สหรัฐเจอฤทธิ์แก๊งโจรไซเบอร์รัสเซีย เจาะระบบผ่านแอปโอนถ่ายข้อมูล

Loading

  หน่วยงานราชการของสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง โดนโจมตีจากแก๊งอาชญากรไซเบอร์จากรัสเซีย โดยอาศัยช่องทางผ่านแอปพลิเคชันดาวน์โหลดข้อมูลยอดนิยม   เอริก โกลด์สตีน ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารสำนักความมั่นคงโครงสร้างพื้นฐานและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของสหรัฐ หรือ CISA แถลงเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2566 ว่า ขณะนี้ ทางสำนักงานกำลังให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานราชการของรัฐบาลกลางหลายแห่ง ที่พบการบุกรุกจากภายนอก โดยผ่านช่องทางการใช้งานแอปพลิชัน MOVEit   สำนักงาน CISA กำลังประเมินอย่างเร่งด่วนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที หนึ่งในหน่วยงานที่ยืนยันมาแล้วว่าโดนแฮ็กระบบคือกระทรวงพลังงาน   นอกเหนือจากหน่วยงานราชการหลายแห่งแล้ว ยังมีบริษัทและองค์กรเอกชนจำนวนมากที่โดนแฮ็กข้อมูลผ่านแอปพลิเคชันดังกล่าว ทาง CISA ระบุว่า แก๊งอาชญากรไซเบอร์ที่ชื่อว่า CLOP เป็นผู้ลงมือโจมตีไปทั่วโลกในครั้งนี้   CLOP เป็นแก๊งอาชญากรไซเบอร์จากรัสเซีย มีพฤติกรรมการก่ออาชญากรรมในลักษณะของการแฮ็กเข้าระบบของหน่วยงานแล้วขโมยข้อมูล จากนั้นก็นำไปเรียกค่าไถ่ซึ่งมักจะอยู่ในระดับหลายล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ยังไม่ปรากฏการเรียกร้องในลักษณะดังกล่าวต่อหน่วยงานราชการของสหรัฐ   เจน อีสเตอร์ลีย์ ผู้อำนวยการของ CISA กล่าวว่า ยังไม่พบผลกระทบที่ก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ในหน่วยงานราชการที่เป็นกิจการของพลเรือน และเสริมว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์เพียงใช้ช่องโหว่ในซอฟต์แวร์ เจาะเข้ามาในระบบเครือข่ายเพื่อมองหาโอกาสที่เป็นไปได้ในการก่ออาชญากรรม   การแฮ็กระบบทั่วโลกครั้งใหญ่นี้เริ่มต้นราว…

ธุรกิจในอาเซียนระวัง !! แคสเปอร์สกี้ชี้ ‘โจมตีออนไลน์พุ่ง 45%

Loading

    ปี 2565 ดูจะเป็นปีที่ยุ่งสุดๆ ของเหล่าอาชญากรไซเบอร์ ที่มีเป้าหมายโจมตีบริษัทองค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) พบการขยายตัวของภัยคุกคามทางเว็บแบบก้าวกระโดดถึง 45%   ภัยคุกคามทางเว็บ หรือภัยคุกคามออนไลน์ หมายถึงความพยายามที่จะดาวน์โหลดอ็อปเจ็กต์อันตรายจากเว็บไซต์ที่ติดเชื้อหรือมีอันตราย ซึ่งจงใจสร้างขึ้นมาโดยยูสเซอร์ที่ประสงค์ร้าย เว็บไซต์ที่ตกอยู่ในอันตรายทั้งหลายประกอบด้วย เว็บไซต์ที่ยูสเซอร์ใส่คอนเท็นท์ลงไปด้วย เช่น ฟอรั่ม และเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่ต่างๆ   ภัยคุกคามทางเว็บนั้นเกิดได้เพราะมีช่องโหว่จากทางเอ็นด์ยูสเซอร์ นักพัฒนาเว็บเซอร์วิส ผู้บริหารเว็บเซอร์วิส และตัวเว็บเซอร์วิสเอง ไม่ว่าจะมาจากความจงใจหรือสาเหตุอื่นใด ผลจากภัยคุกคามทางเว็บนั้นก็ส่งผบกระทบอันไม่พึงประสงค์ต่อทั้งตัวบุคคลและองค์กร     ช่วงสูงสุดของโรคระบาดเมื่อปี 2563 นั้น แคสเปอร์สกี้ได้บล็อกการโจมตีผ่านเว็บจำนวน 10,200,817 ครั้งเพื่อไม่ให้กระทบต่อธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาในปี 2564 พบว่า จำนวนการโจมตีเว็บลดลงนิดหน่อยอยู่ที่ 9,180,344 ครั้ง และทะยานเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2565 ที่จำนวน 13,381,164 ครั้ง   ในปี 2565 สิงคโปร์มีตัวเลขการเติบโตของภัยคุกคามทางเว็บที่โจมตีธุรกิจในอัตราก้าวกระโดดสูงที่สุด นับแบบ YOY ยอดรวมของจำนวนภัยคุกคามทางเว็บต่อประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นถึงสามเท่า…

‘แคสเปอร์สกี้’ แนะยุทธวิธี รับมือหลังถูก ‘ละเมิดข้อมูล’

Loading

    การรั่วไหลของ “ข้อมูลส่วนบุคคล” กลายเป็นปัญหาใหญ่ของทั้งธุรกิจองค์กรและบุคคลทั่วไป ทั้งมีแนวโน้มว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้และต่อๆ ไปในอนาคต   เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ เปิดมุมมองว่า แม้ว่าการละเมิดข้อมูลจะส่งผลต่อความเป็นส่วนตัวของบุคคลโดยตรง แต่ความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรก็ตกอยู่ในความเสี่ยงเช่นกัน   ที่ผ่านมา ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมักจะใช้อีเมลแอดเดรสของบริษัทเพื่อลงทะเบียนกับเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้เมื่อข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น อีเมลแอดเดรส สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ     ข้อมูลดังกล่าวอาจเรียกความสนใจจากอาชญากรไซเบอร์ และจุดชนวนให้เกิดการสนทนาบนเว็บไซต์ดาร์กเน็ตเกี่ยวกับการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร มากกว่านั้นข้อมูลดังกล่าวยังสามารถใช้ทำฟิชชิงและวิศวกรรมสังคมได้อีกด้วย   ไม่ควรไล่ใครออก เมื่อเกิดเหตุ   ปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ล้วนต้องมีความเสี่ยง ตั้งแต่บริษัทขนาดเล็กที่สุดที่เก็บสำรองข้อมูลแบบออฟไลน์ไว้ห่างจากสำนักงาน ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่สุดที่ต้องการใช้ชุดโซลูชันการป้องกันขั้นสูง   เนื่องจากค่าเสียหายของการละเมิดข้อมูล ไม่ได้มีเพียงค่าใช้จ่ายในการจัดการกับการกู้คืนหลังการโจมตีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเสียหายต่อชื่อเสียงและการสูญเสียความต่อเนื่องทางธุรกิจ   ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้แนะนำรายการตรวจสอบเพื่อให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้เร็วยิ่งขึ้น และเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยด้านไอทีหลังจากเกิดการละเมิดข้อมูล ดังนี้   1. ประเมินสถานการณ์ : ประเมินความเสี่ยงของการละเมิดข้อมูลที่มีต่อลูกค้า การประเมินความเสี่ยงช่วยให้ตัดสินใจขั้นตอนต่อไปและการรายงานการละเมิด หากมีความเสี่ยงสูงจะต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบโดยไม่รีรอ   2. ไม่ไล่…

รักษาความปลอดภัยอย่าวางใจ แฮ็กเกอร์ก็ชอบวันหยุด

Loading

  เมื่อถึงวันหยุดยาวต่อเนื่องหลายวัน มักเป็นช่วงเวลาที่สร้างรอยยิ้มให้กับคนทำงาน เพราะจะได้พักผ่อนและวางภาระหน้าที่จากการงานลง มีเวลาให้กับตัวเองและครอบครัวมากขึ้น หรือไปเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ   แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจาก “พวกเรา” ที่ตั้งตารอวันหยุดอยางมีความสุขกันแล้ว “มิจฉาชีพ” ก็ชอบวันหยุดเช่นกัน เห็นได้จากข่าวอยู่บ่อย ๆ ว่า ในช่วงวันหยุดยาวที่เราหลายคนพักผ่อน มิจฉาชีพจะออกทำงาน เช่น โจรกรรมทรัพย์สิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงมีโครงการ “ฝากบ้านไว้กับตำรวจ” เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการเกิดเหตุ และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน   ในช่วงวันหยุดยาวแบบนี้ก็เป็นเวลาทองของ “แฮ็กเกอร์” เช่นเดียวกัน จากข้อมูลของ Cybersecurity and Infrastructure Security Agency (CISA) และ Federal Bureau of Investigation (FBI) ระบุตรงกันว่า ในอดีตแฮ็กเกอร์มักจะโจมตีในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ คือ วันศุกร์และวันเสาร์ แต่ในปัจจุบันแฮกเกอร์จะเลือกโจมตีในช่วงวันหยุดยาวของเหยื่อในแต่ละประเทศ เช่น โจมตีเหยื่อในประเทศจีน ช่วงเทศกาลตรุษจีน โจมตีเหยื่อในประเทศญี่ปุ่น ช่วงเทศกาลโอบง เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบเช่นกัน…

‘ยูจีน แคสเปอร์สกี้’ ปลุกโลกให้มี ‘Cyber Immunity’ สกัดภัยไซเบอร์

Loading

    แคสเปอร์สกี้ เผย จำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ยังคงเพิ่มขึ้นทวีคูณ เช่นเดียวกับความสนใจของ “อาชญากรไซเบอร์” ภัยคุกคามทางไซเบอร์ก่อให้เกิดความเสียหายทางกายภาพได้ เช่น ความเสียหายต่อโรงงานอุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวกด้านพลังงาน ระบบเมืองอัจฉริยะ   Key Points :   – “ยูจีน แคสเปอร์สกี้” ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอ แคสเปอร์สกี้ ยักษ์ใหญ่ด้านความปลอดภัยไซเบอร์สัญชาติรัสเซีย เยือนไทย หนุน “Cyber Immunity” หรือ ภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ สกัดภัยคุกคามออนไลน์   -ภัยคุกคาม เป้าโจมตี ภาคไอที โทรคมนาคม สุขภาพ บริการทางการเงิน โรงงานอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ   -ปี 2022 พบไฟล์ที่เป็นอันตรายใหม่โดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ต่อวัน เพิ่มขึ้น 5% โดยรวมแล้วตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตรายประมาณ 122 ล้านไฟล์   อุตสาหกรรมการรักษาความปลอดภัยข้อมูล กำลังสร้างเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น…

อาชญากรไซเบอร์ ‘ผู้หญิง’ มีอยู่ไม่น้อยกว่า 30%

Loading

    หลายคนมักจะคิดว่าเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์โดยส่วนใหญ่นั้นจะต้องเป็นผู้ชาย แต่ในความเป็นจริงแล้วพบว่า อาชญากรทางไซเบอร์เป็นผู้หญิงถึง 30% เป็นอย่างต่ำเลยทีเดียว   ทุกวันนี้ เราจะเห็นข่าวคดีการคุกคามทางไซเบอร์ซิเคียวริตี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในทั่วทุกมุมโลก   หากพิจารณาเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรมในทุก ๆ ประเภทของผู้หญิงแล้ว จะพบจุดที่น่าสนใจก็คือ การก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์นั้นสูงกว่าประเภทอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด   โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ “เทรนด์ ไมโคร (Trend Micro)” ได้ส่งทีมงานเข้าสอดแนมโดยใช้นามแฝงเพื่อเข้าใช้งานเว็บเซอร์วิสอย่าง Gender Analyzer V5 เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยสุ่มผู้ใช้งานจำนวน 50 คนของ XSS forum ในภาษารัสเซีย และผู้ใช้งานจำนวน 50 คนของ Hackforums site ในภาษาอังกฤษ   พบว่าผู้ใช้งานเป็นผู้หญิงถึง 30% ของผู้ใช้ XSS forum และ 36% ของผู้ใช้งาน Hackforums และจากรายงานยังพบอีกว่า…