและบุคคลทั่วไปได้ และเพื่อความปลอดภัย ผู้ดูแลด้าน OT ควรพิจารณาวิธีการที่จะทำให้ระบบสามารถรีสตาร์ท สำรองข้อมูลเพื่อลดโอกาสที่ระบบจะหยุดทำงานและคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยในทุกระบบงานไม่เว้นแม้แต่งานด้าน cyber-hygiene   2.ความรู้ทางธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญ: ทีมเจ้าหน้าที่ควรรู้ว่าสิ่งใดที่ต้องปกป้องดูแล รวมถึงความเสี่ยงและแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เพราะจะทำให้ระบบภายในดีขึ้น ในทางปฏิบัติอาจมีการสร้าง Playbooks เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจที่มีข้อมูลที่เพียงพอ เช่น การกำหนดรหัสสีของสายเคเบิลประเภทต่างๆ และการระบุฟังก์ชันเพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วในกรณีฉุกเฉิน   3.ข้อมูล OT มีความสำคัญที่ต้องปกป้อง: เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐาน OT ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง…

รัฐสภาออสเตรเลียโหวตผ่านร่าง กม.ห้ามวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 16 ปีใช้สื่อออนไลน์

Loading

ออสเตรเลียผ่านกฎหมายห้ามวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 16 ปีใช้สื่อสังคมออนไลน์ หลังวุฒิสภาลงมติด้วยเสียงส่วนใหญ่ 34 ต่อ 19 เสียง เมื่อคืนนี้ (28 พ.ย.) ต่อเนื่องจากเมื่อวันพุธ (27 พ.ย.) ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรลงมติด้วยเสียงส่วนใหญ่ 102 ต่อ 13 เสียง รับรองร่างกฎหมายควบคุมการใช้สื่อที่มีความเข้มงวดมากที่สุดในโลก และจะเริ่มบังคับใช้ในอีก 12 เดือนข้างหน้า เพื่อให้หน่วยงานควบคุมกฎระเบียบการใช้งานสื่อภาครัฐและบริษัทสื่อออนไลน์มีเวลาปรับตัวและดำเนินการต่างๆให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่ ซึ่งมีโทษปรับสูงถึง 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 1,114 ล้านบาท) หากเพิกเฉยไม่ทำตามกฎหมาย