ระวัง!! ‘ฟิชชิ่ง’ แทรกซึมในที่ทำงาน ‘แคสเปอร์สกี้’ เปิดกลโกงล่าสุด

Loading

  ‘ฟิชชิ่ง’ เป็นคำคุ้นเคยที่ได้ยินในข่าว เป็นเทคนิคแทรกซึมของอาชญากรไซเบอร์ เพราะง่ายและได้ผลดี โดยพื้นฐานแล้ว ฟิชชิ่ง เป็นการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตประเภทหนึ่ง ใช้วิธีหลอกลวงเพื่อเอาข้อมูลประจำตัวผู้ใช้ รวมถึงขโมยรหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลลับอื่น ๆ   จับตา ‘ฟิชชิ่ง’ (Phishing) ระบาดหนัก อาชญากรใช้เทคนิคแทรกซึม ด้วยเพราะเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลดี ฟิชชิ่ง คือ การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตประเภทหนึ่ง ใช้หลอกเพื่อเอาข้อมูลประจำตัวของผู้ใช้ ซึ่งรวมถึงขโมยรหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต รายละเอียดบัญชีธนาคาร และข้อมูลลับอื่นๆ   ‘เอเดรียน เฮีย’ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า อาชญากรไซเบอร์ ติดตามแนวโน้มอยู่ตลอดเวลา จึงรู้หัวข้อล่าสุดที่จะเลือกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเทคนิควิศวกรรมสังคมที่เล่นงานจิตใจของมนุษย์ ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ยากจะอดใจที่จะคลิกลิงก์ที่ไม่รู้จัก ซึ่งอาจกลายเป็นอันตรายในที่สุด   ตัวอย่าง หัวข้อฟิชชิงที่สำคัญได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ในปี 2565 นั้นเกี่ยวข้องกับ เงินชดเชย โบนัส และการคืนเงินต่างๆ โบนัสและค่าตอบแทนเป็นสิ่งยากจะปฏิเสธได้ในช่วงเวลาวิกฤติและสภาวะความไม่แน่นอนต่างๆ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมมิจฉาชีพจึงรับปากเป็นมั่นเหมาะว่า “จะให้ความช่วยเหลือทางการเงิน” ก็เพื่อหลอกลวงเงินจากผู้ใช้นั่นเอง   “แคมเปญส่งเสริมการขายโดยธนาคารรายใหญ่”…

รู้จัก N-Day ไวรัสแฝงบน Chrome ที่ Google แก้เผ็ดด้วยการอัปเดตทุกสัปดาห์

Loading

  จำนวนผู้ใช้งาน Chrome ที่มีกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลก กลายเป็นเรื่องสำคัญ Google จำเป็นต้องเพิ่มความปลอดภัย ล่าสุด Google เรียกความมั่นใจจากผู้ใช้งานว่า Chrome ปลอดภัยจากช่องโหว่ Zero-day และ n-day แล้ว   การใช้ประโยชน์จาก N-day คืออะไร   Amy Ressler ทีมรักษาความปลอดภัยของ Chrome เล่าว่า ช่องโหว่ N-day คือการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของโปรแกรมระหว่างที่กำลังแก้ไขปัญหา ผ่านทางโครงการที่ชื่อ Chromium ซึ่งเป็นโอเพ่นซอร์สที่เปิดให้ทุกคนแอบดูซอร์สโค้ดเพื่อนำไปใช้ในการร่วมกันปรับปรุงและแก้ไขไวรัส   แต่มีคนดีก็ต้องมีคนร้าย ซึ่งคนร้ายแอบนำซอร์สโค้ดเหล่านี้ไปใช้แทรกซึมและแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ในช่วงที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์กำลังแก้ไขปัญหาและผู้ใช้งานรุ่นเบต้า จะฟีดแบ็กปัญหาต่าง ๆ กลับมา เมื่อได้รับการแก้ไข ก็ค่อยปล่อยออกสู่สาธารณะ   ซึ่งระหว่างนี้ อาชญากรไซเบอร์และผู้คุกคาม จะเอารุ่นเบต้าไปแอบปล่อยด้วยข้อความดึงดูดและหลอกลวงเพื่อหาผลจากช่องโหว่นั่นเอง   เมื่อมีการเปิดแพตช์ หรือตัวปรับปรุงแก้ไขสู่สาธารณะ ก็กลายเป็นช่องโหว่ให้กับผู้ใช้งานที่ไม่ได้ติดตั้งแพตช์ แฮ็กเกอร์ก็สามารถหาประโยชน์จากแพตช์ที่มีปัญหาเหล่านี้ได้อีก   นั่นจึงกลายเป็นที่มาของคำว่า “การแสวงหาผลประโยชน์แบบ…

สุดเสี่ยง!!! เอเชียแปซิฟิก’ พื้นที่เป้าหมายภัยคุกคามออนไลน์

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานล่าสุดเรื่องรูปแบบแนวโน้มของ APT (Advanced Persistent Threats) ของไตรมาสที่สองของปี 2023 ขณะที่ ‘เอเชียแปซิฟิก’ ยังเป็นพื้นที่ ถูกคุกคามจากภัยออนไลน์ตัวใหม่ ๆ   แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานล่าสุดเรื่องรูปแบบแนวโน้มของ APT (Advanced Persistent Threats) หรือ การโจมตีแบบระบุเป้าหมาย ซึ่งถือเป็นการโจมตีของภัยคุกคามขั้นสูง ของไตรมาสที่สองของปี 2023   นักวิจัยแคสเปอร์สกี้ได้วิเคราะห์ รวมไปถึงการสร้าง มัลแวร์ สายพันธุ์ใหม่ และการใช้เทคนิคใหม่ๆ ของ อาชญากรไซเบอร์ โดยเฉพาะ เรื่องสำคัญคือแคมเปญการโจมตีที่มีความซับซ้อน ชื่อว่า “Operation Triangulation” ที่ดำเนินการใช้แพลตฟอร์มมัลแวร์ iOS มายาวนานโดยไม่มีใครรู้จักมาก่อน   ข้อมูลสำคัญจากรายงาน APT ไตรมาส 2 ได้แก่   •  เอเชียแปซิฟิกเป็นพื้นที่ถูกคุกคามตัวใหม่ “Mysterious Elephant”…

จับตา Generative AI สู่ช่องทาง ‘อาชญากรไซเบอร์’ โจมตี!!

Loading

  ทุกเทคโนโลยีมีศักยภาพในการใช้งานทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเทคโนโลยี “generative AI” อย่างเช่น ChatGPT ซึ่งนับเป็นแพลตฟอร์มที่ถูกกล่าวถึงอย่างมากในแวดวงไอที   แซม ออลท์แมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OpenAI ผู้สร้าง ChatGPT เองก็ได้แสดงความกังวลในแถลงการณ์ฉบับล่าสุด โดยได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของเอไอ และให้นำไปใช้งานอย่างเหมาะสม โปร่งใส ให้ความสำคัญกับประเด็นความท้าทายระดับโลก ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงกับมนุษยชาติ     ChatGPT ช่องทางภัยร้าย เอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้จัดการประจำวีเอ็มแวร์ประเทศไทย เล่าถึงประเด็นนี้ว่า ความกังวลและข้อเสนอแนะข้างต้นเป็นการกระตุ้นและเน้นยำให้บริษัทต่างๆ พิจารณาเชิงรุกถึงผลกระทบด้านความปลอดภัยของ generative AI   เป็นโอกาสสำหรับองค์กรที่จะต้องเริ่มตื่นตัวในเรื่องการปกป้องระบบและข้อมูลของตนเมื่อเผชิญกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเหล่านี้   นอกจากนี้ ยังได้พบว่า ผู้ประสงค์ร้ายอาศัยช่องทางเหล่านี้สร้างประโยชน์แก่ตนเอง ตัวอย่าง ไม่กี่สัปดาห์ หลังจากการเปิดตัว ChatGPT เมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา อาชญากรไซเบอร์ได้นำเครื่องมือไปแชร์และใช้บนฟอรัมดาร์กเว็บ   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องมือที่สามารถใช้โดยผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการเขียนโค้ด เพื่อสร้างมัลแวร์ที่ซับซ้อนขึ้นมาใหม่ สำหรับคนหลายล้านคน   ChatGPT นั้นเป็นเสมือนวิศวกรคนหนึ่งที่บริษัทจ้างทำงาน หรือเปรียบเสมือนพนักงานที่มีศักยภาพคนหนึ่งที่เต็มไปด้วยความรู้และสามารถเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต สั่งงานได้ตลอด…

แก๊งแรนซัมแวร์ ‘Cyclops’ ช่วยอาชญากรไซเบอร์โจรกรรมข้อมูล

Loading

  ปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ยังคงเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลของทุกหน่วยงานและองค์กร ไม่ว่าจะทั้งในประเทศและต่างประเทศก็ตาม   ด้วยรูปแบบการโจมตีที่หลากหลายซึ่งได้รับการพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ทำให้มีความซับซ้อนเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ ในวันนี้ผมขอหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับแรนซัมแวร์ที่กำลังเป็นที่สนใจในต่างประเทศอย่างแก๊งแรนซัมแวร์ Cyclops ที่ได้ออกประกาศนำเสนอมัลแวร์ที่สามารถขโมยและดักจับข้อมูลละเอียดอ่อนจากโฮสต์ที่ติดไวรัสแล้ว   และแน่นอนว่าตัวการที่อยู่เบื้องหลังการคุกคามคือ Ransomware-as-a-Service (RaaS) คือแพลตฟอร์มที่ให้บริการเช่ามัลแวร์เพื่อเรียกค่าไถ่กับเหยื่อ โดยจะมีการแบ่งผลกำไรเมื่อมีการดำเนินการแรนซัมเรียบร้อย   Cyclops ransomware มีความโดดเด่นในเรื่องการกำหนดเป้าหมายที่ระบบปฏิบัติการเดสก์ท๊อปหลักทั้งหมด รวมถึง Windows, macOS และ Linux นอกจากนี้ยังได้รับการออกแบบมาเพื่อหยุดกระบวนการที่อาจขัดขวางการเข้ารหัส   โดย Cyclops ransomware เวอร์ชัน macOS และ Linux เขียนด้วย Golang ซึ่งแรนซัมแวร์ใช้โครงร่างการเข้ารหัสที่มีความซับซ้อนและผสมผสานระหว่างการเข้ารหัสแบบอสมมาตรและสมมาตร (Asymmetric and Symmetric encryption) สำหรับการโจรกรรมแบบ Go-based ออกแบบมาเพื่อ Windows และ Linux จะดักจับข้อมูลในระบบปฏิบัติการ   อาทิ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน process และไฟล์สำคัญต่าง ๆ…

เตือน! ดาวน์โหลดข้อมูลผ่านเว็บเถื่อน เสี่ยงโดนฝังมัลแวร์ขโมยข้อมูล

Loading

  วันที่ 16 ก.ค.66 เพจ ตำรวจสอบสวนกลาง โพสต์ข้อความระบุว่า ปัจจุบันมีเว็บไซต์เถื่อนที่ปล่อยให้ผู้ท่องโลกอินเตอร์เน็ตเข้าไปดาวน์โหลดข้อมูลฟรีเป็นจำนวนมาก ทั้งปล่อยให้ดาวน์โหลดเพลง หรือวิดีโอฟรี ซึ่งไฟล์ดังกล่าวที่ให้ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์เถื่อนเหล่านี้จะมีการฝังมัลแวร์ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อขโมยข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือของเรา หรืออาจทำให้เครื่องเสียหายได้   เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของอาชญากรไซเบอร์ จึงไม่ควรดาวน์โหลดไฟล์ต่าง ๆ จากเว็บไซต์เถื่อน การที่เราจะตรวจสอบว่าเป็นเว็บไซต์เถื่อนหรือไม่ สามารถสังเกตได้ดังนี้   –  ตรวจสอบความถูกต้องของ URL หากเป็นเว็บไซต์ที่ถูกต้องจะขึ้นต้นด้วย https หรือตรวจสอบข้อมูลการจดโดเมนเนมก่อนทำการดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซต์นั้น ๆ –  เลือกใช้ระบบป้องกันที่ครอบคลุมการรักษาความปลอดภัยในการเล่นเว็บไซต์ (Internet Security) –  สังเกตชื่อไฟล์ที่ดาวน์โหลดอยู่เสมอ แม้ว่าจะดาวน์โหลดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ก็ตาม ไฟล์วีดีโอควรเป็น .mkv และ .mp4 โดยนามสกุลของไฟล์ไม่ควรเป็น .exe   ขอบคุณข้อมูลและภาพ เพจ ตำรวจสอบสวนกลาง       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :     …