บริษัทการเงินออสเตรเลียไม่จ่ายค่าไถ่ตามที่แฮ็กเกอร์ขู่

Loading

  ซิดนีย์ 11 เม.ย.- บริษัทการเงินในออสเตรเลียตัดสินใจไม่จ่ายค่าไถ่ให้แก่ผู้เจาะระบบคอมพิวเตอร์ หรือแฮ็กเกอร์ที่ขโมยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย   ละติจูด ไฟแนนเชียล (Latitude Financial) ซึ่งเป็นบริษัทปล่อยสินเชื่อและบัตรเครดิต เผยเมื่อเดือนมีนาคมว่า แฮ็กเกอร์ได้ขโมยข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ประมาณ 14 ล้านราย และเมื่อไม่นานมานี้บริษัทได้รับคำขู่เรียกค่าไถ่จากกลุ่มที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีไซเบอร์ดังกล่าว แต่ไม่ให้ความสนใจตามที่รัฐบาลแนะนำ   บริษัทชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียในวันนี้ว่า จะไม่ให้รางวัลแก่พฤติกรรมของอาชญากร และไม่เชื่อว่าแฮ็กเกอร์จะคืนหรือทำลายข้อมูลที่ขโมยไปหากได้เงินค่าไถ่ การจ่ายค่าไถ่มีแต่จะส่งเสริมให้มีความพยายามขู่กรรโชกมากยิ่งขึ้น   ละติจูด ไฟแนนเชียลไม่ได้เปิดเผยข้อเรียกร้องของแฮ็กเกอร์ โดยเผยเพียงว่าข้อมูลที่ถูกขโมยประกอบด้วยใบขับขี่ของชาวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จำนวน 7 ล้าน 9 แสนราย หมายเลขหนังสือเดินทางจำนวน 53,000 เลขหมาย ข้อมูลย้อนไปถึงปี 2548 จำนวน 6 ล้าน 1 แสนรายซึ่งประกอบด้วยชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และวันเดือนปีเกิด   ด้านรัฐมนตรีมหาดไทยออสเตรเลียที่เคยประณามแฮ็กเกอร์ว่าเป็นอาชญากรชั้นต่ำกล่าวว่า การจ่ายค่าไถ่มีแต่จะส่งเสริมรูปแบบการทำธุรกิจด้วยการเรียกค่าไถ่ เพราะอาชญากรเหล่านี้มักกลับมาเรียกค่าไถ่เหยื่อซ้ำอีก ทั้งที่รับปากว่าจะยุติหลังจากได้เงินค่าไถ่แล้ว.       ————————————————————————————————————————————————————————————————- ที่มา : …

ออสซี่โดดร่วมวง แบนติ๊กต็อก บนอุปกรณ์ของรัฐ ปักกิ่งประณามทันที จี้ปฏิบัติเป็นธรรมกับบริษัทจีน

Loading

แฟ้มภาพรอยเตอร์   ออสซี่โดดร่วมวง แบนติ๊กต็อก บนอุปกรณ์ของรัฐ ปักกิ่งประณามทันที จี้ปฏิบัติเป็นธรรมกับบริษัทจีน   เมื่อวันที่ 4 เมษายน ออสเตรเลีย ประกาศแบนการใช้ ติ๊กต็อก แอปพลิเคชันแชร์วิดีโอสั้นยอดนิยม บนอุปกรณ์ของรัฐบาลทุกชนิด ส่งผลให้ออสเตรเลีย เป็นประเทศล่าสุดในกลุ่มชาติพันธมิตรตะวันตกที่ห้ามการใช้งานแอปสัญชาติจีนนี้บนอุปกรณ์ต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐบาล เนื่องจากกลัวเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของชาติ   มาร์ก เดรย์ฟัส รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของออสเตรเลีย กล่าวว่า การตัดสินใจครั้งนี้มีขึ้นภายหลังได้รับคำแนะนำจากหน่วยงานด้านข่าวกรองของประเทศและจะเริ่มปฏิบัติใช้โดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ดีรัฐบาลจะอนุมัติข้อยกเว้นบางประการเป็นรายกรณีไปด้วยการผ่อนปรนด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม   ท่าทีนี้ส่งผลให้ออสเตรเลีย เป็นชาติสุดท้ายในกลุ่ม “ไฟฟ์ อายส์” พันธมิตรด้านความมั่นคง ร่วมกับสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา และ นิวซีแลนด์ ที่ได้แบนติ๊กต็อกเข้าถึงอุปกรณ์ของหน่วยงานรัฐบาลของตนเองไปก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนี้ยังมีฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และ สหภาพยุโรป (อียู) ที่ก็ได้ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน   ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ กล่าวเตือนว่า ติ๊กต็อก ที่อ้างว่ามีผู้ใช้งานแอปนี้อยู่ทั่วโลกมากกว่า 1,000 ราย ได้แบ่งปันข้อมูลของผู้ใช้งานให้กับรัฐบาลจีน ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศต่าง…

ออสซี่จ่อยกเครื่องกฎระเบียบ-ตั้งหน่วยงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์

Loading

    นางแคลร์ โอนีล รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลียเปิดเผยกับสถานีวิทยุเอบีซี (ABC Radio) วันนี้ (27 ก.พ.) ว่า ออสเตรเลียวางแผนจะยกเครื่องกฎระเบียบด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และจัดตั้งหน่วยงานเพื่อดูแลการลงทุนของรัฐบาลในภาคส่วนดังกล่าว และช่วยประสานงานในการตอบสนองต่อการโจมตีของแฮ็กเกอร์   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ความคิดเห็นดังกล่าวมีขึ้นท่ามกลางการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งมีรายงานจากบริษัทอย่างน้อย 8 แห่งที่ถูกแฮ็ก ซึ่งรวมถึง เมดิแบงก์ ไพรเวท จำกัด (Medibank Private Ltd) บริษัทประกันสุขภาพรายใหญ่ และออปตัส (Optus) บริษัทโทรคมนาคมในเครือสิงคโปร์ เทเลคอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด (Singtel)   นางโอนีลกล่าวว่า กฎระเบียบด้านความปลอดภัยไซเบอร์ในปัจจุบันไม่เพียงพอที่จะจัดการกับการโจมตีและไม่สามารถปกป้องข้อมูลของผู้บริโภคได้ พร้อมกล่าวโทษรัฐบาลชุดก่อนหน้าที่นำกฎระเบียบเหล่านี้มาใช้   “กฎระเบียบเหล่านั้นไร้ประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่ควรค่าที่จะพิมพ์ลงบนกระดาษด้วยซ้ำ เมื่อต้องนำไปใช้รับมือกับเหตุการณ์ทางไซเบอร์จริง กฎระเบียบเหล่านั้นมันไม่เหมาะจะใช้ประโยชน์ในตอนนี้ และดิฉันคิดว่าจำเป็นต้องได้รับการปฏิรูป” นางโอนีลกล่าว   นางโอนีลระบุว่า นายกรัฐมนตรีแอนโทนี อัลบาเนซีจะพบปะกับบรรดาผู้นำอุตสาหกรรมและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในวันนี้ และนายกฯ ได้ตัดสินใจแต่งตั้งผู้ประสานงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลให้หน่วยงานของรัฐบาลทำงานร่วมกันเมื่อต้องรับมือกับเหตุการณ์ทางไซเบอร์ต่าง ๆ   ทั้งนี้ ทางการได้เผยแพร่เอกสารการอภิปรายเกี่ยวกับกลยุทธ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่…

1 ปีที่โลกวุ่น สายสืบออสซี่งานรุม เพราะสายลับต่างประเทศเกลื่อน

Loading

    “ไมค์ เบอร์เกส” อธิบดีองค์กรข่าวกรองความมั่นคงแห่งออสเตรเลีย (เอเอสไอโอ) เผยว่า ภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากการแทรกแซงต่างประเทศ ในรัฐบาลออสเตรเลีย และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทำให้องค์กรสายลับงานล้นมากกว่าเหตุก่อการร้าย 9/11 หรือเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในช่วงสงครามเย็น   สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานถ้อยแถลงการประเมินภัยคุกคามประจำปีของเบอร์เกส ระบุว่า ออสเตรเลียเผชิญกับความท้าทายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จากหน่วยสืบราชการลับและการแทรกแซงของต่างประเทศ     ตลอด 12 เดือนที่ผ่านมา เอเอสไอโอเข้าสลายรังสายลับที่ทำงานให้กับปฏิบัติการแทรกแซงต่างประเทศ บางคนได้รับหน้าที่ปฏิบัติงานเมื่อหลายปีก่อน   นั่นหมายความว่า เอเอสไอโองานรุมเร้าอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน งานยุ่งกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ 74 ปี งานมากกว่าช่วงสงครามเย็น และเหตุก่อการร้าย 9/11   เอเอสไอโอได้ทำลายแผนรัฐบาลต่างประเทศ ที่สอดแนมนักข่าวออสเตรเลียระดับอาวุโส ผ่านการศึกษาดูงานปลอม ๆ และตรวจสอบแนวทางที่น่าสงสัยให้กับสมาชิกตุลาการ   ทั้งนี้ เบอร์เกสไม่ได้ระบุชื่อประเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานแทรกแซงต่างประเทศ เพียงแต่ทิ้งปมไว้ว่า ความหลากหลายของหน่วยสืบราชการลับในหลายรัฐบาล อาจทำให้ทุกคนต้องเซอร์ไพรส์        …

ออสเตรเลียสั่งถอดกล้องวงจรปิดจีนทั้งหมด-หวั่นด้านความมั่นคงประเทศ

Loading

    ออสเตรเลียเตรียมรื้อกล้องวงจรปิดที่ผลิตในจีนออกจากสถานที่ป้องกัน เพราะเกรงว่าอาจส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ   บีบีซี รายงานว่า รัฐบาลออสเตรเลียเตรียมถอดกล้องวงจรปิดจากจีน หลังจากการตรวจสอบสถานที่ของรัฐบาลในประเทศ พบว่า กล้องวงจรปิดและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยกว่า 900 ตัวที่ติดตั้งอยู่บนสถานที่ของรัฐบาลมากกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะแผนกต่างประเทศและแผนกอัยการสูงสุดนั้นผลิตโดยบริษัทฮิควิชั่น (Hikvision) และบริษัทต้าหัว (Dahua) บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยจากจีน ตามสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาที่ได้ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องดังกล่าวเมื่อปีที่ผ่านมา อ้างว่ากลัวรัฐบาลจีนอาจเข้าถึงข้อมูลสำคัญผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ได้     ด้านนายริชาร์ด มาร์เลส รัฐมนตรีกลาโหมของออสเตรเลีย ระบุว่า รัฐบาลจะถอดกล้องวงจรปิดผลิตในจีนที่ติดตั้งอยู่ตามอาคารต่าง ๆ ในสังกัดของกระทรวงออกทั้งหมด เพื่อความปลอดภัยอย่างสมบูรณ์ ขณะเดียวกันทางรัฐบาลจะพิจารณาว่าจะมีการถอดกล้องวงจรปิดจากจีนที่ติดตั้งอยู่ในอาคารอื่น ๆ อีกหรือไม่ต่อไป   ด้านบริษัทฮิควิชั่น ออกมาแย้งว่า ข้อกล่าวหาเหล่านั้นไม่มีข้อมูลที่เป็นความจริง บริษัทไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลวิดีโอของผู้ใช้ปลายทางได้ ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะส่งต่อข้อมูลไปยังจีนอย่างแน่นอน ส่วนบริษัทต้าหัว ยังไม่ได้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องนี้   ขณะที่นายกรัฐมนตรีแอนโธนี อัลบานีส ของออสเตรเลีย กล่าวว่า เขาไม่เชื่อว่าการถอดกล้องออกจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน เราปฏิบัติตามผลประโยชน์ของประเทศอย่างโปร่งใส   ทั้งนี้ บริษัททั้ง 2 แห่งของจีนถูกสหรัฐขึ้นบัญชีดำ…

ออสเตรเลียจ่อทุ่ม 1 พันล้าน ซื้อทุ่นระเบิดทะเลไฮเทค คาดสกัดอิทธิพลต่างชาติ

Loading

    โฆษกกระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย เปิดเผยในวันนี้ (23 ม.ค.) ว่า ออสเตรเลียจะเร่งแผนซื้อทุ่นระเบิดทางทะเลประสิทธิภาพสูงเพื่อปกป้องเส้นทางเดินเรือและปกป้องท่าเรือจากผู้รุกราน ขณะที่สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แผนการดังกล่าวมีขึ้นท่ามกลางแผนการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก   โฆษกกระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย เปิดเผยว่า ทุ่นระเบิดดังกล่าวคือทุ่นระเบิดอัจฉริยะซึ่งออกแบบมา เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเป้าหมายทางทหารและเรือประเภทต่าง ๆ   กระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย ระบุว่า “ออสเตรเลียกำลังเร่งจัดหาทุ่นระเบิดทางทะเลอัจฉริยะ ซึ่งจะช่วยรักษาความปลอดภัยในเส้นทางคมนาคมทางทะเลและเส้นทางการเดินเรือของออสเตรเลีย” โดยความสามารถสำคัญของทุ่นระเบิดสมัยใหม่นี้อยู่ที่การขัดขวางผู้บุกรุก   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แม้กระทรวงกลาโหมจะไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติม แต่หนังสือพิมพ์ซิดนีย์ มอร์นิง เฮอร์รัลด์รายงานในวันนี้ว่า ออสเตรเลียอาจใช้งบประมาณสูงถึง 1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (698 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการจัดซื้ออาวุธใต้ทะเลไฮเทคดังกล่าว และยังรายงานอ้างแหล่งข่าวอีกว่า รัฐบาลกลางจะประกาศการทำสัญญาซื้อทุ่นระเบิดจำนวนมากจากผู้ค้าอาวุธยุทโธปกรณ์รายหนี่งในยุโรปในเร็ว ๆ นี้   ทั้งนี้ ออสเตรเลียได้เพิ่มการลงทุนทางทหารในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมทั้งการบรรลุข้อตกลงเมื่อปี 2564 ในการซื้อเรือดำน้ำนิวเคลียร์จากสหรัฐและอังกฤษ         ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :         …