ยูโรโพลแท็กทีมตำรวจอเมริกากวาดล้างดาร์กเว็บ รวบผู้ต้องสงสัย 150 ราย เงินสด-ปืน-ยาเสพติด

Loading

  เอเอฟพี – ตำรวจทั่วโลกบุกรวบตัวผู้ต้องสงสัย 150 คนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายของออนไลน์ผิดกฎหมาย สามารถยึดเงินสดและบิตคอยน์มูลค่าหลายล้านยูโร รวมถึงยาเสพติดและปืน ถือเป็นหนึ่งในปฏิบัติการกวาดล้างเว็บผิดกฎหมายครั้งใหญ่ที่สุด ยูโรโพลเปิดเผยเมื่อวันอังคาร (26 ต.ค.) ว่า ปฏิบัติการนี้ที่มีชื่อว่า “ดาร์กฮันเตอร์” มีจุดเริ่มต้นเมื่อเดือนมกราคมที่ตำรวจเยอรมนีได้ทลาย “ดาร์กมาร์เกต” ซึ่งเป็นตลาดออนไลน์ผิดกฎหมายใหญ่ที่สุดของโลก ดำเนินการโดยผู้ต้องสงสัยชาวออสเตรเลียเพื่อใช้ในการขายยาเสพติด ข้อมูลบัตรเครดิตที่ขโมยมา และมัลแวร์ ยูโรโพลแจงว่า การจับกุมผู้ต้องสงสัยคนดังกล่าวที่ใกล้ชายแดนเยอรมนี-เดนมาร์ก และการเข้าควบคุมโครงสร้างพื้นฐานในการก่ออาชญากรรม ทำให้เจ้าหน้าที่สืบสวนทั่วโลกค้นพบคลังข้อมูลหลักฐาน   อัยการเยอรมนีเปิดเผยในขณะนั้นว่า ดาร์กมาร์เกตถูกค้นพบระหว่างการสอบสวนไซเบอร์บังเกอร์ บริการเว็บโฮสต์ที่อยู่ในบังเกอร์เก่าของนาโต (องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ) ทางตะวันตกของเยอรมนี นับจากนั้น ศูนย์อาชญากรรมทางไซเบอร์แห่งยุโรป (อีซี3) ในสังกัดยูโรโพล เริ่มรวบรวมข้อมูลข่าวกรองเพื่อระบุตัวเป้าหมายหลัก ทั้งนี้ “ดาร์กเน็ต” รวมถึงเว็บไซต์ที่เข้าถึงได้ด้วยซอฟต์แวร์ หรือการให้สิทธิที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้น เพื่อรับประกันว่า จะไม่มีการเปิดเผยตัวตนของผู้ใช้ โดยในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ดาร์กเน็ตถูกกดดันมากขึ้นจากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ   ดาร์กฮันเตอร์ ประกอบด้วย ปฏิบัติการในออสเตรเลีย บัลแกเรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร…

สหรัฐฯ เผยสถิติจ่ายค่าไถ่บนโลกไซเบอร์ในปี 2564 อาจสูงกว่า 10 ปีที่ผ่านมารวมกัน

Loading

  กระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกา เผยว่าในครึ่งปีแรกของปี 2564 มีตัวเลขการรายงานต่อรัฐบาลเกี่ยวกับยอดการชำระเงินค่าไถ่ที่เกี่ยวกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่มีมูลค่าสูงถึง 590 ล้านเหรียญ (ประมาณ 19,700 ล้านบาท) ซึ่งถ้าแนวโน้มยังเป็นเช่นนี้ต่อไปก็จะมากกว่ายอดรวมความเสียหายของทั้ง 10 ปีก่อนหน้ารวมกัน เครือข่ายการบังคับใช้กฎหมายอาชญากรรมทางการเงินของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ (Treasury’s Financial Crimes Enforcement Network) เผยว่าสถิติข้างต้นสูงกว่ายอดรวมที่สถาบันทางการเงินเปิดเผยตลอดทั้งปีแล้วถึงร้อยละ 42 เจ้าหน้าที่สืบสวนของกระทรวงการคลังพบวอลเล็ตคริปโทเคอเรนซีมากกว่า 150 แหล่ง ที่มีมูลค่าการทำธุรกรรมสูงถึง 5,200 ล้านเหรียญ (ประมาณ 173,000 ล้านบาท) ซึ่งเกี่ยวกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ อย่างไรก็ดี รายงานฯ ระบุว่าตัวเลขการรายงานจากสถาบันทางการเงินที่พุ่งสูงขึ้น อาจสะท้อนระดับของความตื่นตัวในเรื่องอาชญากรรมทางไซเบอร์ก็เป็นได้ ก่อนหน้านี้ ทางรัฐบาลกลางพยายามที่จะหยุดยั้งแนวโน้มการโจมตีที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการออกมาตรการคว่ำบาตรผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนค่าเงินออนไลน์ที่่แอบหาเงินด้วยการสับเปลี่ยนที่มาของคริปโทเคอเรนซี เช่นเดียวกับ 30 ประเทศที่ร่วมกันประกาศในการประชุมผู้นำที่จัดขึ้นที่สหรัฐฯ ว่าจะร่วมกันต่อสู้กับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ที่มา Yahoo/AFP   —————————————————————————————————————————————– ที่มา : Beartai               /…

APWG เผยสถิติฟิชชิ่งไตรมาสสุดท้ายปี 2019 พบ 74% ใช้ HTTPS ส่วนใหญ่หลอกขโมยรหัสผ่านอีเมล

Loading

Anti-Phishing Working Group หรือ APWG เป็นองค์กรความร่วมมือระดับนานาชาติด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลภัยคุกคามประเภทฟิชชิ่งและอาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยในแต่ละไตรมาสจะมีการเผยแพร่รายงานสรุปสถานการณ์ภัยคุกคามในภาพรวม ในรายงานสถิติฟิชชิ่งไตรมาสที่ 4 ของปี 2019 มีหลายข้อมูลที่น่าสนใจ ประกอบด้วย เว็บฟิชชิ่ง 74% เป็นการเชื่อมต่อผ่าน HTTPS แล้ว โดยส่วนใหญ่ใช้ใบรับรองที่แจกฟรี (ข้อแนะนำให้ตรวจสอบว่าเว็บไซต์ใช้ HTTPS หรือไม่นั้นเป็นสิ่งที่ล้าสมัยแล้ว) ประเภทกลุ่มธุรกิจที่พบว่าถูกสร้างหน้าเว็บไซต์ปลอมมากที่สุดคือ SaaS/Webmail ซึ่งจุดประสงค์เพื่อขโมยบัญชีอีเมลของผู้ใช้บริการเหล่านี้ รองลงมาคือประเภท Payment ซึ่งเป็นบริการชำระเงินแบบออนไลน์ การโจมตีแบบ Business Email Compromise หรือ BEC ซึ่งเป็นการหลอกให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทโอนเงินออกไปให้ผู้ประสงค์ร้ายนั้น 62% เป็นการหลอกให้ซื้อ gift card แล้วส่งรหัสในบัตรเติมเงินไปให้ รองลงมา (22%) คือการหลอกให้โอนเงินไปยังเลขบัญชีของผู้ประสงค์ร้ายโดยตรง การจดโดเมนเพื่อใช้เป็นเว็บฟิชชิ่ง ส่วนใหญ่ยังเป็นการจด .com และ .org แต่ก็เริ่มพบการใช้ .info, .xyz หรือโดเมนที่เป็นโค้ดประเทศ เช่น .br, .uk,…