จีนคุมเข้มส่งออกโดรน อ้างเหตุความมั่นคง-ศึกเทคโนโลยีสหรัฐระอุ

Loading

  จีนคุมเข้มส่งออกโดรน – วันที่ 31 ก.ค. รอยเตอร์รายงานว่า ทางการจีนประกาศออกมาตรการควบคุมการส่งออกชิ้นส่วนและอะไหล่บางชนิดที่เกี่ยวข้องกับโดรน ท่ามกลางความตึงเครียดการแข่งขันดุเดือดกันระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา   มาตรการควบคุมการส่งออกนั้นรวมถึงชิ้นส่วนประเภท เครื่องยนต์ เลเซอร์ การสื่อสาร และอุปกรณ์ต่อต้านโดรนทุกชนิด โดยจีนให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องความมั่นคงของชาติ ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.นี้ เป็นต้นไป   โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีน กล่าวว่า มาตรการควบคุมใหม่จะส่งผลกระทบต่อโดรนเชิงพาณิชย์สำหรับประชาชนทั่วไปด้วย โดยจีนจะไม่อนุญาตให้ส่งออกโดรนพลเรือนเพื่อนำไปดัดแปลงใช้เป็นอาวุธทางทหาร   “การขยายขอบเขตมาตรการควบคุมการส่งออกโดรนที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งสะท้อนสำคัญถึงจุดยืนความรับผิดชอบของจีนต่อเสถียรภาพและสันติภาพของประชาคมโลก” โฆษกกระทรวงพาณิชย์ ระบุ และว่าทางการจีนดำเนินการแจ้งเรื่องต่อบรรดาชาติผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว   รายงานระบุว่า จีนเป็นหนึ่งในชาติที่มีอุตสาหกรรมการผลิตโดรนขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยส่งออกโดรนไปยังตลาดหลายแห่ง ในจำนวนนี้ รวมถึงสหรัฐฯด้วย   ข้อมูลจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ หรือสส.คองเกรส ระบุว่า โดรนเชิงพาณิชย์ที่มีจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปในสหรัฐฯ นั้นเป็นแบรนด์ ดีเจไอ (DJI) ที่นำเข้ามาจากจีนถึงร้อยละ 50 ทั้งยังถือเป็นโดรนพาณิชย์ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดด้วย   อย่างไรก็ตาม บริษัท ดีเจไอ ผู้ผลิตและพัฒนาโดรนยอดนิยม ประเทศจีน ยังไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นใด ๆ…

ส่องจรวดต่อต้านยานรบหุ้มเกราะในสงคราม รัสเซีย-ยูเครน

Loading

  เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังแบบพกพาโดยหน่วยทหาร ไม่ว่าจะทำการยิงด้วยทหารเพียงแค่นายเดียวหรือสอง-สามนาย นับเป็นอาวุธหนักที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย จากสงครามในอดีต ปืนต่อสู้รถถังอย่างบาซูกาคืออาวุธต่อต้านยานรบหุ้มเกราะหนาที่ขับเคลื่อนด้วยจรวดรุ่นแรก และถูกใช้โดยทหารราบในสนามรบ จุดเด่นของจรวดประทับบ่าที่มีน้ำหนักไม่มากก็คือ จรวดเชื้อเพลิงแข็งสำหรับการขับเคลื่อน กับหัวรบระเบิดแรงสูงต่อต้านรถถังที่จะยิงเข้าใส่ยานพาหนะหุ้มเกราะ รังปืนกล และป้อมปราการบังเกอร์ที่อยู่ในระยะพิสัยไกลกว่าการขว้างระเบิดมือ หรือทุ่นระเบิด   ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเยอรมนีได้ยึดบาซูกามาหลายกระบอกในการบุกแอฟริกาเหนือช่วงแรก ไม่นานนัก หน่วยพัฒนาอาวุธของเยอรมนีสร้างเครื่องยิงจรวดต่อต้านยานรบหุ้มเกราะที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 8.8 ซม.   เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองใกล้จะยุติลง ญี่ปุ่นได้พัฒนาอาวุธปราบรถถังที่มีความคล้ายคลึง ด้วยเครื่องยิงจรวดต่อต้านรถถัง 70 มม. ไทป์ 4 หัวรบดินระเบิดแรงสูง ขับเคลื่อนด้วยจรวดเชื้อเพลิงแข็ง มีระยะหวังผลยังไม่ไกลเท่าที่ควร แต่ใช้หยุดยั้งรถถัง หรือสร้างความเสียหายได้เป็นอย่างดี   คำว่า “บาซูกา” ยังถูกใช้อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นศัพท์ทั่วไปที่อ้างถึงอาวุธต่อต้านรถถังแบบขีปนาวุธที่ยิงด้วยการประทับบ่าจากภาคพื้นดิน         จรวดต่อสู้รถถัง FGM-148 Javelin   จรวดต่อสู้รถถัง FGM-148 Javelin ผลิตโดยบริษัท Raytheon และ Lockheed Martin เข้าประจำการในกองทัพสหรัฐฯ…