‘โจรไซเบอร์’ ป่วนอาเซียน ดึง ‘AI’ ล้วงข้อมูลธุรกิจ

Loading

    วันนี้ธุรกิจในอาเซียนยังคงมีความเสี่ยงที่สูง ขณะเดียวกันกลายเป็นเป้าหมายที่บรรดาแฮกเกอร์พยายามเจาะหาข้อมูลประจำตัวอย่างหนักหน่วง แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ระดับโลก เผยว่า สามารถบล็อกการโจมตีแบบ bruteforce ที่พยายามโจมตีธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มากกว่า 23 ล้านครั้ง ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2567   สำหรับ การโจมตีแบบบรูทฟอร์ซ (bruteforce attack) เป็นวิธีการที่อาชญากรไซเบอร์ใช้ในการคาดเดาข้อมูลการเข้าสู่ระบบ (login info) คีย์การเข้ารหัส (encryption key) หรือค้นหาเว็บเพจที่ซ่อนอยู่   โดยพยายามใช้ชุดอักขระที่เป็นไปได้ทั้งหมดอย่างเป็นระบบจนกว่าจะพบชุดอักขระที่ถูกต้อง การโจมตีแบบบรูทฟอร์ซที่ประสบความสำเร็จ ผู้โจมตีจะได้รับข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลที่มีค่า สามารถติดตั้งและแพร่กระจายมัลแวร์ และแฮ็กระบบเพื่อดำเนินการที่เป็นอันตรายต่าง ๆ   ‘ไทย’ ถูกโจมตี ‘ติดท็อป 3’   สถิติระบุว่า ตั้งแต่เดือนม.ค.ถึงมิ.ย. 2567 ผลิตภัณฑ์สำหรับองค์กรธุรกิจของแคสเปอร์สกี้ที่ติดตั้งในบริษัทขนาดต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตรวจพบและบล็อก Bruteforce.Generic.RDP ได้ทั้งหมดจำนวน 23,491,775 รายการ   โปรโตคอล Remote Desktop…

ภัยไซเบอร์ยังน่ากลัว!ชี้ธุรกิจไทยโดนคุกคามทางเว็บ 5,811 รายการต่อวัน

Loading

    “แคสเปอร์สกี้” ชี้ธุรกิจไทยโดนภัยคุกคามทางเว็บเฉลี่ย 5,811 รายการต่อวัน! เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 1.4 แสนต่อวัน   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผชิญกับภัยคุกคามทางเว็บ (web threat) หรือภัยคุกคามที่เกิดจากอินเทอร์เน็ต (internet-born threat) เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นทั้งศูนย์กลางการเติบโตและเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์   โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 โซลูชันความปลอดภัยสำหรับธุรกิจของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามทางเว็บในภูมิภาคมากกว่า 26 ล้านรายการ โดยเฉลี่ยแล้วนับเป็นความพยายามโจมตีทางเว็บ 146,944 รายการต่อวัน ประเทศไทยพบความพยายามโจมตีทางเว็บทั้งหมด 1,057,732 รายการ คิดเป็นจำนวนเฉลี่ย 5,811 รายการต่อวัน   ภัยคุกคามทางเว็บหรือภัยคุกคามออนไลน์เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์หรือการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ผ่านอินเทอร์เน็ต ภัยคุกคามทางเว็บเกิดจากช่องโหว่ของผู้ใช้ ผู้พัฒนา ผู้ดำเนินการบริการเว็บ รวมถึงตัวบริการเว็บเอง ไม่ว่าจะมีเจตนาหรือสาเหตุใด ภัยคุกคามทางเว็บอาจสร้างความเสียหายให้กับทั้งบุคคลและองค์กร     บริษัทและองค์กรธุรกิจในมาเลเซียอยู่ในอันดับสูงสุดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผชิญกับภัยคุกคามทางเว็บ 19,615,255 รายการ…

อันตราย! เตือน Deepfake ถูกนำมาใช้หลอกลวงบนโซเชียล ‘เร็วกว่าที่คาด’

Loading

ตามรายงานล่าสุด Deepfakes กลายเป็นเครื่องมือที่อาชญากรไซเบอร์ นักแฮกข้อมูล สำนักข่าวปลอม และอื่นๆ ใช้งานเพื่อสร้างเนื้อหาปลอม รวมถึงเพื่อหลอกลวงบนโซเชียลมีเดียเร็วกว่าที่คาด

Paris 2024 เสี่ยง! ฟอร์ติเน็ตจับตาโจรไซเบอร์ฉวยโอกาสตีฝรั่งเศส กิจกรรมแฮ็กพุ่งหลังรัสเซีย-เบลารุสไม่ได้รับเชิญลงแข่ง

Loading

ฟอร์ติเน็ต (Fortinet) ชี้จุดยืนทางการเมืองและอิทธิพลระหว่างประเทศของฝรั่งเศส ทำให้การแข่งขันโอลิมปิก ปารีส 2024 เป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับกลุ่มที่มีแรงจูงใจทางการเมือง พบกิจกรรมกลุ่มแฮ็กคึกคักขึ้นหลังรัสเซีย-เบลารุสไม่ได้รับเชิญลงแข่งกีฬาโลก เล็ง Paris 2024 มียอดโจมตีเกิน Tokyo 2020 หรือโอลิมปิกเกมส์ครั้งก่อนหน้าที่ถูกโจมตี 4.4 พันล้านครั้ง

ธุรกิจ 62% ยอมรับ ‘มีช่องโหว่’ ระบบกันภัย ‘สำนักงานใหญ่ – สาขา’

Loading

  การศึกษาล่าสุดโดย “แคสเปอร์สกี้” เผย ธุรกิจที่มีสาขาอยู่ทั่วโลกกว่า 62% พบว่า องค์กรมีช่องโหว่ จากความแตกต่างกันในระดับความแข็งแรงของการป้องกันทางไซเบอร์   บริษัท 48% ยอมรับว่ามีปัญหานี้ แต่ไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องวิกฤติ บริษัท 14% ระบุว่า สาขาของตนนั้นต้องการมาตรการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เพิ่มเติม   ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้เตือนธุรกิจที่มีหลายสาขาว่า ความแตกต่างกันดังกล่าวอาจส่งผลต่อความปลอดภัยขององค์กรทั้งหมด   62% ยอมรับว่า ‘มีช่องโหว่’ แคสเปอร์สกี้เผยถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาด้านความปลอดภัยของเครือข่ายและข้อมูลที่บริษัทเหล่านี้ต้องเผชิญโดยระบุว่า มีบริษัทที่ตอบแบบสอบถามเพียง 38% เท่านั้น ที่มั่นใจว่าระบบป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ของบริษัทสาขามีประสิทธิภาพเท่ากับในสำนักงานใหญ่   ขณะที่ บริษัท 62% ยอมรับว่ามีช่องโหว่ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขา โดยแบ่งเป็นบริษัท 48% เห็นว่ามีปัญหาแต่ไม่ได้รุนแรง บริษัทเหล่านี้เชื่อว่าสาขาส่วนใหญ่ได้รับการป้องกันที่ดี   บริษัท 13% มองว่าปัญหานี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง โดยคิดว่ามีเพียงไม่กี่สาขาที่ได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอ บริษัท 1% ระบุว่า ไม่มีสาขาใดเลยที่ได้รับการรักษาความปลอดภัยอย่างแท้จริง   นอกเหนือจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้การป้องกันไซเบอร์มีความเหลื่อมล้ำ คือการขาดความเชื่อมั่นในความเชี่ยวชาญของพนักงานประจำสาขา   รายงานพบว่าบริษัท 37%…